Imperative Sentence: เรียนรู้การใช้ประโยคคำสั่ง ขอร้องในชีวิตประจำวัน

เชื่อว่าชีวิตประจำวันของน้องๆ ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือเวลาออกไปเที่ยว น้องๆ อาจจะเคยได้ยินประโยคประมาณนี้กันมาบ้าง Turn off the computer! (จงปิดคอมพิวเตอร์!) Please pass me the sugar (ช่วยส่งน้ำตาลมาให้ที) Drink a lot of water (ดื่มน้ำเยอะๆ) ประโยคเหล่านี้ภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกว่า Imperative Sentence วันนี้เราจะมาดูกันว่า Imperative Sentence คืออะไร และสามารถใช้ในสถานการณ์ไหนได้บ้าง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ความหมายของ Imperative Sentence

 

คือประโยคที่ใช้ในการให้คำแนะนำ คำปรึกษา หรือแสดงการออกคำสั่ง ตักเตือน ขอร้อง บอกทาง ปกติจะเป็นประโยคสั้นๆ ที่ขึ้นต้นด้วยกริยา (Verb) ในรูป Infinitive (กริยาที่ไม่ต้องเติมอะไร) และลงท้ายด้วย full-stop (.) หรือ exclamation mark (!) ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของผู้พูด ซึ่งเราพอที่จะแบ่งประเภทของ Imperative Sentence ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

 

ประเภทของ Imperative Sentence

 

1. การให้คำอวยพร

ใช้ในการอวยพรแบบสุภาพ เช่น “Have a good day!” (ขอให้เป็นวันที่ดี), “Have a safe trip!” (ขอให้เดินทางปลอดภัย)

2. การเชิญชวน

ใช้ในการเชื้อชวนต่างๆ เช่น “Come join our group.” (มาอยู่กลุ่มกับเราสิ), “Please join me for lunch.” (มากินข้าวเที่ยงด้วยกันสิ)

3. การออกคำสั่งหรือขอร้อง

ใช้ในการออกคำสั่ง หรือขอร้อง ซึ่งหากเป็นการขอร้องจะเติมคำว่า Please ลงไปข้างหน้าหรือข้างหลังประโยค เช่น Open the window! (จงเปิดหน้าต่าง!) Please speak English at all times. (กรุณาพูดภาษาอังกฤษตลอดเวลา)

4. การให้คำแนะนำ

ใช้ในการให้คำแนะนำ คำปรึกษา บอกขั้นตอน บอกทาง เช่น “Go straight and turn right.” (ตรงไปและเลี้ยวขวา) Put the cookiesin the oven for about 15 minutes (ใส่คุกกี้เข้าไปในเตาอบประมาณ 15 นาที)

 

 

โครงสร้างของ Imperative Sentence

 

1. ใช้ Verb Infinitive ขึ้นต้นประโยค

อาจจะเป็นกริยาตัวเดียวหรือตามด้วยคำสั่งก็ได้ มักจะเป็นการออกคำสั่ง เช่น

Stop! (หยุด!)

Sit! (นั่งลง!)

Close the door. (ปิดประตู)

Speak louder. (พูดให้ดังขึ้น)

 

 

2. ใช้ Verb to be ขึ้นต้นประโยค

ตามด้วย Adjective หรือ Noun มักจะเป็นประโยคเชิงแนะนำ เช่น

Be humble. (จงถ่อมตัว)

Be a good role model. (จงเป็นแบบอย่างที่ดี)

Be kind to everyone. (จงมีเมตตาต่อทุกๆ คน)

 

 

3. ใช้ Do not (Don’t) ขึ้นต้นประโยค

ตามด้วยกริยา จะทำให้ Imperative Sentence เป็นรูปปฏิเสธ เป็นการสั่งห้ามทำสิ่งต่างๆ เช่น

Don’t eat in class! (อย่ากินอาหารในห้อง)

Do not cross the field (อย่าเดินตัดสนาม)

Don’t shout at your friend. (อย่าตะโกนใส่เพื่อน)

 

 

*การใช้ Please ไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังประโยคจะทำให้ประโยคสุภาพขึ้น ลองสังเกต 2 ประโยคนี้

Turn off your phone. (ปิดโทรศัพท์)

Please turn off your phone. (กรุณาปิดโทรศัพท์)

จะเห็นได้ว่ารูปแบบของประโยคจะเปลี่ยนจะคำสั่งเป็นขอร้องแทน เนื่องจากมีความสุภาพมากขึ้น

 

 

การใช้ Can/Could/Should ในการขอร้องและขอคำแนะนำ

 

หากว่าน้องๆ รู้สึกว่าการใช้ Imperative Sentence ในการขอร้องนั้นอาจจะดูห้วนไป พี่มีเทคนิคการขอร้องแบบสุภาพมาบอกด้วย นั่นก็คือการใช้ Can หรือ Could นั่นเอง โดยทั้งสองคำมีความหมายเหมือนกัน แต่ Could จะสุภาพและเป็นทางการมากกว่า ส่วนคำว่า Should ใช้ในการขอคำแนะนำ

1. ใช้เพื่อขออนุญาต เช่น

Can I go to the toilet, please? (ฉันขออนุญาตไปห้องน้ำได้ไหม?)

Could I go to the nursing room? (ฉันขออนุญาตไปห้องพยาบาลได้ไหม?)

Could I use the computer? (ฉันขออนุญาตใช้คอมพิวเตอร์ได้ไหม?)

 

 

2. ใช้เพื่อขอร้องบางสิ่งบางอย่าง เช่น

Could you help me do my homework? (คุณสามารถช่วยฉันทำการบ้านได้ไหม?)

Can you help me carry my stuffs? (คุณสามารถช่วยฉันถือของได้ไหม?)

Could you speak louder? (คุณช่วยพูดให้ดังขึ้นได้ไหม?)

 

3. ใช้เพื่อขอคำแนะนำ เช่น

Should I do my homework at home or at school? (ฉันควรทำการบ้านที่บ้านหรือที่โรงเรียนดี?)

Should I call my parents to pick me up? (ฉันควรโทรให้พ่อแม่มารับดีไหม?)

Should we skip the class? (เราโดดวิชานี้กันดีไหม?) *เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีน้องๆ ห้ามทำตามเด็ดขาด!

 

การฝึกใช้ Imperative Sentence และประโยคขอร้องแบบสุภาพนั้นสำคัญมากๆ ในการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้นแล้วน้องๆ สามารถพบเห็นประโยคแบบนี้ทั้งใน โฆษณา คู่มือต่างๆ ป้ายบอกทาง หรือป้ายสัญญาจราจรตามท้องถนนอีกด้วย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

มงคลสูตร

รอบรู้เรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ วรรณคดีพระพุทธศาสนาที่มาของหลักมงคล 38

บทนำ   สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจอีกเช่นเคย สำหรับเนื้อหาวันนี้เราจะขอหยิบยกวรรณคดีพระพุทธศาสนามาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันบ้าง ซึ่งวรรณคดีที่เราได้เลือกมานั่นก็คือเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ เชื่อว่าน้อง ๆ มัธยมปลายหลายคนคงจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นวรรณคดี ที่สอนบรรทัดฐานของการกระทำความดีตามวิถีของชาวพุทธ และเป็นที่มาของหลักมงคล 38 ประการด้วย ดีงนั้น เดี๋ยววันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย     ประวัติความเป็นมา เรื่อง

M4 Past Passive

Past Passive in English

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจาก Passive voice หมายถึง ประโยคที่ประธานถูกกระทำ รวมแล้วหมายถึงการใช้ Passive Voice

บทเสภาสามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวก ที่มาของกลอนเสภาอันทรงคุณค่า

บทเสภาสามัคคีเสวก   เมื่อเห็น บทเสภาสามัคคีเสวก ครั้งแรก เชื่อว่าต้องมีน้อง ๆ หลายคนต้องเผลออ่านคำว่า เสวก เป็น (สะ-เหวก) แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วคำว่าเสวกนั้นต้องอ่านให้ถูกต้องว่า (เส-วก) ที่มีความหมายถึงผู้ใกล้ชิด เป็นยศของข้าราชการในราชสำนักนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้ไม่เพียงแต่จะสอนอ่านให้ถูกต้อง แต่จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องย่อวรรณคดีไทยอย่างบทเสภาสามัคคีเสวกกันอีกด้วย โดยจะเป็นเรื่องราวแบบไหน มีลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่ออย่างไรบ้าง เราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม

Past Tense ที่มี Time Expressions ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ ” Past Tense ที่มี Time Expressions ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ” ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past

ดีเทอร์มิแนนต์

ดีเทอร์มิแนนต์ ดีเทอร์มิแนนต์ (Determinant) คือ ค่าของตัวเลขที่สอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส จะเขียนแทนดีเทอร์มิแนนต์ของ A ด้วย det(A) หรือ โดยทั่วไปการหาค่าดีเทอร์มิแนนต์ที่เจอในข้อสอบจะไม่เกินเมทริกซ์ 3×3 เพราะถ้ามากกว่า 3 แล้ว จะเริ่มมีความยุ่งยาก **ค่าของดีเทอร์มิแนนต์จะเป็นจำนวนจริงและมีเพียงค่าเดียวเท่านั้นที่จะสอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส เช่น เมทริกซ์ B ก็จะมีค่าดีเทอร์มิแนนต์เพียงค่าเดียวเท่านั้น**  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1