สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน กันนะคะ
ซึ่งเราจะเจอประโยคเหล่านี้ตั้งแต่ตื่นนอน ทานข้าว เดินไปโรงเรียน ไปดูหนัง ข้ามถนน ข้ามสะพาน ขึ้นแท็กซี่ และในกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย หากว่าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย
รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence
คือประโยคที่เจอบ่อยเมื่อต้องพูด ให้คำคำปรึกษา แนะนำ ตักเตือน ออกคำสั่ง ขอร้อง บอกทาง และโดยทั่วไปแล้วจะขึ้นต้นประโยค
ด้วยกริยา (Verb) ในรูป Infinitive หรือ กริยาช่องที่ 1 ไม่ผัน ลงท้ายด้วย full-stop (.) หรือ exclamation mark (!) ขึ้นอยู่กับบริบทของการใช้
- Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1) ขึ้นต้นประโยคแล้วตามด้วยสิ่งที่จะสั่งให้ทำ หรืออาจใช้ Verb แค่คำเดียวก็ได้ เช่น
Move out! แปลว่า ออกไป
Move on. แปลว่า เดินหน้าต่อไปได้แล้วนะ
Stay strong. แปลว่า เข้มแข็งหน่อยสิ
Go for it. แปลว่า ลุยเลย
Stay focus. แปลว่า มีสมาธิหน่อยสิ
อธิบายเพิ่มเติม: ถ้าต้องการให้ประโยค Imperative สุภาพยิ่งขึ้น ควรเติม ‘do’ ไว้ข้างหน้า ตัวอย่างเช่น
Do study hard. แปล ต้องขยันเรียนนะ
Do come. แปล ต้องมานะ
Do go to school. แปล ต้องไปโรงเรียนนะ
Do have breakfast every morning. แปล ต้องทานอาหารเช้าทุกๆ เช้านะ
Do miss me. แปล คิดถึงฉันด้วยนะ
การใช้ กริยา “Be…” ขึ้นต้นประโยค
Be + คำนาม หรือ article + คำนาม
Be a good boy.
จงเป็นเด็กดีBe a good role model.
จงเป็นตัวอย่างที่ดีBe brave.
จงกล้าหาญBe kind.
จงมีเมตตา
Imperative sentence ในรูปแบบประโยคปฏิเสธ
หากต้องการทำให้เป็นรูปแบบประโยคปฏิเสธ เพียงแค่วาง do not (don’t) หน้าคำกริยา จะได้โครงสร้าง
Don’t + V. infinitive เช่นDon’t eat late.
= อย่าทานข้าวเหลด
Don’t copy a homework.
= อย่าลอกงานเพื่อนDon’t go alone.
= อย่าไปคนเดียว
เพิ่มเติม: Imperative sentence ที่ขึ้นต้นด้วยกริยา ‘be’ ก็เช่นเดียวกัน เพียงวาง don’t หน้ากริยา be เช่น
Don’t be silly.
= อย่างี่เง่าDon’t be noisy here.
= อย่าเสียงดังที่นี่Don’t be grumpy.
= อย่าวีน (อย่าอารมณ์เสียเลย)
Imperative sentence ในเชิงขอร้อง
เราสามารถใช้ Imperative sentence ในเชิงขอร้องได้ โดยเพียงเติม Please (กรุณา)
เข้าไปวางไว้หน้าหรือท้ายประโยคก็ได้ เพื่อให้ดูสุภาพขึ้น เช่น
- Please give me a chance.
= กรุณาให้โอกาสฉันด้วย
- Walk faster, please.
= กรุณาเดินเร็วขึ้นด้วย
ประโยคคำสั่ง(แบบชักชวน)
ประโยคคำสั่งที่ใช้ไนความหมายแบบชักชวนนี้ มีอยู่รูปเดียวคือ Let’s (Let us) เป็นการชักชวน แบบเป็นกันเอง เช่น เพื่อนชวนเพื่อนออกไปกินข้าว พี่ชวนน้องไปเที่ยว เป็นต้น โดยที่ผู้ถามอาจจะไม่ต้องการคำตอบแต่เป็นเพียงการชวนไปทำอะไรบางอย่าง อย่างมีจุดมุ่งหมาย จะเรียกว่าสั่งแบบชวนแบบนั้นก็ได้ค่ะ ซึ่ง มีโครงสร้าง ดังนี้นะคะ
โครงสร้างประโยคคำสั่ง (แบบชักชวน)
” Let’s + V. infinitive…”
|
ตัวอย่าง
Let’s go to the canteen, shall we?
ไปโรงอาหารกันเถอะ ป้ะ
เพิ่มเติม: บางประโยคอาจจะมีคำว่า Shall we? ต่อท้ายด้วยเพื่อเป็นการชักชวน
แปลว่า ไปกันเถอะ(ป้ะ) เข้ามาด้วย ซึ่งใช้กับเพื่อนหรือการชวนคนสนิท
ประโยคแนะนำที่เจอในชีวิตประจำวัน
ประโยคคำแนะนำส่วนใหญ่แล้วจะเจอในรูปแบบของประโยคบอกเล่าซึ่งจะมีความหมายในทางเสนอแนะมากกว่า บางครั้งก็เป็นการให้ความคิดเห็นและแนะว่าควรทำหรือไม่ควรทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถือเป็นการเสนอแนะโดยตรงมีโครงสร้างดังนี้ค่ะ
ตัวอย่าง
I suggest (that) you should take a bus to school.
ฉันขอเสนอแนะว่า เธอควรขึ้นรถบัสไปโรงเรียน
I advise we should go jogging everyday.
ฉันขอแนะนำว่า เราควรไปวิ่งทุกวัน
I propose that we should not miss the flight.
ฉันขอเสนอว่า ว่าเราไม่ควรตกเที่ยวบิน
I ought to help my mom wash the dishes.
ฉันควรจะ ช่วยคุณแม่ล้างจาน
I advise you should water your plants every day.
ฉันแนะนำให้คุณรดน้ำต้นไม้ทุกวัน
ประโยคเชิง “ชักชวน ” ในชีวิตประจำวัน
ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็น การเสนอแนะชักชวนทางอ้อม เพื่อแสดงถึงการเกรงใจซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ต้องการคำตอบหรือการตกลงไม่ตกลงจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้
- ถามแบบรูปประโยค Yes/No Question :
Shall we…………?
เรา………กันดีมั้ย
- ถามแบบรูปประโยค Wh- Questions :
Why don’t we………..?
เรา .. … กันมั้ย
How about……….?
…………….ดีมั้ย
- ถามแบบรูปประโยค Indirect Questions :
I wonder if we…
ฉันไม่ทราบว่า เรา………….มั้ย
ตัวอย่าง:
Shall we read books at the library?
เราไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดกันเถอะ
Why don’t we walk to school?
ทำไมเราไม่เดินไปโรงเรียนกันนะ (หรือ เดินไปโรงเรียนกันดีกว่า)
How about playing a football after school?
เย็นนี้ เล่นฟุตบอลกันเถอะ
I wondered if we should sit with them?
ฉันว่าเราควรไปนั่งกับพวกเขากันเถอะ
Shall we book a movie ticket?
เราจองตั๋วหนังกันดีมั้ย
Shall we go to the wedding?
เราควรไปงานแต่งกันมั้ยI wondered if we can wear a mask during Covid-19 everyday?
ฉันว่าเราควรใส่หน้ากากทุกวันในช่วงโควิดนี้How about eating out today?
วันนี้ไปกินข้าวนอกบ้านกันดีกว่า
การตอบรับ (Accepting)
Yes! ได้เลย
Of course. แน่นอน
That’s a good/ great idea/ What a good idea.
เป็นความคิดที่ดีมากๆThat’s interesting.
น่าสนใจดีYes/ Of course/ Certainly/Absolutely/ Surely
ไปแน่นอน
การตอบปฏิเสธ (Refusing)
Sorry, I can’t go.
ขอโทษด้วยนะ ฉันไปไม่ได้Sorry, I already had a plan.
ขอโทษนะพอดีว่ามีแผนแล้วI’m afraid I won’t be able to come.
ดิฉันเกรงว่าคงจะไปไม่ได้นะคะSorry, I’d love to but I already had an appointment.
ขอโทษที ฉันก็อยากไปนะ แต่บังเอิญว่าดันฉันมีนัดแล้วอะI really don’t think I can go, and I must say sorry.
ฉันคิดว่าฉันคงจะไปไม่ได้จริงๆค่ะ ต้องขอโทษนะคะ
ครูหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนที่น่ารักทุกคนจะได้รับประโยชน์และความรู้จากการอ่านบทความนี้นะคะ ขอให้สนุกและมีความสุขกับการเรียนนะคะทุกคน
เลิฟๆ