Past Tense ที่มี Time Expressions

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Past Tense และ Time Expressions ในประโยคดังกล่าว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเริ่มกันเลยครับ
past tense

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Time Expressions

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำที่ใช้บอกเวลาในอดีต หรือ Time Expressions ใน Past Tense กันก่อนนะครับ คำเหล่านี้ได้แก่

Time Expressions in the Past

Meaning

yesterday

เมื่อวานนี้

last …

Ex: last week, last month, last Friday, etc.

เมื่อ … ที่แล้ว

เช่น สัปดาห์ที่แล้ว เดือนที่แล้ว วันศุกร์ที่แล้ว ฯลฯ

… ago

Ex: two days ago, three weeks ago, etc.

เมื่อ … ก่อน

เช่น สองวันก่อน สามสัปดาห์ก่อน ฯลฯ

โดยคำเหล่านี้จะมีหรือไม่มีในประโยคก็ได้ แต่หากเราต้องการเน้นและบ่งบอกเวลาที่ชัดเจนเราจึงจะนำคำเหล่านี้มาใช้ในประโยคนั่นเองครับ

 

Past Tense ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ

ในภาษาอังกฤษเราจะใช้ Past Tense ในการพูดถึงเรื่องในอดีต หรือเหตุการณ์ที่จบลงไปแล้วอย่างสมบูรณ์ หรือเวลาที่น้องๆ เล่าเรื่อง หรือเล่านิทานก็สามารถใช้ Tense นี้ในการเล่าได้เช่นกัน และจากหัวข้อเรื่อง Time Expressions ด้านบนนั้นโดยส่วนมากเราจะใช้คำเหล่านี้ วางไว้ข้างหลังประโยคครับ เราลองมาดูรูปแบบประโยคแบบต่างๆ กันดีกว่าครับ

 

ประโยคบอกเล่า

กริยาที่ใช้ในประโยคที่พูดถึงอดีต นั้นจะเป็นกริยาช่องที่ 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะเติม -ed และถ้าเป็น Verb to be ก็จะใช้ was และ were นั่นเองครับ (อย่าลืมทบทวนกริยา 3 ช่องกันด้วยนะครับ)

ตัวอย่าง

I went to Phuket last week.

(ฉันไปภูเก็ตเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว)

John played football yesterday.

(จอห์นเล่นฟุตบอลเมื่อวานนี้)

He visited his grandparents last month.

(เขาไปเยี่ยมคุณปู่คุณย่าของเขาเมื่อเดือนที่แล้ว)

past tense

 

ประโยคปฏิเสธ

ในประโยคปฏิเสธแบบอดีตนั้นเราจะใช้ did not หรือ didn’t เขามาช่วยตามหลังประธานและตามด้วยกริยาไม่ผัน (Infinitive) ครับ

ตัวอย่าง

I didn’t go to school last Monday.

(ฉันไม่ได้ไปโรงเรียนเมื่อวันจันทร์ที่แล้ว)

Maria didn’t pass the exam last semester.

(มาเรียสอบไม่ผ่านเมื่อเทอมที่แล้ว)

Jake didn’t want to play basketball two weeks ago.

(เจคไม่อยากเล่นฟุตบอลเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว)

past negative

 

นี่ก็เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับ Past Tense ที่มี Time Expressions แบบเข้าใจง่ายๆ ที่น้องสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยครับ และน้องๆ สามารถดูวิดีโอเพิ่มเติมจากช่อง NockAcademy ได้ด้านล่างนี้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

01NokAcademy_Question Tag Profile

การใช้โครงสร้างประโยค Question Tags (ปัจจุบัน)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป. 6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ในหัวข้อเรื่อง การใช้โครงสร้างประโยค Question Tags ในรูปแบบปัจจุบัน โดยที่เราจะเจอกลุ่มประโยคในลักษณะนี้ร่วมกับรูปแบบโครงสร้างประโยคและกริยาที่เป็นปัจจุบัน (V. 1 and Present form) พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยค่า ความหมายของ Question Tags   Question แปลว่า คำถาม ส่วนคำว่า Tag จะแปลว่า วลี

ศัพท์บัญญัติ

ศัพท์บัญญัติ เรียนรู้การยืมคำและบัญญัติขึ้นใหม่

น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่า ศัพท์บัญญัติ สักเท่าไหร่ บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับศัพท์บัญญัติที่ว่านั่นกันค่ะว่าคืออะไร มีที่มาและมีหลักเกณฑ์ในการสร้างอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้กันแล้ว ก็ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การบัญญัติศัพท์คืออะไร     การบัญญัติศัพท์ คือการกำหนดคำศัพท์จากภาษาต่างประเทศขึ้นมาใหม่ในภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมายบางอย่างโดยเฉพาะในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง หรือเพื่อใช้ในการเขียนเอกสารของงานราชการ ตามเจตนาของผู้บัญญัติ ซึ่งคำศัพท์ที่เกิดจากวิธีการเช่นนี้จะเรียกว่า ศัพท์บัญญัติ โดยทั่วแล้วศัพท์บัญญัติมักจะมาจากภาษาอังกฤษ

NokAcademy_ม5 การใช้ Modal Auxiliaries

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries   Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ 

ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปทบทวนเรื่อง ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time Expressions ในกลุ่ม Past Tenses หรือ อดีตกาล

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย(ค.ร.น.) ของจำนวนนับตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป หมายถึง ตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น

M2 V. to be + ร่วมกับ Who WhatWhere + -Like + infinitive

การใช้ V. to be ร่วมกับ Who/ What/Where และ Like +V. infinitive

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ V. to be + ร่วมกับ Who/ What/Where + -Like + infinitive ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สับสนบ่อย แต่ที่จริงแล้วง่ายมากๆ ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go ความหมาย    Verb to be

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1