อิศรญาณภาษิต ศึกษาวรรณคดีคำสอนของไทย

อิศรญาณภาษิต

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสอนให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะของกลอนเพลงยาวและยังสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติความความเป็นมา ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนเพลงยาว และตัวบทที่น่าสนใจ ๆ ในเรื่อง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าวรรณคดีเรื่องนีมีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยในเราได้ศึกษากันอยู่ตอนนี้ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

อิศรญาณภาษิต

 

ความเป็นมาของ

 

อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า อิด-สะ-ระ-ยาน-พา-สิด) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ โดยมาจากชื่อผู้แต่ง คือ หม่อมเจ้าอิศรญาณ (มหากุล) รวมกับ ภาษิต ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมา ดังนั้น คำว่า ‘อิศรญาณภาษิต’ เลยหมายถึงถ้อยคำของหม่อมเจ้าอิศรญาณที่บอกเล่าสืบต่อกันมา จุดเริ่มต้นของวรรณคดีเรื่องนี้มาจากการที่ผู้แต่งน้อยใจที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสบริภาษว่าเป็นบ้า และคนอื่น ๆ ก็พากันเห็นด้วยว่าพระองค์เป็นผู้มีพระจริตที่ไม่ปกติ ทำให้แต่งกลอนเพลงยาวนี้ขึ้นมา ดังนั้นเนื้อหาในเรื่องจึงเต็มไปด้วยการเหน็บแนมประชดประชันและเสียดสีสังคม

 

อิศรญาณภาษิต

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

กลอนเพลงยาว กลอนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรักหรือเล่าสู่กันฟัง ขึ้นต้นด้วยวรรรับหรือวรรคที่สองของบท

 

อิศรญาณภาษิต

 

กลอนเพลงยาวในระยะแรกไม่เคร่งครัดในเรื่องฉันทลักษณ์ที่เป็นแบบแผนตายตัว จำนวนคำในแต่ละวรรคมีได้ตั้งแต่ 6-15 คำ การส่งสัมผัสมีลักษณะไม่คงที่

 

ตัวบทที่สำคัญ

 

อิศรญาณภาษิต

 

ถอดความ สอนเรื่องการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างหญิงกับชาย ให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยยกสำนวนโบราณมาเปรียบเทียบให้เห็นว่าผู้หญิงเป็นข้าวสารที่ผ่านการขัดสีพร้อมที่จะนำไปหุงอย่างเดียว ไม่สามารถนำมาปลูกใหม่ได้อีก แต่ผู้ชายเปรียบเสมือนข้าวเปลือกที่สามารถนำไปเพาะปลูกและเจริญงอกงามใหม่ได้เรื่อย ๆ

 

 

ถอดความ การที่ไม่ยศถาบรรดาศักดิ์ จะไปเถียงกับใครก็เถียงได้ยาก เพราะไม่มีใครเชื่อ พูดไปไม่มีใครฟัง และนอกจากนี้ยังมีสำนวนไทย ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย หมายถึง คนในบ้านเป็นใจช่วยให้คนนอกบ้านเข้ามาทำความเสียหายได้

 

 

ถอดความ เสาหินใหญ่ เมื่อถูกผลักเข้าบ่อย ๆ ก็อาจทำให้สั่นคลอนได้ เปรียบเหมือนใจคนที่ถ้าหากฟังคำยุมาก ๆ เข้าก็อาจทำให้ใจหวั่นไหว จึงควรฟังหูไว้หู ไม่เชื่อใครง่าย ๆ

 

 

ถอดความ การจะสร้างอะไรก็ตาม ไม่ควรสร้างให้สูงเกินกว่ากว่าที่ฐานจะรับน้ำหนักไหว มิเช่นนั้นอาจจะทำให้สิ่งที่สร้างมาล้มลง และยังสอนให้รู้จักศึกษาหาความรู้แต่ให้เก็บความรู้นั้นไว้ใช้เมื่อเกิดปัญหา ไม่เอาความรู้ไปโอ้อวด

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ หลังจากที่ได้เรียนรู้ความเป็นมาและตัวบทในเรื่องอิศรญาณภาษิต กันไปแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้แม้แรกเริ่มจะมีจุดประสงค์มาจากการแต่งเพื่อประชดประชันและเสียดสีสังคม แต่ก็ถือว่าเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง เพราะได้สอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้มากมาย โดยน้อง ๆ สามารถไปฟังคำอธิบายของตัวบทเด่น ๆ ในเรื่องเพิ่มเติมได้ในคลิปการสอนของครูอุ้มนะคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมติดตามบทเรียนต่อไปเพื่อศึกษาคุณค่าในวรรณคดีเรื่องนี้กันนะคะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรนจ์ของความสัมพันธ์

เรนจ์ของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหลัง เช่น = {(2, 2), (3, 5), (8, 10)} จะได้ว่า  = {2, 5,

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ที่มาของวรรณคดีเชิงสารคดี

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นวรรณคดีที่สำคัญในฐานะสารคดี เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปหาคำตอบของวรรณคดีเรื่องดังกล่าวว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ใครเป็นผู้แต่ง พร้อมเรียนรู้ความหมายของกาพย์ห่อโคลงและเนื้อเรื่องโดยสรุปของเรื่องด้วย ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง     กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงเป็นบทชมธรรมชาติที่แต่งเพื่อความเพลิดเพลินระหว่างการเดินทางของกระบวนเสด็จทางสถลมารคจากท่าเจ้าสนุกถึงธารทองแดง ซึ่งธารทองแดงในที่นี้ เป็นชื่อลำน้ำที่เขาพระพุทธบาท ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของพระตำหนักธารเกษมที่มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นเมื่อครั้งตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการพระพุทธบาท ที่จังหวัดสระบุรี   ประวัติเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร   เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในเรื่อง

จากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนากันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้เราจะยังอยู่กับอิเหนากันนะคะ เพราะนอกจากที่มาและเรื่องย่อแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นให้น่าสนใจและน่าศึกษาเช่นกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง   บทที่ 1    ถอดความ เป็นตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้ราชทูตนำสาส์นไปมอบให้ท้าวดาหาเพื่อสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ โดยบทนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ท้าวกะหมังกุหนิงเขียนถึงท้าวดาหา โดยเปรียบว่าตนเป็นเหมือนรองเท้าที่จะอยู่เคียงกับท้าวดาหา ดังนั้นจึงจะขอสู่ขอพระธิดาให้กับวิหยาสะกำ  

การบวกและการลบเอกนาม

การบวกและการลบเอกนาม บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จักเอกนามและเข้าใจวิธีการบวกลบเอกนามได้อย่างง่ายดาย ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างการบวกและการลบเอกนามมานำเสนออกในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เอกนาม เอกนาม คือ นิพจน์ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปการคูณของค่าคงตัวกับตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป โดยเลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก ค่าคงตัว คือ ตัวเลข ตัวแปร คือ สัญลักษณ์ของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ มักเขียนอยู่ในรูปสัญลักษณ์ x, y เอกนาม ประกอบด้วย 2

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1