การใช้ There is และ There are ในประโยคคำถาม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “การใช้ There is There are ในประโยคคำถาม ” กันจ้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยเด้อ

 

There is/There are คืออะไร

 

M2 There is VS There are (2)

There is และ There are แปลว่า “มี”
“มีสิ่งใดดำรงอยู่” หรือ
“มีสิ่งใดเกิดขึ้น” นั่นเองจ้า
เมื่ออยู่ในประโยคคำถาม
จะแปลว่า มี…หรือเปล่า/มี…ไหม นั่นเอง

 

การสร้างประโยคคำถาม

M2 There is VS There are (3)

การทำให้ประโยคบอกเล่ากลายเป็นประโยคคำถามนั้นทำได้ ตามขั้นตอนง่ายๆ 4 ขั้น
ดังนี้เลยจ้า

1) นำ V. to be (Is/Are) ขึ้นหน้าประโยค
– Is ใช้กับประธานเอกพจน์ เช่น Tom, a cat, a person, etc.
– Are ใช้กับประธานพหูพจน์ เช่น students, members, people, etc.
2) ตามด้วย there
3) ตามด้วยคำนามที่เป็นประธานของประโยคบอกเล่า
4) แล้วใส่เครื่องหมาย Question mark (?) 

 

ตัวอย่างประโยคบอกเล่า
(รูปปัจจุบัน)
There+ is/are +N.

ประโยคคำถาม

Is/Are + there + N. ?

There is a bird on the tree.

มีนกอยู่บนต้นไม้

Is there a bird on the tree?
มีนกอยู่บนต้นไม้ไหม
There are students at the library.

มีนักเรียนอยู่ที่ห้องสมุด

Are there students at the library?
มีนักเรียน (หลายคน) อยู่ในห้องสมุดไหม
There are your family members here.

มีใครอยู่ที่นี่ไหม

Are there your family members here?
มีสมาชิกในครอบครัวของคุณอยู่ที่นี่หรือเปล่า
There are people at the park.

มีคนอยู่ที่สวนสาธารณะ

Are there people at the park?

ที่สวนสาธารณะมีคนไหม

จากตารางสามารถสรุปโครงสร้างการถามได้ดังนี้

 

  • ประโยคคำถามในความหมายว่า “มีหรือไม่”

ในการถามว่ามีสิ่งใดหรือไม่
เราจะใช้
Is there… และ Are there…
โดยโครงสร้างที่ใช้หลักๆแล้ว
จะมี 3โครงสร้าง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

Structure: “Is there + a/an + คำนามนับได้เอกพจน์”
แปลว่า มี…ไหม/มี…หรือเปล่า/มี…หรือไม่

 

Is there a car to rent?
มีรถให้เช่าไหม

Is there a dog in that house?
บ้านหลังนั้นมีสุนัขไหม

Is there a car on the road?
บนถนนมีรถไหม

Structure: “Is there + any + คำนามนับไม่ได้ ”
แปลว่า มี…ไหม/มี…หรือเปล่า/มี…หรือไม่

 

Is there any juice in the kitchen?
มีน้ำผลไม้ในครัวไหม

Is there any salt on the table?
มีเกลืออยู่บนโต๊ะไหม

Is there any water left?
มีน้ำเหลือไหม

Structure: “Are there + any + คำนามนับได้พหูพจน์”
แปลว่า มี…ไหม/มี…หรือเปล่า/มี…หรือไม่

 

Are there any gas stations nearby?
มีปั๊มน้ำมันใกล้ๆหรือเปล่า

Are there any schools for special students?
มีโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษหรือไม่

Are there any dangerous animals at the park?
มีสัตว์ที่เป็นอันตรายที่สวนสาธารณะหรือไม่

สรุปโครงสร้างการถาม-ตอบ

M2 There is VS There are (4)

Is there…?

Is there…?

Are there…?

Are there…?

Yes, there is. 

No, there isn’t.
Yes, there are.

No, there aren’t.

เทคนิคคือ  ถาม Is..ตอบ is ถาม Are…ตอบ are

การตอบคำถาม

 

M2 There is VS There are (5)

สำหรับคำนามนับไม่ได้ ซึ่งไม่มีรูปพหูพจน์ เราจะต้องใช้ there is เท่านั้น

There is/are ใช้กับ ตัวอย่างประโยคการตอบคำถาม
There is คำนามนับได้ เอกพจน์ There is one book on the cabinet.

มีหนังสือเล่มหนึ่งอยู่ในตู้

คำนามนับไม่ได้ There is some sugar on the table.

มีน้ำตาลอยู่บนโต๊ะ

There are คำนามนับได้ พหูพจน์ There are birds on the sky.

บนท้องฟ้ามีนก

 

  • ประโยคปฏิเสธ

การใช้ there is และ there are ในประโยคปฏิเสธ
หลักๆแล้วเราสามารถใช้ได้ 2 แบบ คือ

 

  • ใช้ not หลัง there is และ there are

 

เราสามารถใช้ there is not (เขียนย่อเป็น there isn’t) และ there are not
(เขียนย่อเป็น there aren’t) เพื่อสื่อว่า “ไม่ได้มีสิ่งใดอยู่”

 

โครงสร้าง:
“There isn’t/aren’t + ปริมาณ + คำนามนับได้”
เพื่อบอกว่าไม่ได้มีสิ่งนั้นในปริมาณเท่านั้น แต่มีมากหรือน้อยกว่า

ข้อควรรู้:

  • isn’t ย่อมาจาก is not + นามนับได้เอกพจน์ เช่น a rat, a cat
  • aren’t ย่อมาจาก are not + นามนับได้พหูพจน์ rats, cats
  • โครงสร้าง “There isn’t any + คำนามนับไม่ได้”
    หากต้องการบอกว่า ไม่มีสิ่งนั้นอยู่เลย ดังในตัวอย่างประโยคด้านล่าง

 

There isn’t any money left.
ไม่มีเงินเหลือแล้ว

 

  • ใช้โครงสร้าง “There aren’t any + คำนามนับได้พหูพจน์”
    เพื่อบอกว่าไม่มีสิ่งนั้นอยู่เลย
    ดังในตัวอย่างประโยคด้านล่าง

There aren’t any people here.
ไม่มีคนที่นี่เลย

 

  • นักเรียนสามารถบอกว่าไม่ได้มีสิ่งใด หรือ ใคร อยู่
    ในโครงสร้าง
    “There is no + คำนามนับได้เอกพจน์”
    ดังตัวอย่างประโยค

There is no one in the classroom.
ไม่มีใครอยู่ในห้องเรียน

 

  • ใช้โครงสร้าง “There is no + คำนามนับไม่ได้”
    แปลว่า ไม่มี…+ คำนามนั้นๆ
    ดังตัวอย่างประโยค

There is no juice in the refrigerator this week.
สัปดาห์นี้ไม่มีน้ำผลไม้ในตู้เย็น

 

  • ใช้โครงสร้าง “There are no + คำนามนับได้พหูพจน์”
    แปลว่า ไม่มี…+ คำนามนั้นๆ
    ดังตัวอย่างประโยค

There are no cows in the rice field.
ไม่มีวัวในนาข้าว

 

แบบฝึกหัด


M2 There is VS There are (7)

คำสั่ง: จงเติมคำในช่องว่างโดยเลือกใช้
There is/There are/Are there/Is there

 

  1. __________________any mistakes in this text?
  2. _________________ one question left.
  3. ___________________ no snails in my garden.
  4. ___________________ anybody here?
  5. _____________________nothing to do?
  6. ________________________seven days in a week?
  7. ____________________a lot of tea in the kitchen.

เป็นยังไงกันบ้างคะนักเรียน พอจะเข้าใจไวยากรณ์เรื่อง การใช้ There is There are ในประโยคคำถาม กันมากขึ้นมั้ยคะ
อย่าลืมดูคลิปวีดีโอเพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างเลยนะคะ สนุกมากๆเลย

คลิกปุ่มเพลย์ แล้วไปเรียนให้สนุกกับทีเชอร์กรีซได้เลยจ้า 

Have a good day!

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การเรียงคำคุณศัพท์ (Adjective Order)

น้องๆ น่าจะรู้จักหรือเคยได้ยิน “คำคุณศัพท์” หรือ Adjective ในภาษาอังกฤษกันมาบ้างแล้วใช่มั้ยครับ? ซึ่งหน้าที่ของคำเหล่านี้คือเพิ่มความหมายและบอกลักษณะของคำนามนั่นเอง วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่าหากมี Adjective มากกว่า 1 คำมาขยายคำนาม เราจะเรียงลำดับมันอย่างไรดี ไปดูกันเลย!

เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องประโยคซับซ้อนอย่างง่าย

น้อง ๆ หลายคนคงจะรู้โครงสร้างของประโยคกันอยู่แล้ว คือจะมีประธาน กริยา กรรม เป็นส่วนประกอบ แต่ในชีวิตจริงเราไม่ได้พูดกันตามโครงสร้างเสมอไป เพราะจะมีส่วนขยายมาเพิ่มความมากขึ้นเพื่อให้ผู้พูดและผู้รับฟังสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจมากขึ้นจนบางครั้งก็อาจทำให้ดูซับซ้อนจนไม่รู้ว่าเป็นประโยคแบบไหนและอะไรคือใจความสำคัญของประโยค บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับเรื่อง ประโยคซับซ้อน ทั้งประโยคความเดียวซับซ้อน ประโยคความรวมซับซ้อน และประโยคความซ้อนซับซ้อน ประโยคแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประโยคเอย จงซับซ้อนยิ่งขึ้น !   ประโยคซับซ้อน

ศึกษาตัวบทและข้อคิดที่แฝงอยู่ในสามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีคือพลัง เป็นคำกล่าวคุ้นหูที่หลายคนคงจะเคยได้ยินคนพูดให้ฟังอยู่บ่อย ๆ เพราะไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดร่วมกับใคร เพื่อให้งานนั้นสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น เราก็ต้องอาศัยความสามัคคีของคนในกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อนให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าได้ แต่บางครั้งคนเราก็อาจปล่อยให้อารมณ์มาบดบังจนทำให้แตกความสามัคคีกันอยู่บ่อย ๆ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ว่าด้วยผลของการแตกความสามัคคี บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทเด่น ๆ ที่สำคัญ ถอดบทเรียนจากตัวละครและศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลย   ตัวบทเด่น ๆ ใน สามัคคีเภทคำฉันท์     ถอดความ

การใช้ Possessive Pronoun

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ Possessive Pronoun ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า บทนำ Possessive pronoun (เช่น mine, yours, hers) ถือเป็นหัวข้อหนึ่งในภาษาอังกฤษที่หลายคนมักจะสับสน นั่นก็เพราะมันมีความคล้ายคลึงกับ Possessive adjective (เช่น my, your, her) ลองเปรียบเทียบประโยคเหล่านี้ดูนะคะ   A

การเขียนคำอวยพร

การเขียนคำอวยพร เขียนอย่างไรให้เหมาะสมกับผู้รับ

  วัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และภาษาก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม คนเราทุกคนต่างต้องการในสิ่งดีงาม เมื่อถึงโอกาสสำคัญอย่างวันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นบ้านใหม่ จึงต้องการคำอวยพรที่สร้างกำลังใจ และเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง คำอวยพรจึงเป็นเหมือนสิ่งสะท้อนวัฒนธรรม ที่คนใช้สื่อสาร ถ่ายทอดเพื่อมอบสิ่งดี ๆ ให้แก่กัน บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การเขียนคำอวยพร เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่าการเขียนประเภทนี้จะมีลักษณะและวิธีอย่างไรบ้าง   การเขียนคำอวยพร   ความหมายของคำอวยพร คำอวยพร

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ ทำได้โดยนำตัวเลขแทนค่าตัวแปร แล้วจะได้กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรเป็นกราฟเส้นตรง สังเกตกราฟที่ได้ว่าตัดกัน ขนานกัน หรือทับกัน ลักษณะกราฟจะบอกคำตอบของระบบสมการ ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ⇐⇐ สมการเชิงเส้นสองตัวแปร  คือ สมการที่มีตัวแปรสองตัว  เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็น 1 และไม่มีการคูณกันของตัวแปร  เช่น 2x +

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1