การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ
some any

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Some และ Any คือ?

สำหรับคำว่า Some และ Any นั้นมีความหมายว่า “บางอันหรือบางสิ่ง” ซึ่งเรามักจะใช้นำหน้าคำนาม ทั้งคำนามที่นับได้และคำนามที่นับไม่ได้ โดยวันนี้พี่จะแบ่งประเภทของการใช้ Some/Any ดังนี้ครับ

 

รูปแบบของการใช้ some

1) some + คำนามนับได้พหูพจน์

เราสามารถใช้ some ตามด้วยคำนามนับได้ที่เป็นพหูพจน์ (plural countable nouns) จะให้ความหมายว่า “มีอยู่บ้าง” “บางอัน” เช่น

There are some apples in the basket.

(มีแอปเปิ้ลอยู่บ้างในตระกร้า)

There are some children in the playground.

(มีเด็กๆ บางคนอยู่ในสนามเด็กเล่น)

some apples

some children

 

2) some + คำนามนับไม่ได้ทั่วๆ ไป

เราสามารถใช้ some ตามด้วยคำนามนับไม่ได้ทั่วไปได้ด้วยเช่นกัน มีความหมายเหมือนกับข้อที่แล้ว เช่น

There is some milk in the fridge.
(มีนมในตู้เย็นอยู่บ้าง)

some milk

 

3) some ในคำถามยื่นข้อเสนอ

หากน้องๆ ต้องการถามให้สักคนว่า ต้องการ…บ้างไหม? น้องๆ สามารถใช้ some นำหน้าคำนามนั้นๆ ได้ เช่น

Would you like some coffee?
(คุณต้องการรับกาแฟไหม?)

some coffee

 

รูปแบบของการใช้ any

โดยส่วนใหญ่น้องจะเจอคำว่า any ในประโยคคำถาม (แปลว่า บ้างไหม) หรือปฏิเสธ (แปลว่า ไม่มี…เลย) ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้

1) any + คำนามนับไม่ได้

เราสามารถใช้ any ตามด้วยคำนามนับไม่ได้ เช่น

Is there any sugar in the kitchen?
(มีน้ำตาลอยู่ในครัวบ้างไหม?)

I don’t have any money.
(ฉันไม่มีเงินเลย)

any sugar

any money

 

2) any + คำนามนับได้พหูพจน์

เราสามารถใช้ any ตามด้วยคำนามนับได้ที่เป็นพหูพจน์ (plural countable nouns) ซึ่งหากอยู่ในรูปประโยคบอกเล่าจะแปลว่า “ใดๆ ก็ได้” เช่น

You can travel to any places.
(คุณสามารถไปเที่ยวที่ไหนก็ได้)

We can wear any shoes.
(เราสามารถใส่รองเท้าคู่ใดก็ได้)

any places

any shoes

 

นี่ก็เป็นกฎพื้นฐาน 5 ข้อ ของการใช้ Some และ Any พื้นฐานที่น้องๆ ควรจะต้องรู้ก็คือเรื่องคำนามนับได้/นับไม่ได้ซึ่งจะช่วยให้น้องๆ ใช้ Some และ Any ได้แม่นยำ และน้องๆ สามารถดูวิดีโอเรื่องนี้จากช่องของ NockAcademy ได้ด้านล่างเลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน(Conjunctions)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน(Conjunctions)“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น for, and, or, nor, so, because, since ดังตัวอย่างด้านล่างเลยจ้า ตัวอย่างเช่น เชื่อมนามกับนาม

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ  บางครั้งเรียกว่า

การบรรยายลักษณะ และ ความรู้สึก โดยใช้คำคุณศัพท์

การบรรยายลักษณะและความรู้สึก โดยใช้คำคุณศัพท์ Adjective

ทบทวนความหมายและหน้าที่ของคำคุณศัพท์   คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ นั่นเองค่า นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ขยายในที่นี้เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนามหรือสรรพนามเหล่านั้นมีลักษณะยังไง  และในบทนี้ครูจะพาไปดูการใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะและความรู้สึก (Descriptive Adjective) กันนะคะ ไปลุยกันเลย   การใช้คำคุณศัพท์ (Adjective)

ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม ถอดคำประพันธ์และเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดี

จากที่บทเรียนคราวก่อนเราได้รู้ความเป็นมาและเรื่องย่อของตอนที่สำคัญอีกตอนหนึ่งของเรื่องอย่างตอน กำเนิดพลายงาม กันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกตัวบทที่น่าสนใจเพื่อถอดคำประพันธ์พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าในเรื่อง น้อง ๆ จะได้รู้พร้อมกันว่าเหตุใดวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ถึงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบท ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม     ถอดคำประพันธ์ : เป็นคำสอนของนางวันทองที่ได้สอนพลายงามก่อนที่จะต้องจำใจส่งลูกไปอยู่กับย่าที่กาญจนบุรีว่าเกิดเป็นผู้ชายต้องลายมือสวย โตขึ้นจะได้รับราชการก่อนจะพาพลายงามมาส่งด้วยความรู้สึกที่เหมือนใจสลาย    

วัฒนธรรมกับภาษา

วัฒนธรรมกับภาษา ความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

มนุษย์ก่อให้เกิดภาษา และภาษาก็ก่อให้เกิดวัฒนธรรม น้อง ๆ สงสัยกันหรือไม่คะว่ามนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงเรื่องราวที่ว่านี่กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ   มนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา   วัฒนธรรม คืออะไร วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น รากศัพท์ในภาษาละตินมีความหมายว่าการเพาะปลูก แต่ไม่ได้ใช้แค่ในเชิงเกษตรกรรม แต่จะรวมไปถึงการปลูกฝังในด้านต่าง ๆ ทั้งให้การศึกษา ความเคารพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง

เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค

​ประโยค คือถ้อยคำต่าง ๆ ที่นำมาเรียงกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ว่าใครกำลังทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าประโยคที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ส่วนประกอบของประโยค   โดยทั่วไปประโยคจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ ภาคประธานและภาคแสดง     ภาคประธาน คือ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1