Like & Dislike ในการพูดถึงความชอบ และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

สวัสดีน้องๆ ป. 5 ทุกคนนะครับผม วันนี้เราจะมาลองฝึกใช้ประโยคที่เอาไว้บอกความชอบของเรากัน พร้อมกับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองเบื้องต้นครับ ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันเลย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Like & Dislike

หากน้องๆ ต้องการจะบอกความชอบ เช่น อาหาร งานอดิเรก หรือสิ่งที่น้องๆ ชอบทำ วิธีง่ายๆ ที่พี่เอามาฝากวันนี้ก็คือการใช้ Like & Dislike นั่นเองครับ

Like เป็นคำกริยาในภาษาอังกฤษ แปลว่า “ชอบ” ซึ่งสามารถใช้ได้ในหลากหลายสถานการณ์ ดังนี้

I like strawberry ice cream.
(ฉันชอบไอศกรีมสตรอว์เบอร์รี่)

I like playing football.
(ฉันชอบการเล่นฟุตบอล)

I like dogs.
(ฉันชอบสุนัข)

น้องๆ จะเห็นได้ว่าเราสามารถใช้ Like ตามด้วยคำนาม หรือคำกริยาที่เติม -ing ได้ (แปลว่า การ…) เพื่อเป็นการบอกว่าเราชอบอะไร นอกจากนี้น้องๆ สามารถใช้คำว่า love ก็ได้เช่นกัน เช่น

I love pizza.
(ฉันรักพิซซ่า)

I love going to school.
(ฉันรักการไปโรงเรียน)

like & dislike

 

และถ้าจะบอกว่าน้องๆ ไม่ชอบอะไร เราสามารถนำ do not หรือ don’t มาวางไว้ข้างหน้า like ได้เลย เช่น

I don’t like coconuts.
(ฉันไม่ชอบมะพร้าว)

I do not like going to the beach.
(ฉันไม่ชอบการไปชายหาด)

 

หรือน้องๆ อาจจะใช้กริยา dislike แทนก็ได้เช่นกัน แต่คำนี้จะไม่ค่อยใช้ในภาษาพูดเท่าไรนัก เช่น

I dislike spicy foods.
(ฉันไม่ชอบอาหารรสเผ็ด)

like & dislike 2

 

และสุดท้ายหากน้องๆ ต้องการถามเพื่อนว่าเขาชอบอะไรก็สามารถทำได้โดยใช้โครงสร้างดังนี้

Do you like/love … ?

เช่น

Do you like pop music?
(เธอชอบเพลงป๊อปมั้ย?)

Do you love Star Wars?
(เธอชอบสตาร์วอร์มั้ย?)

Do you like watching TV?
(เธอชอบการดูทีวีมั้ย?)

question

 

การให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

และสุดท้ายพี่ก็มีวิธีการพูดหรือเขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองง่ายๆ จากสิ่งที่เราเพิ่งเรียนกันมา มาฝากกันครับ

introduction pattern

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับเรื่อง Like & Dislike หวังว่าน้องๆ จะสามารถเอาไปใช้พูดหรือเขียนในชีวิตประจำวันกันนะครับ และหากน้องๆ ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมก็สามารถดูวิดีโอเพิ่มเติมจาก NockAcademy ได้ตามด้านล่างนี้เลย หรือลองอ่านวิธีใช้อื่นๆ ได้ที่นี่

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ และเลขยกกำลัง

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ หรือราก เขียนแทนด้วย อ่านว่า รากที่ n ของ x หรือ กรณฑ์ที่ n ของ x เราจะบอกว่า จำนวนจริง a เป็นรากที่ n ของ x ก็ต่อเมื่อ เช่น 2 เป็นรากที่

สมบัติการคูณจำนวนจริง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

there is

There is และ There are ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องการใช้ There is และ There are ในภาษาอังกฤษกันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ จะเกี่ยวข้องกับ θ พิกัดของ จุด (x, y) ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่าง x, y กับ θ จากบทความที่ผ่านมาเราได้รู้จักวงกลมหนึ่งหน่วยและการวัดความยาวส่วนโค้ง ในบทความนี้น้องๆจะได้รู้จักกับฟังก์ชันไซน์ (sine function) และฟังก์ชันโคไซน์ (cosine function) และวิธีการหาค่าของฟังก์ชันทั้งสอง Sine function =

การอ่านแผนภูมิรูปวงกลม

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้การอ่านแผนภูมิรูปวงกลมรวมทั้งส่วนประกอบต่างที่ควรรู้เกี่ยวกับแผนภูมิรูปวงกลม

ความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็น

บทความนี้จะแนะนำให้รู้จักกับ ความน่าจะเป็น ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ รวมถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็น เช่นการทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้ ความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็น (Probability)  เป็นจำนวนที่ใช้เพื่อบอกโอกาสที่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนจะมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0 อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ จะมีค่าความน่าจะเป็นอยู่ระหว่าง 0 กับ 1

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1