Would และ Used to แตกต่างกันอย่างไร?

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง Would และ Used to กันครับ จะเป็นอย่างไรเราไปดูกันเลย
would used

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Used to ใช้อย่างไร?

ในภาษาไทยนั้นกริยา ‘used to’ + infinitive นั้นแปลว่า “เคย” ซึ่งเราจะใช้คำนี้เวลาที่พูดถึง “สถานะ” ในอดีตที่จบลงไปแล้ว มีโครงสร้างดังนี้

used to

ตัวอย่างเช่น

I used to live in Chonburi when I was a kid.
ฉันเคยอาศัยอยู่ที่ชลบุรีตอนที่ฉันเป็นเด็ก

We used to be friends but not anymore.
พวกเราเคยเป็นเพื่อนกันแต่ตอนนี้ไม่แล้ว

 

หรือ เราสามารถใช้กับนิสัยที่เคยทำเป็นประจำในอดีต (ปัจจุบันไม่ทำแล้ว) ก็ได้เช่นกัน เช่น

Mike used to play basketball every Friday when he was in college.
ไมค์เคยเล่นบาสเกตบอลทุกวันศุกร์เมื่อตอนที่เขาอยู่มหาวิทยาลัย

 

ข้อควรระวัง
น้องๆ ไม่ควรสับสนระหว่าง ‘used to + infinitive’ และ ‘be + used to + V.ing’ ที่มีความหมายที่แตกต่างจากอย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป

 

Would ใช้อย่างไร?

สำหรับคำนี้นั้นเราจะใช้เหมือนกันกับ used to ในการพูดถึงนิสัยที่ “เคย” ทำเป็นประจำในอดีต ซึ่งไม่ทำแล้วในปัจจุบัน มีโครงสร้างดังนี้

would

ตัวอย่างเช่น

Every Monday I would go for a walk at the park.
ทุกวันจันทร์ฉันจะออกไปเดินที่สวนสาธารณะ (นิสัยในอดีต)

My mom would read me bedtime stories every night.
แม่ของฉันจะเล่านิทานก่อนนอนให้ฉันฟังทุกคืน (นิสัยในอดีต)

 

ข้อควรจำ
การใช้ would ในการอธิบายนิสัยในอดีตนั้นจะมีความเป็นทางการกว่าการใช้ used to เล็กน้อย และเราจะไม่ใช้ would ในการบอกถึง “สถานะ” ที่จบลงไปแล้วในอดีต เพราะคำว่า “เคย” ของ would นั้น ต่างจากคำว่า “เคย” ของ used to ตรงที่จะใช้ would บอกนิสัยที่เคยทำเท่านั้น (I would live in Chonburi จึงจะแปลว่า “ฉันเคยอาศัยอยู่ที่ชลบุรี” เหมือน I used to live in Chonburi ไม่ได้)

 

ความแตกต่างของ ‘Would’ ‘Used to’ และ ‘Past Simple’

เราสามารถใช้ Past Simple ในการพูดถึงสถานะหรือนิสัยในอดีตได้เช่นกัน ต่างกันที่ว่าเหตุการณ์ที่เป็น Past Simple นั้นอาจจริงหรือไม่จริงในปัจจุบันก็ได้ ลองสังเกตความแตกต่างดังนี้

 

We celebrated Christmas at home every winter.
พวกเราฉลองคริสต์มาสที่บ้านทุกฤดูหนาว (ในอดีต)

“ปัจจุบันอาจจะยังฉลองอยู่หรือไม่ก็ได้”

We used to celebrate Christmas at home every winter.
We would celebrate Christmas at home every winter.
พวกเรา “เคยฉลอง/จะฉลอง” คริสต์มาสที่บ้านทุกฤดูหนาว (ในอดีต)

ทั้งสองประโยคนี้บอกได้ว่า “ปัจจุบันเราไม่ฉลองคริสต์มาสที่บ้านอีกต่อไปแล้ว”

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับการใช้ would และ used to ในภาษาอังกฤษ หวังว่าจะทำให้น้องๆ เข้าใจนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง สำหรับน้องๆ ที่ยังอยากเรียนเรื่องนี้เพิ่มเติมสามารถรับชมวิดีโอจากช่อง Nock Academy ได้ด้านล่างเลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

พันธกิจของภาษา

พันธกิจของภาษา ความสำคัญและอิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์

ภาษาที่มนุษย์ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือสื่อสาร แต่ยังเป็นเครื่องมือสื่อความหมาย ความต้องการ และความคิดของคน บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง พันธกิจของภาษา พร้อมความสำคัญและอิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   พันธกิจของภาษา   พันธกิจของภาษาคืออะไร?   พันธกิจของภาษา หมายถึง ประโยชน์หรือความสำคัญของภาษา ซึ่งประกอบไปด้วยความสำคัญหลัก ๆ ดังนี้ 1. ภาษาช่วยธำรงสังคม

ม.3 สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

Profile Telling Time

“บอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Time in English) ”

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling Time in English) ” กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย  บทนำ ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษา นะคะ  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

ตัวประกอบของจำนวนนับ

ตัวประกอบของจำนวนนับ ป.6

บทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับตัวประกอบของจำนวนนับ น้องๆชั้นป.6 จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของตัวประกอบ รวมไปถึงวิธีหาตัวประกอบของจำนวนนับนั่นเอง

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า 3 วิธีที่จะช่วยพัฒนาความคิดให้เป็นระบบ

การคิด คือ กระบวนการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยประสบการณ์ความรู้และสภาพแวดล้อมมาพัฒนาการคิดและแสดงออกมาอย่างมีระบบ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงวิธีการคิดทั้ง 3 แบบคือ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประเมินค่า ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การพัฒนาและแสดงความคิด   มนุษย์สามารถแสดงความคิดออกมาได้โดยการใช้ภาษา ซึ่งการใช้ภาษานั้นก็คือวิธีการถ่ายทอดความคิดที่อยู่ในหัวของเราออกมาให้คนอื่นเข้าใจและรู้ว่าเรามีความคิดต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างไรบ้างไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน ดังนั้นการพัฒนาความคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการคิดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

คติธรรมในสำนวนไทย

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง   สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม   สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1