มาสำรวจรอบๆโรงเรียนกันดีกว่า: การใช้ There is/There are แบบเข้าใจง่ายๆ

เชื่อว่าช่วงนี้น้องๆ น่าจะเปิดเทอมกันมาได้สักพักนึงแล้ว แล้วน้องๆ เคยมีเวลาไปสำรวจรอบๆ โรงเรียนของเรากันรึยังเอ่ย? วันนี้พี่จะมาบอกประโยคง่ายๆ ที่ใช้พูดเวลาเจอสิ่งที่น่าสนใจรอบๆโรงเรียนของเรากัน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ทำความรู้จักกับ There is/There are

พื้นฐานที่ควรมีมาก่อน: Singular/Plural Noun, Countable/Uncountable Noun

There is/There are ถ้าแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ นั้นจะแปลว่า “มี” ใช้บอกว่ามีสิ่งนั้นอยู่ตรงนั้น มีสิ่งนี้อยู่ตรงนี้ แต่เอ๊ะ!…เราจะเลือกใช้ There is หรือ There are อย่างไรดีล่ะ? น้องๆ ลองดูประโยคตัวอย่างกันเลย

There is a teacher in a classroom.

มีครูคนนึงอยู่ในห้องเรียน

There are students in a cafeteria.

มีเด็กนักเรียน(หลายคน)อยู่ในโรงอาหาร

ถ้าน้องๆ สังเกตจะเห็นว่า There is จะตามด้วยคน 1 คน สิ่ง 1 สิ่ง หรืออะไรที่มีอย่างเดียวเท่านั้น (ในตัวอย่างคือ ครู 1 คน) ซึ่งเราจะเรียกสิ่งนั้นว่าเป็น Singular Noun หรือ คำนามเอกพจน์

ในทางกลับกัน There are จะตามด้วยคนหลายๆคน ของหลายๆอย่าง (ในตัวอย่างคือ เด็กนักเรียนหลายคน) ซึ่งเราเรียกสิ่งนั้นว่าเป็น Plural Noun หรือ คำนามพหูพจน์นั่นเอง

และน้องๆ ทราบหรือไม่ว่า There is นั้นใช้กับคำนามที่นับไม่ได้ (Uncountable Noun) ด้วยนะ (แน่ล่ะ! เพราะว่ามันนับไม่ได้ มันจึงมีค่าเป็น 1 อยู่ตลอดเวลาไง) เช่น

There is rice in my plate.

มีข้าวอยู่ในจานของฉัน

There is milk in a school fridge.

มีนมอยู่ในตู้เย็นของโรงเรียน

*ถ้าน้องๆ คนไหนยังไม่มั่นใจเรื่อง Countable/Uncountable Noun อย่าลืมกลับไปทบทวนกันด้วยนะ 🙂

“There is”

 

“There are”

 

ย่อ There is ให้พูดง่ายๆ สบายปาก

 

ในการพูด There is ในชีวิตจริงนั้น น้องๆ สามารถย่อประโยคให้สั้นลงได้ด้วยนะ ซึ่งการย่อแบบนี้เรียกว่า Contractions (ไม่จำเป็นต้องจำชื่อเรียกมันหรอกนะ)

สำหรับคำย่อของ There is คือ There’s ออกเสียงเหมือนคำว่า There เลย แค่ใส่เสียง s ต่อท้ายแค่นั้นเอง เช่น

There is a burger at a food stall.

มีเบอร์เกอร์ที่ซุ้มขายอาหารด้วยล่ะ (จะแปลว่า “ที่ซุ้มขายอาหารมีเบอร์เกอร์ด้วยล่ะ” ก็ได้นะ)

ย่อได้เป็น

There’s a burger at a food stall.

สำหรับ There are นั้นเราไม่สามารถย่อได้นะ

*การใช้รูป There’s ที่ย่อแบบนี้นิยมใช้ในภาษาพูด (Spoken Language) เท่านั้นนะ ถ้าน้องๆ เอาไปเขียนเรียงความส่งคุณครูให้เขียน There is แบบเต็มๆ ตลอดนะครับ 🙂

 

There’s a burger.

 

แล้วถ้า “ไม่มี” ล่ะ?: Negative Form

 

เรารู้กันไปแล้วใช่ไหมครับว่า There is/There are แปลว่า “มี” แล้วถ้าน้องๆ อยากบอกว่า “ไม่มี” ล่ะ สามารถพูดอย่างไรได้บ้าง? ง่ายมากครับ แค่เติม not ไปข้างหลัง is/are เท่านั้นเอง เช่น

There is not a TV in the class.

ไม่มีทีวีอยู่ในชั้นเรียน (หรือ ในชั้นเรียนไม่มีทีวี)

There is not a dog in school.

ไม่มีสุนัขอยู่ในโรงเรียน (หรือ ในโรงเรียนไม่มีสุนัข)

There are not students in the library.

ไม่มีนักเรียนอยู่ในห้องสมุด (หรือ ในห้องสมุดไม่มีนักเรียน)

There are not parents in the building.

ไม่มีผู้ปกครองอยู่ในอาคาร

ซึ่งในภาษาพูดเราสามารถย่อประโยคปฎิเสธของ There is/There are ได้ดังนี้ครับ

There isn’t a TV in the class. (There is not = There isn’t)

There aren’t parents in the building. (There are not = There aren’t)

Tips: เราสามารถใช้ any ตามหลัง there are not ได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า “ไม่มีสิ่งนั้นเลย” เช่น There are not any students in school on Sunday. (ไม่มีนักเรียนที่โรงเรียนในวันอาทิตย์เลย) หรือใช้กับ Uncountable Noun เช่น There is not any grass in the football field. (ไม่มีหญ้าในสนามฟุตบอลเลย)

There’s a TV.

 

There isn’t a TV.

 

มีถั่วไหม?: Question Form

 

ถ้าเราต้องการถามใครสักคนว่า มี…ไหม? เราสามารถใช้โครงสร้าง There is/There are ถามได้ โดยย้าย Is/Are มาไว้ด้านหน้าประโยค เช่น

Is there a toilet in the building?

มีห้องน้ำในตัวอาคารไหม?

Is there a computer in the library?

มีคอมพิวเตอร์ในห้องสมุดไหม?

(Is there สามารถตอบได้ว่า Yes, there is. หรือ No, there isn’t)

และถ้าเป็นคำนามพหูพจน์และคำนามที่นับไม่ได้ ให้ใช้ any ด้วยเสมอ เช่น

Are there any teachers on the second floor?

มีครูอยู่บนชั้น 2 บ้างไหม?

Is there any juice for students?

มีน้ำผลไม้สำหรับนักเรียนบ้างไหม?

Are there any children in the playground?

มีเด็กๆอยู่ในสนามเด็กเล่นบ้างไหม?

Is there any sugar left?

มีน้ำตาลเหลือบ้างไหม?

(Are there สามารถตอบได้ว่า Yes, there are. หรือ No, there aren’t)

Are there any beans?

 

มีกี่อันกันนะ?: How many … are there?

 

หากน้องๆ ต้องการถามจำนวนของสิ่งนั้นๆว่ามีกี่อัน กี่ชิ้น กี่คน น้องๆ สามารถใช้โครงสร้าง

How many + plural noun + are there?

*ใช้กับคำนามที่นับได้ที่เป็นพหูพจน์เท่านั้น (น้องๆ ยังจำได้ใช่ไหมว่าคำนามที่นับไม่ได้มีค่าเป็น 1 เสมอ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องถามว่ามีเท่าไหร่นั่นเอง)

How many students are there in this room?

ในห้องนี้มีนักเรียนกี่คน?

How many tables are there in the cafeteria?

ในโรงอาหารมีโต๊ะกี่ตัว?

How many food stalls are there around the school?

มีรถเข็นขายอาหารกี่ร้านรอบๆโรงเรียน?

A: How many people are there?

B: There are five people.

 

เห็นไหมครับว่าการใช้ There is/There are นั้นง่ายมากๆ ใช้บอกได้ว่าตรงนั้นมีอะไร ตรงนู้นมีอะไร หรือถามว่ามีอะไรอยู่ตรงนั้นไหม? มีจำนวนเท่าไหร่? ประโยชน์ในการใช้หลากหลายมากๆ ครับ ว่างๆ ลองเดินสำรวจรอบๆ โรงเรียนและฝึกพูดกับคุณครูหรือเพื่อนๆ กันได้นะครับ 🙂

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น เป็นกราฟที่นิยมใช้เเสดงความเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลของข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเรียงข้อมูลตามลำดับก่อนหลังของเวลาที่ข้อมูลนั้น ๆ เกิดขึ้น ทำให้เห็นเเนวโน้มของข้อมูลเเละช่วยให้เห็นการเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเเสดงถึงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างรูปเเบบของกราฟเส้นที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น  ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนกราฟเเสดงจำนวนผลไม้ที่ถูกขายตามข้อมูลดังนี้ วิธีทำ เริ่มจากการสร้างเเกน x เเละเเกน y โดยให้เเกน x เป็น

อิศรญาณภาษิต

อิศรญาณภาษิต ศึกษาวรรณคดีคำสอนของไทย

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสอนให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะของกลอนเพลงยาวและยังสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติความความเป็นมา ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนเพลงยาว และตัวบทที่น่าสนใจ ๆ ในเรื่อง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าวรรณคดีเรื่องนีมีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยในเราได้ศึกษากันอยู่ตอนนี้ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     ความเป็นมาของ   อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า

NokAcademy_ ม.4Gerund

Gerund

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund   อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม

เรียนรู้บทร้องกรองสุภาษิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

การนำสุภาษิตมาแต่งเป็นบทร้อยกรอง เรียกว่า บทประพันธ์ร้อยกรองสุภาษิต ซึ่งบทที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในวันนี้คือบทร้อยกรองสุภาษิตเรื่อง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เราไปดูกันเลยค่ะว่าที่มจากของบทร้อยกรองนี้จะเป็นอย่างไร มาจากสุภาษิตอะไร รวมไปถึงถอดความหมายตัวบท ศึกษาคำศัพท์ที่น่ารู้และศึกษาคุณค่าที่อยู่ในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลย   ความเป็นมา ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน     ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ผู้แต่งคือ นายเพิ่ม สวัสดิ์วรรณกิจ เป็นบทร้อยกรองประเภทกลอนแปด พิมพ์รวมอยู่ในหนังสือบทประพันธ์อธิบายสุภาษิตของวรรณคดีสมาคมแห่งประเทศไทย    

การสะท้อน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ภาพที่ได้จากการสะท้อน ( Reflection ) ไปตามแนวแกนต่างๆ หวังว่าน้องๆ จะสามารถนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้ ไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนและในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ปก

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธีการเขียน กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ซึ่งทำได้โดยการหาความสัมพันธ์ของจำนวนสองจำนวน เขียนให้อยู่ในรูปคู่อันดับ และเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ข้างต้น ซึ่งน้องๆสามารถศึกษาการเขียนกราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้นเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ⇐⇐ คู่อันดับ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น เขียนแสดงความเกี่ยวข้องของปริมาณสองปริมาณที่กำหนดให้ โดยความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น ปริมาณของน้ำประปาที่ใช้กับค่าน้ำ ปริมาณเวลาในการใช้โทรศัพท์กับค่าโทรศัพท์ ระยะทางที่โดยสารรถประจำทางปรับอากาศกับค่าโดยสาร ปริมาณของกระแสไฟฟ้ากับค่าไฟฟ้า เป็นต้น เราสามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์เหล่านี้ในรูปตาราง แผนภาพ คู่อันดับ รวมทั้งแสดงในรูปของกราฟได้ ซึ่งในหัวข้อนี้ เราจะทำความรู้จักกับคู่อันดับกันก่อนนะคะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1