Passive Modals: It can be done!

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง Passive Voice ในกริยาจำพวก Modals กันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย
passive modals

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Passive Modals คืออะไร?

ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Passive Modals ในวันนี้ เรามาทำความรู้จักกริยาที่เรียกว่า Modals กันก่อนนะครับ ซึ่งมันคือกริยาช่วยประเภทหนึ่ง โดยมีดังนี้ครับ

 

Modals

Meaning

can/could

สามารถ

will/would

จะ

shall

จะ (เก่ามากแล้ว ไม่ค่อยนิยมใช้)

should

ควร

may/might

อาจจะ

must

ต้อง

ought to

ควร

have/has/had to

ต้อง

 

ซึ่งหลักโครงสร้างของกริยาเหล่านี้ในประโยคก็คือ

modal structure

*น้องๆ ควรจำให้ได้ว่า Modals จะตามด้วยกริยาที่เป็นรูปปกติ (Infinitive) เท่านั้นนะครับ

ตัวอย่าง

I should finish my homework before midnight.
(ฉันควรทำการบ้านให้เสร็จก่อนเที่ยงคืน)

I will tell you my story next time we meet.
(ฉันจะเล่าเรื่องของฉันให้ฟังในครั้งหน้าที่เราเจอกันนะ)

Everybody has to book a ticket for an international flight.
(ทุกคนต้องจองตั๋วสำหรับการบินต่างประเทศ)

modal example

 

โครงสร้างและตัวอย่าง

น้องๆ น่าจะเคยเรียนเรื่อง Passive Voice กันมาบ้างแล้วใช่มั้ยครับ? ซึ่ง Passive Modals นั้นก็คือการที่เรานำกริยาเหล่านี้มาทำให้อยู่ในรูป Passive หรือถูกกระทำนั่นเองครับ ซึ่งโครงสร้างของมันก็คือ

passive modal structure

โดยที่จะเน้นว่าประธานของประโยคเป็นผู้ถูกกระทำเหมือนกันกับ Passive Voice เลยครับ (เรียนรู้เรื่อง Passive Voice ได้ที่นี่)

 

ตัวอย่าง

My homework should be finished (by me) before midnight.
(การบ้านควรจะถูกทำให้เสร็จก่อนเที่ยงคืน)

My story will be told (by me) next time we meet.
(เรื่องราวของฉันจะถูกเล่าครั้งหน้าที่เราเจอกัน)

A ticket for an international flight has to be booked (by everyone).
(ตั๋วสำหรับการบินต่างประเทศต้องถูกจอง)

passive modal example

 

ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะใส่ by (ผู้ที่กระทำ) หรือไม่ใส่ก็ได้ครับหากว่ามันไม่จำเป็นหรือไม่มีผลต่อความหมายของประโยค

น้องๆ จะเห็นได้ว่า Passive Modals นั้นมีลักษณะการใช้ไม่ยากเลยใช่มั้ยล่ะครับ? และน้องๆ สามารถศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมจากวิดีโอของ NockAcademy ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญอย่างไร

  เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญไม่แพ้เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์เลยค่ะ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยเรานั้นเป็นเหมือนตัวกำหนดความหมายของคำเลยก็ว่าได้ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น วันนี้เรามีคำตอบให้แล้วค่ะ เราไปเรียนรู้เกี่ยวเสียงวรรณยุกต์พร้อมๆ กันเลยค่ะว่าทำไมถึงมีความสำคัญ   เสียงวรรณยุกต์คืออะไร   เสียงวรรณยุกต์ หมายถึง เสียงที่ใช้บอกระดับสูงต่ำของคำ มี 4 รูป 5 เสียง   รูปวรรณยุกต์   รูปวรรณยุกต์มี 4

โคลนติดล้อ บทความปลุกใจในรัชกาลที่ 6

เป็นที่รู้กันดีกว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ของเรานั้น ทรงโปรดงานด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ยังเยาว์ และเริ่มงานวรรณกรรมตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ทำให้มีผลงานในพระราชนิพนธ์มากมายหลายเรื่อง และแตกต่างกันออกไป ที่ผ่านมาน้อง ๆ คงจะได้เรียนมาหลายเรื่องแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับผลงานของพระองค์อีกเรื่องหนึ่ง แตกต่างจากเรื่องก่อน ๆ ที่เคยเรียนมาอย่างแน่นอน เพราะเรากำลังพูดถึงโคลนติดล้อ ผลงานในพระราชนิพนธ์ที่อยู่ในรูปแบบของบทความ จะมีที่มา มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันเลยค่ะ   ที่มาของ โคลนติดล้อ

who what where

Who What Where กับ Verb to be

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกๆ คนนะครับ วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ Who/What/Where ร่วมกับ Verb to be กันครับ ไปดูกันเลย

อนุกรมเลขคณิต

อนุกรมเลขคณิต

อนุกรมเลขคณิต อนุกรมเลขคณิต คือการนำลำดับเลขคณิตแต่ละพจน์มาบวกกัน โดย เขียนแทนด้วย จากบทความ “สัญลักษณ์การบวก” ซึ่งเป็นการลดรูปการเขียนจำนวนหลายจำนวนบวกกัน ในบทความนี้จะพูดถึงการบวกของลำดับเลขคณิต การหาผลบวก สูตรสำหรับการหาผลบวกเลขคณิต สูตรอนุกรมเลขคณิต สูตรของอนุกรมเลขคณิตมีอยู่ 2 สูตร ดังนี้ 1)   โดยที่ d คือ ผลต่างร่วม 2)   โดยจะใช้สูตรนี้ก็ต่อเมื่อรู้ค่า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1