Life is Simple: ทำความรู้จัก Present Simple Tense

เรื่อง Tense (กาล) ในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ อีกเรื่องหนึ่ง และ Tense ที่เป็นพื้นฐานสุดๆ และน้องๆ จะพบเจอบ่อยที่สุดก็คือ Present Simple นั่นเอง วันนี้เราจะมาปูพื้นฐานและทบทวนความรู้เรื่องนี้กันครับ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

ลักษณะของ Present Simple

โครงสร้างของ Present Simple คือ ประธาน (Subject) ตามด้วยกริยาทั่วไปในรูปปัจจุบัน (Verbs in Present Form) หรือน้องๆ อาจะคุ้นเคยในชื่อกริยาช่องที่ 1 และถ้าเป็น Verb to be ก็จะใช้รูป is, am, are

ตัวอย่าง

I communicate in English sometimes.

(ฉันสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเป็นครั้งคราว)

You speak very good English.

(คุณพูดภาษาอังกฤษได้ดีมาก)

They appreciate his help.

(พวกเขาซาบซึ้งกับการช่วยเหลือของเขา)

We are all equal.

(เราทุกคนเท่าเทียมกัน)

หากประธานเป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 (He, She, It) ชื่อคน หรือสิ่งที่เป็นเอกพจน์ กริยาจะต้องเติม -s หรือ -es เช่น

He loves dancing and exercising.

(เขารักในการเต้นและการออกกำลังกาย)

She forgets to call him back.

(เธอลืมโทรกลับหาเขา)

Mika does a part-time job as a dish washer.

(มิกะทำงานพาร์ทไทม์เป็นพนักงานล้างจาน)

The train arrives at 10 pm.

(รถไฟมาถึงเวลาสี่ทุ่ม)

 

การใช้งาน Present Simple

เรามักจะใช้ Present Simple เพื่อบอกความจริง เรื่องทั่วไป นิสัยและสิ่งที่ทำเป็นประจำ ตารางเวลา บางครั้งใช้กับเหตุการณ์ที่แน่นอนในอนาคตอันใกล้ได้ด้วย

1) ใช้เพื่อบอกความจริง พูดถึงความจริงในปัจจุบัน เช่น

Bangkok is a capital city of Thailand.

(กรุงเทพคือเมืองหลวงของประเทศไทย)

It always rains in May.

(ฝนตกตลอดในเดือนพฤษภาคม)

Many trees lose their leaves in Autumn.

(ต้นไม้หลายชนิดผลัดใบในฤดูใบไม้ร่วง)

 

2) ใช้บอกสิ่งที่ทำเป็นประจำ เป็นกิจวัตร เช่น

I always go to the gym every weekend.

(ฉันไปยิมเป็นประจำทุกสัปดาห์)

He never skips the school.

(เขาไม่เคยโดดเรียนเลย)

She travels to Singapore once a month.

(เธอไปเที่ยวที่สิงคโปร์เดือนละครั้ง)

 

3) ตารางเวลาหรือเหตุการณ์ที่กำลังจะมาถึงอย่างแน่นอน เช่น

The train to Chiang Mai leaves at 9 pm tonight.

(รถไฟที่จะไปเชียงใหม่ออกเดินทางเวลาสามทุ่ม)

The orientation starts at 9 o’clock.

(การปฐมนิเทศเริ่มตอนเก้าโมง)

The second semester starts next week.

(ภาคเรียนที่สองเริ่มอาทิตย์หน้า)

 

Present Simple ในรูปปฎิเสธ

การทำให้ Present Simple อยู่ในรูปปฎิเสธนั้นทำได้โดย

1) ใช้ do/does + not มาช่วย หากเป็นกริยาทั่วไป (ใช้ do หรือ does ให้ดูประธาน)

2) เติม not ได้เลย หากเป็น Verb to be (is/am/are)

ตัวอย่าง

The bus does not arrive at 11 am.

(รถบัสไม่มาตอนสิบเอ็ดโมง)

Singapore is not a big country.

(สิงคโปร์ไม่ใช่ประเทศขนาดใหญ่)

They do not want to go to the cinema.

(พวกเขาไม่อยากไปโรงภาพยนตร์)

He does not practise hard enough.

(เขาฝึกไม่หนักมากพอ)

 

Present Simple ในรูปคำถาม

คล้ายๆ กับรูปปฎิเสธ น้องๆ สามารถทำได้โดย

1) เอา do/does มาขึ้นต้นประโยค ตามด้วยประธานและกริยา

2) นำ Verb to be มาขึ้นต้นประโยค ตามด้วยประโยคที่เหลือ

3) ห้ามลืมเครื่องหมายคำถาม (?) ท้ายประโยค

ตัวอย่าง

Do you speak English?

(คุณพูดภาษาอังกฤษไหม?)

Does Lilly want to join our party?

(ลิลลี่อยากเข้าร่วมปาร์ตี้ของเราหรือเปล่า?)

Is Harry a good student?

(แฮร์รี่เป็นนักเรียนที่ดีไหม?)

 

Adverbs of Frequency

ในประโยคที่เป็น Present Simple น้องๆ มักจะพบคำที่บอกความถี่ (Adverbs of Frequency) ในประโยค เช่น

I always check my emails in the morning.

(ฉันเช็คอีเมลเป็นประจำทุกเช้า)

Laura usually stay at home during the pandemic.

(ลอร่าอยู่ที่บ้านในช่วงโรคระบาดเสมอๆ)

It occasionally snows in winter.

(หิมะตกเป็นบางครั้งในช่วงฤดูหนาว)

She seldom attends a meeting.

(เธอไม่ค่อยเข้าร่วมประชุม)

George never participates in group activities.

(จอร์จไม่เคยให้ความร่วมมือในกิจกรรมกลุ่มเลย)

 

Adverbs of Frequency  ที่มักพบบ่อยๆ มีดังนี้

หรือบางครั้งน้องๆ อาจจะเจอคำบอกความถี่แบบเจาะจง เช่น

Thai people celebrates Thai New Year or ‘Songkran’ every year.

(คนไทยเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ทุกปี)

Monica and I go to the theatre every month.

(โมนิกาและฉันไปโรงละครทุกเดือน)

We go out for Chinese food weekly.

(พวกเราออกไปทานอาหารจีนทุกสัปดาห์)

หรือคำอื่นๆ เช่น every day, daily, once a week, twice a month, hourly, annually, etc.

 

อย่างที่บอกน้องๆ ไปนะครับว่า Present Simple นั้นเป็นอะไรที่เราจะเจอบ่อยมากๆ ฉะนั้นจงหมั่นทบทวนและใช้อย่างถูกต้องกันนะครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การพูดรายงานหน้าชั้น พูดอย่างไรให้ได้ใจผู้ฟัง

การพูดรายงานหน้าชั้น เป็นการแสดงผลงานศึกษาค้นคว้าโดยนำมาบอกเล่า ชี้แจง นำเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย การพูดรายงานจึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้กันว่าหลักในการพูดรายงานหน้าชั้นนั้นมีอะไรบ้าง พูดอย่างไรจึงจะดึงดูดผู้ฟัง รวมไปถึงมารยาทขณะที่ออกไปพูดด้วย จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ   หลักการพูดรายงานหน้าชั้น     1. กล่าวทักทายผู้ฟัง แนะนำผู้ร่วมงาน หัวข้อ จุดประสงค์ การทักทายถือเป็นการสร้างความประทับใจแรกให้แก่ผู้ฟัง ไม่ว่าหัวข้อที่เราจะนำมาพูดหน้าชั้นคืออะไร แต่หากเราพูดเนื้อหาขึ้นมาเลยแบบไม่มีปี่ไม่ขลุ่ย ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟัง หรือคิดว่าการพูดหน้าชั้นของเราเป็นเรื่องน่าเบื่อ

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ถอดความหมายพร้อมเรียนรู้คุณค่าในเรื่อง

ศิลาจารึกหลักที่ 1มีความเป็นมาอย่างไร น้อง ๆ ก็คงจะได้เรียนรู้กันไปแล้ว วันนี้เรื่องที่เราจะมาศึกษากันต่อก็คือเนื้อหาเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กันค่ะ ไปดูพร้อมๆ กันเลยว่าในศิลาจารึกจะบันทึกเรื่องเล่าอะไรไว้บ้าง และมีคุณค่าด้านใด   ศิลาจารึกหลักที่ 1 : ตัวบทที่น่าสนใจ       พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคน

เรียนรู้และประเมินคุณค่าบทประพันธ์ อิศรญาณภาษิต

หลังจากครั้งที่แล้ว ที่เราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ และตัวบทที่สำคัญในเรื่องกันแล้ว ครั้งนี้เรื่องที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ต่อไปก็คือคุณค่าที่อยู่ใน อิศรญาณภาษิต นั่นเองค่ะ อย่างที่รู้กันว่าวรรณคดีเรื่องนี้อัดแน่นไปด้วยคำสอนและข้อคิดเตือนใจต่าง ๆ มากมาย เพราะงั้นเราไปเรียนรู้กันให้ลึกขึ้นดีกว่านะคะว่าคุณค่าในเรื่องนี้จะมีด้านใดบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ   คุณค่าในเรื่องอิศรญาณภาษิต     คุณค่าด้านเนื้อหา   อิศรญาณภาษิต มีเนื้อหาที่เป็นคำสอน ข้อคิดเตือนใจ เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงการกระทำของตน ว่าทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นปกติสุขได้

Adjective Profile

คำคุณศัพท์ (Adjective)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เรื่อง คำคุณศัพท์ หรือ Adjective ในภาษาอังกฤษกันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย   ความหมายของคำคุณศัพท์     คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

เรียนรู้การเขียนเชิงวิชาการ อย่างง่ายเพียง 4 ขั้นตอน

การเขียนเชิงวิชาการ อาจจะดูเป็นการเขียนที่ยากในความคิดของหลาย ๆ คน เพราะดันมีคำว่า วิชาการ อยู่ด้วยนั่นเอง แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วการเขียนเชิงวิชาการนั้นไม่ได้ยุ่งยากและซับซ้อนเลย แถมยังมีวิธีขั้นตอนการเขียนที่ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่ามันจะง่ายขนาดนั้นจริงหรือ? เราไปหาคำตอบของเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนเชิงวิชาการ คืออะไร?   คือ องค์ความรู้เชิงวิชาการที่ได้จากการตกผลึกทางความคิดของผู้เขียนที่ต้องการถ่ายทอดหรือสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ผ่านกระบวนการเรียบเรียง โดยอาศัยการศึกษาค้นคว้า สำรวจ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1