แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้จะเป็นการ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งอสมการ เป็นประโยคที่แสดงถึงการไม่เท่ากัน โดยมีวิธีการหาคำตอบคล้ายๆกับสมการ น้องๆสามารถศึกษาบทความเรื่องโจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อศึกษาวิธีการแก้สมการและนำมาประยุกต์ใช้กับการแก้อสมการเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว⇐⇐

แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

       อสมการ (inequality) เป็นประโยคที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์  <, >, ≤, ≥ หรือ   แสดงความสัมพันธ์ 

       อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว (linear inequality with one variable)  เป็นอสมการที่มีตัวแปรเพียงตัวแปรเดียวและตัวแปรนั้นมีเลขชี้กำลังหนึ่ง

<   แทนความสัมพันธ์น้อยกว่า หรือไม่ถึง

>   แทนความสัมพันธ์มากกว่า หรือเกิน

≤   แทนความสัมพันธ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ

 แทนความสัมพันธ์มากกว่าหรือเท่ากับ

≠  แทนความสัมพันธ์ไม่เท่ากับ หรือ ไม่เท่ากัน

เช่น

    • 5  >  2   อ่านว่า  5  มากกว่า  2
    • x  <  4   อ่านว่า  x น้อยกว่า  4
    • x + 3 12  อ่านว่า x + 3 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 หมายถึง  x + 3 < 12  หรือ  x + 3  =  12  อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า x + 3  ไม่เกิน  12 
    • 8 – y 17  อ่านว่า  8 – y  มากกว่าหรือเท่ากับ 17  หมายถึง  8 – y > 17 หรือ   8 – y   =  17  อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า  8 – y  ไม่น้อยกว่า 17
    • x + 5 9  อ่านว่า   x + 5  ไม่เท่ากับ 9

ตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 1  จงเติมเครื่องหมาย  ü หน้าข้อประโยคที่เป็นอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และเครื่องหมาย û หน้าข้อประโยคที่ไม่เป็นอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดยว

          …….û…… 1)    4x + 4 = 8                    ……..ü……. 6)    7 + 2B < 20

          …….ü…… 2)   3(x – 1) 12                 ………û…… 7)    y2 = 25

          …….ü…… 3)    5x + 2 x – 5              ……..û……. 8)    y2 – 2 22

          …….ü…… 4)    –2x  + 3 > 25               ……..û……. 9)    x – 3 = 17

          ……..û….. 5)    4 – x  = – (x – 4)           …….ü…… 10)    x ÷ 8 < 16

ตัวอย่างที่ 2  จงเขียนประโยคสัญลักษณ์แทนประโยคภาษาในแต่ละข้อต่อไปนี้ (ให้ x แทนจำนวนจำนวนหนึ่ง )

1.  ผลบวกของจำนวนจำนวนหนึ่งกับสองมากกว่ายี่สิบ

     เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้   x + 2 > 20

2.  สองเท่าของจำนวนจำนวนหนึ่งน้อยกว่าหรือเท่ากับสี่สิบ

     เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้   2x 40

3.  ผลบวกของจำนวนจำนวนหนึ่งกับสิบห้าน้อยกว่ายี่สิบเจ็ด

     เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้   x + 15 < 27

4.  เศษสี่ส่วนเจ็ดของ x มีค่าไม่น้อยกว่า 10

     เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้   \frac{4}{7}≥  10

5.  สามเท่าของจำนวนจำนวนหนึ่งมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับสิบ

     เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้  3x 10

6.  สี่เท่าของจำนวนๆหนึ่งบวกด้วย 9 มีค่าไม่เท่ากับ 20

     เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้  4x + 9  20

คลิปวิดีโอ อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ประโยคในภาษาไทย

ทริคสังเกต ประโยคในภาษาไทย รู้ไว้ไม่สับสน

  น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยสับสนและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประโยคในภาษาไทยกันมาไม่มากก็น้อย ทำไมอยู่ดี ๆ เราถึงไม่เข้าใจประโยคภาษาไทยที่พูดกันอยู่ทุกวันไปได้นะ? แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ กลับไปทบทวนเกี่ยวกับเรื่องประโยคอีกครั้ง พร้อมเรียนรู้เคล็ดลับการสังเกตประโยคง่าย ๆ จะเป็นอย่างไร ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของประโยค   ประโยค เป็นหน่วยทางภาษาที่เกิดจากการนำคำหลาย ๆ คำ หรือกลุ่มคำ มาเรียงต่อกันอย่างเป็นระบบ มีความสัมพันธ์กัน

บวกเศษส่วนและจำนวนคละให้ถูกต้องตามหลักการ

การบวกคือพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ต้องเจอมาตั้งแต่ระดับอนุบาล แต่นั่นคือการบวกจำนวนเต็มโดยหลักการคือการนับรวมกัน แต่การบวกเศษส่วนและจำนวนคละนั้นเราไม่สามารถนับได้เพราะเศษส่วนไม่ใช่จำนวนนับ บทความนี้จึงจะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการบวกเศษส่วนและจำนวนคละ อ่านบทความนี้จบรับรองว่าน้อง ๆจะเข้าใจและสามารถบวกเศษส่วนจำนวนคละได้เหมือนกับที่เราสามารถหาคำตอบของ 1+1 ได้เลยทีเดียว

เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค

​ประโยค คือถ้อยคำต่าง ๆ ที่นำมาเรียงกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ว่าใครกำลังทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าประโยคที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ส่วนประกอบของประโยค   โดยทั่วไปประโยคจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ ภาคประธานและภาคแสดง     ภาคประธาน คือ

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน(Conjunctions)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน(Conjunctions)“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น for, and, or, nor, so, because, since ดังตัวอย่างด้านล่างเลยจ้า ตัวอย่างเช่น เชื่อมนามกับนาม

การเลื่อนขนาน

สำหรับการแปลงทางเรขาคณิตในบทนี้จะกล่าวถึงการแปลงที่จะได้ภาพที่มีรูปร่างเหมือนกันและขนาดเดียวกันกับรูปต้นแบบเสมอ โดยใช้การเลื่อนขนาน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1