Describing People: การบรรยายบุคคลในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการบรรยายลักษณะบุคคลเป็นภาษาอังกฤษกันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย!
Describing people

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Describing People (การบรรยายลักษณะบุคคล)

โดยทั่วไปแล้วเราจะใช้คำคุณศัพท์ (Adjective) ในการบรรยายลักษณะบุคคล (Describing people)ครับ ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทการบรรยายลักษณะบุคคลออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

  • บรรยายรูปร่างลักษณะ (Appearance)
  • บรรยายลักษณะนิสัย (Personality)

และเรามักใช้โครงสร้างในการบรรยายลักษณะดังกล่าวดังนี้ครับ

describing people

 

Describing Appearance (การบรรยายรูปร่าง ลักษณะภายนอก)

คำศัพท์ที่มักใช้ในการบรรยายรูปร่าง หน้าตา หรือลักษณะทางกายภาพที่น้องมักจะได้เจอบ่อยๆ มีดังนี้ครับ

Adjective

Meaning

attractive

น่าดึงดูด

bald

หัวล้าน

beautiful

สวย

chubby

อวบ จ้ำม่ำ

fit

แข็งแรง

gorgeous

สง่างาม

handsome

หล่อเหลา

muscular

ล่ำ มีกล้าม

ordinary

คนธรรมดา

short

เตี้ย

skinny

ผอมมาก

slender

ผอมสวย

smart

ดูดี โก้

tall

สูง

thin

ผอมแห้ง

 

ตัวอย่างการใช้

Daniel is attractive. Many girls like him.
แดเนียลมีเสน่ห์น่าดึงดูด ผู้หญิงหลายๆคนชอบเขา

Michael is a famous British actor. He is very tall and handsome.
ไมเคิลเป็นนักแสดงชาวอังกฤษที่โด่งดัง เขาสูงและหล่อมาก

Sarah is Miss Thailand Universe 2020. She is beautiful and smart.
ซาราห์เป็นมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์สปี 2020 เธอสวยและฉลาด

example people

ข้อควรระวัง
น้องๆ ต้องระมัดระวังการใช้คำ Adjective ที่มีความหมายเชิงลบเวลาบรรยายรูปร่าง หรือลักษณะภายนอกของคนอื่นด้วยนะครับ เพราะอาจทำให้ผู้ฟังไม่พอใจได้ ให้น้องๆ เลือกใช้คำที่มีความหมายกลางๆ แทนครับ (เช่น slender แทน thin)

 

Describing Personality (การบรรยายลักษณะนิสัย)

คำศัพท์ที่มักใช้ในการบรรยายลักษณะนิสัยที่น้องมักจะได้เจอบ่อยๆ มีดังนี้ครับ

Adjective

Meaning

brave

กล้าหาญ

clever

ฉลาด

easy-going

ง่ายๆ สบายๆ

friendly

เป็นมิตร

funny

ตลกขบขัน

generous

ใจกว้าง

grumpy

บึ้งตึง

hard-working

ขยัน ทำงานหนัก

honest

ซื่อสัตย์

lazy

ขี้เกียจ

mean

หยาบคาย

stubborn

ดื้อรั้น

selfish

เห็นแก่ตัว

serious

จริงจัง

tidy

สะอาด เรียบร้อย เป็นระเบียบ

ตัวอย่างการใช้

Somchai is lazy. He is always late for class.
สมชายขี้เกียจ เขาเข้าเรียนสายตลอดเวลา

Kate usually asks questions in class. I think she’s so brave.
เคทชอบถามคำถามในห้องเสมอ ฉันคิดว่าเธอกล้าหาญมาก

The teacher always tells us to clean up the classroom. She is super tidy.
คุณครูบอกให้เราทำความสะอาดห้องเรียนเป็นประจำ หล่อนเจ้าระเบียบมาก

example people

 

Object Pronouns

คือคำสรรพนามที่คำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค ซึ่งมีคร่าวๆ ดังนี้ครับ

Subject Pronoun

Object Pronoun

I

me

You

you

We

us

They

them

He

him

She

her

It

it

ชื่อคน 1 คน

ใช้ตามเพศ (him/her)

ชื่อคน 2 คน หรือมากกว่า

them

สิ่งของ สถานที่

it หรือ them (หากมีหลายๆ สิ่ง)

 

ตัวอย่างเช่น

Daniel is attractive. Many girls like him.
‘him’ ด้านหลังนี้เป็นกรรม (ประธานคือ ‘girls’) ซึ่งหมายถึง Daniel ครับ

ข้อควรระวัง
หากเป็นสัตว์เลี้ยงเรามักจะเรียกตามเพศของมันครับ แต่หากเป็นสัตว์ป่าน้องๆ สามารถใช้คำว่า ‘it’ แทนได้ครับ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับบทเรียนเรื่อง Describing People ในวันนี้ ไม่ยากเลยใช่มั้ยล่ะครับ? ยังมีคำศัพท์ที่ใช้ในการบรรยายลักษณะอีกมากมาย น้องๆ อย่าลืมทบทวนและค้นหาเพิ่มเติมกันด้วยนะครับ แล้วก็อย่าลืมรับชมวิดีโอบทเรียนวันนี้จากช่อง Nock Academy กันด้วยนะครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม ถอดคำประพันธ์และเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดี

จากที่บทเรียนคราวก่อนเราได้รู้ความเป็นมาและเรื่องย่อของตอนที่สำคัญอีกตอนหนึ่งของเรื่องอย่างตอน กำเนิดพลายงาม กันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกตัวบทที่น่าสนใจเพื่อถอดคำประพันธ์พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าในเรื่อง น้อง ๆ จะได้รู้พร้อมกันว่าเหตุใดวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ถึงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบท ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม     ถอดคำประพันธ์ : เป็นคำสอนของนางวันทองที่ได้สอนพลายงามก่อนที่จะต้องจำใจส่งลูกไปอยู่กับย่าที่กาญจนบุรีว่าเกิดเป็นผู้ชายต้องลายมือสวย โตขึ้นจะได้รับราชการก่อนจะพาพลายงามมาส่งด้วยความรู้สึกที่เหมือนใจสลาย    

หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง” หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และเทคนิคการจำและนำ Tense ไปใช้กันจร้า ซึ่ง Simple Present Tenseและ Present Continuous Tense นั้นมีสิ่งที่เหมือนกันคือ อยู่ในรูปปัจจุบัน (Present) เหมือนกัน

Passive Voice ในปัจจุบัน

Passive Voice ในรูปปัจจุบัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมาย   Passive Voice (แพ็ซซิฝ ว็อยซ) หมายถึงประโยคที่เน้นกรรม โดยการนำโครงสร้างผู้ถูกกระทำขึ้นต้นประโยค และหากว่าต้องการเน้นผู้กระทำให้เติม  “by + ผู้กระทำ” ท้ายประโยค แต่ว่าเราสามารถละ by ไว้ได้น๊า ในบทนี้เราจะไปดูรูปประโยคในปัจจุบันกันจร้า

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง เป็นการส่งสมาชิกจากของเซตหนึ่งเรียกเซตนั้นว่าโดเมน ส่งไปให้สมาชิกอีกเซตหนึ่งเซตนั้นเรียกว่าเรนจ์ จากบทความก่อนหน้าเราได้พูดถึงฟังก์ชันและการส่งสมาชิกในเซตไปแล้วบางส่วน ในบทความนี้เราจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งมากขึ้น จากที่เรารู้ว่าเซตของคู่อันดับเซตหนึ่งจะเป็นฟังก์ชันได้นั้น สมาชิกตัวหน้าต้องไปเหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตให้ฟังก์ชันนั้นแคปลงกว่าเดิม เช่น {(1, a), (2, b), (3, a), (4, c)}  จากเซตของคู่อันดับเราสมารถตอบได้เลยว่าเป็นฟังก์ชัน เพราะสมาชิกตัวหน้าไม่เหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง คือการที่เรามีเซต 2 เซต แล้วเราส่งสมาชิกในเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

รากที่สาม

รากที่สาม

ในบทตวามนี้เราจะได้เรียนรู้การหารากที่สามของจำนวนจริงใดๆ ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่นเดียวกับการหารากที่สอง อาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ แต่เนื่องจากการประมาณเป็นวิธีที่ยุ่งยาก ในที่นี้จึงจะกล่าวเฉพาะการหารากที่สามโดยการแยกตัวประกอบ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1