การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม

ารบวก-ลบ-คูณ-หารจำนวนเต็ม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลายและอธิบายไว้อย่างละเอียด โดยก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง จำนวนตรงข้าม และ ค่าสัมบูรณ์ เพื่อใช้ในการบวก ลบ จำนวนเต็ม ซึ่งมีวิธีการดังตัวอย่างต่อไปนี้

การบวกจำนวนเต็ม

การบวกจำนวนเต็มบวก โดยใช้ค่าสัมบูรณ์ ให้น้องๆทบทวนการหาค่าสัมบูรณ์ ดังนี้

|-12|=   12

|4|=   4

เนื่องจาก   ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มบวก และ จำนวนเต็มลบ ถอดค่าสมบูรณ์ได้ จำนวนเต็มบวก เสมอ               

การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก          

ตัวอย่างที่ 1   จงหาผลบวกของจำนวนต่อไปนี้

1)   3 + 4

วิธีทำ      3 + 4 = | 3 | + | 4 |

      = 3 + 4

      = 7

ตอบ   7

2)   3 + 9

วิธีทำ      3 + 9  = | 3 | + | 9 |

       = 3 + 9

       = 12

ตอบ  12

        การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก ทำได้โดยการนำค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน  ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวก

การบวกจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ

ตัวอย่างที่ 2   จงหาผลบวกของจำนวนต่อไปนี้  

1)   (-3) + (-4)  

วิธีทำ (-3) + (-4) = -7

ตอบ  -7

2)  (-4) + (-1)

วิธีทำ  (-4) + (-1)  =  -5

ตอบ   -5

          การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ  ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มลบ

การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มลบ 

ตัวอย่างที่ 3  จงหาผลบวกของจำนวนต่อไปนี้

1)   6 + (-4)  

วิธีทำ   6 + (-4) = 2

ตอบ   2

2)   2 + (-6)

วิธีทำ  2 + (-6) = -4

ตอบ   -4

3)   3 + (-2)

วิธีทำ  3 + (-2) = 1

ตอบ   1

4)   7 + (-5)

วิธีทำ  7 + (-5) = 2

ตอบ   2

การบวกจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มบวก 

ตัวอย่างที่ 4  จงหาผลบวกของจำนวนต่อไปนี้

1)   (-2) + 5

วิธีทำ   (-2) + 5 = 3

ตอบ   3

2)  (-5) + 3

วิธีทำ   (-5) + 3 = -2

ตอบ   -2

3)  (-7) + 5

วิธีทำ   (-7) + 5 = -2

ตอบ   -2

4)  (-4) + 10

วิธีทำ   (-4) + 10 = 6

ตอบ   6

          การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ ทำได้โดยการนำจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่าเป็นตัวตั้ง แล้วลบด้วยจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่า ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า

การลบจำนวนเต็ม

การลบจำนวนเต็มคือการบวกด้วยจำนวนตรงข้าม เช่น จำนวนตรงข้ามของ 2 คือ -2 , จำนวนตรงข้ามของ 8 คือ -8

ตัวอย่างที่ 5  จงหาผลลบของจำนวนต่อไปนี้

1)   7 – 12

วิธีทำ   7 – 12  =  7 + (-12)

                      =  -5

ตอบ       -5

2)  (-8) – 2

วิธีทำ    (-8) – 2  =  (-8) + (-2)

                         =  -10    

ตอบ       -10

3)   3 – (-5)

วิธีทำ    3 – (-5)       =  3 + 5

                               =  8

ตอบ       8

4)   (-3) – (-8)

วิธีทำ      (-3) – (-8)   =   (-3) + 8

                                =   5    

ตอบ       5

5)   8 – 5

วิธีทำ    8 – 5  =  8 + (-5)

                     =     3

ตอบ       3

6)   (-9) – 4

วิธีทำ        (-9) – 4   =  (-9) + (-4)

                              =  -13    

ตอบ       -13

7)   6 – (-4)

วิธีทำ    6 – (-4)       =  6 + 4

                               =  10

ตอบ       10

8)   (-8) – (-2)

วิธีทำ        (-8) – (-2)   =   (-8) + 2

                                  =   -6    

ตอบ       -6

9)   (-8) – 4

วิธีทำ   (-8) – 4  =  (-8) + (-4)

                         =  -12

ตอบ      -12

10)   (-9) – (-3)

วิธีทำ   (-9) – (-3)  =  (-9) + 3

                             =  -6

ตอบ      -6

การคูณจำนวนเต็ม

การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก

ตัวอย่างที่ 6  จงหาผลคูณของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   3 x 2  

วิธีทำ        3 x 2  =   | 3 | x | 2 |

                         =   3 x 2

                         =   6

ตอบ     6

2)   4 x 7  

วิธีทำ        4 x 7  =   | 4 | x | 7 |

                         =   4 x 7

                         =   28

ตอบ     28

3)   4 x 10

วิธีทำ       4 x 10  =   | 4 | x | 10 |

                         =   4 x 10

                         =   40

ตอบ     40

4)   6 x 9  

วิธีทำ  6 x 9  =   | 6 | x | 9 |

                         =   6 x 9

                         =   54

ตอบ     54

       การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก  คำตอบที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวกที่มี  ค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น (บวกคูณบวกได้บวก)

การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ

ตัวอย่างที่ 7  จงหาผลคูณของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   (-2)(-5) = 0

วิธีทำ   (-2)(-5)  =   | -2 | x | -5 |

                         =   2 x 5

                         =   10

ตอบ     10

(2)  (-7)(-3) = 0

วิธีทำ       (-7)(-3)   =  | -7 | x | -3 |

                              =   7 x 3

                              =   21

ตอบ     21

       การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ คำตอบที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวกที่มี  ค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น (ลบคูณลบได้บวก)

ตัวอย่างที่ 8  จงหาผลลัพธ์ของจำนวนต่อไปนี้

1)   [(-2)(4)](-9) 

วิธีทำ   [(-2)(4)](-9)  =  (-8) (-9)

                                =   72

ตอบ     72

2)    [ 5(-7)] 6 

วิธีทำ     [ 5(-7)]6   =  (-35) 6

                              =    -210

ตอบ     -210

3)   [ 2(-5)](-4) 

วิธีทำ     [ 2(-5)](-4)  =   (-10) (-4)

                                 =   40

ตอบ     40

4)   9[ (-5)(-4)]  

วิธีทำ   9[(-5)(-4)]   =  9 x 20

                               =   180

ตอบ     180

การหารจำนวนเต็ม

ตัวอย่างที่ 9  จงหาผลหารของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   36 ÷ 6

หาจำนวนเต็มที่คูณกับ 6 แล้วได้ 36

เนื่องจาก 6 x 6 = 36 

ดังนั้นจำนวนที่ต้องการคือ 6

นั่นคือ 36 ÷ 6 = 6

2)   (-54) ÷ (-9)

หาจำนวนเต็มที่คูณกับ -9 แล้วได้ -54

เนื่องจาก (-9) x 6 = -54 

ดังนั้นจำนวนที่ต้องการคือ 6

นั่นคือ (-54) ÷ (-9) = 6

         การหารจำนวนเต็ม เมื่อตัวตั้งและตัวหารเป็นจำนวนเต็มบวกทั้งคู่ หรือจำนวนเต็มลบทั้งคู่ จะได้คำตอบเป็นจำนวนเต็มบวก (ลบหารด้วยลบ หรือ บวกหารด้วยบวก ได้บวกเสมอ)

ตัวอย่างที่ 10  จงหาผลหารของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   72 ÷ (-9)

หาจำนวนเต็มที่คูณกับ -9 แล้วได้ 72

เนื่องจาก (-9) x (-8) = 72 

ดังนั้นจำนวนที่ต้องการคือ -8

นั่นคือ 72 ÷ (-9) = -8

2)   (-36) ÷ 6

หาจำนวนเต็มที่คูณกับ 6 แล้วได้ -36

เนื่องจาก 6 x (-6) = -36 

ดังนั้นจำนวนที่ต้องการคือ -6

นั่นคือ (-36) ÷ 6 = -6

         การหารจำนวนเต็ม เมื่อตัวตั้งและตัวหารตัวใดตัวหนึ่งเป็นจำนวนเต็มลบ โดยที่อีกตัวหนึ่งเป็นจำนวนเต็มบวก จะได้คำตอบเป็นจำนวนเต็มลบ (ลบหารด้วยบวก หรือ บวกหารด้วยลบ ได้ลบเสมอ)

ตัวอย่างที่ 11  จงหาผลหารของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   14 ÷ (-7) = -2    (หาจำนวนที่คูณกับ -7 แล้วได้ 14 คือ -2)

2)   12 ÷ 3 = 4    (หาจำนวนที่คูณกับ 3 แล้วได้ 12 คือ 4)

3)   (-21) ÷ 3 = -7    (หาจำนวนที่คูณกับ 3 แล้วได้ -21 คือ -7)

4)   (-35) ÷ (-5) = 7    (หาจำนวนที่คูณกับ -5 แล้วได้ -35 คือ 7)

5)   40 ÷ 8 = 5    (หาจำนวนที่คูณกับ 8 แล้วได้ 40 คือ 5)

สรุป
  • การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก ได้เป็นจำนวนเต็มบวก
  • การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ ได้เป็นจำนวนเต็มลบ
  • การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ ได้เป็นจำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า    
  • การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก  ได้เป็นจำนวนเต็มบวก (บวกคูณบวกได้บวก)
  • การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ ได้เป็นจำนวนเต็มบวก (ลบคูณลบได้บวก)
  •  การหารจำนวนเต็ม ลบหารด้วยลบ ได้บวก หรือ บวกหารด้วยบวก ได้บวก
  • การหารจำนวนเต็ม ลบหารด้วยบวก ได้ลบ หรือ บวกหารด้วยลบ ได้ลบ

คลิปวิดีโอ การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค รวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง และสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Phrasal verb with2 and 3

Two – and Three-Word Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Two – and Three-Word Phrasal verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ทบทวน Phrasal verbs    Phrasal verb คือ กริยาวลี  มีที่มาคือ เป็นการใช้กริยาร่วมกันกับคำบุพบท แล้วทำให้ภาษาพูดดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น  เรามักไม่ค่อยเจอคำลักษณะนี้ในภาษาอังกฤษที่เป็นทางการ  ซึ่งในบทเรียนนี้เราจะไปดูตัวอย่างการใช้  กริยาวลีที่มี 2

like_dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

การเขียนบรรยายความรู้สึกของตนเอง like/dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การเขียนบรรยายความรู้สึกของตนเอง like/dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go! ถาม-ตอบก่อนเรียน หากมีคนถามว่า What do you like doing? หรือ What do you dislike doing? (คุณชอบหรือไม่ชอบทำอะไร) นักเรียนสามารถแต่งประโยคเพื่อตอบคำถาม

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ในบทความนี้จะกล่าวถึงฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ และฟังก์ชันที่เกิดจากการดำเนินการของค่า cosθ sinθ ซึ่งก็คือ tanθ และ cotθ นอกจากนี้ยังจะกล่าวถึงโคฟังก์ชันของฟังก์ชันตรีโกณมิติอีกด้วย ในบทความนี้สิ่งที่น้องๆต้องรู้ก็คือ วิธีการหาค่า cosθ และ sinθ จตุภาคของพิกัดจุดปลายส่วนโค้ง ซึ่งสามารถอ่านได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ หลังจากที่น้องๆมีพื้นฐาน 2 เรื่องที่กล่าวมาแล้วเราจะเริ่มทำความรู้จักกับฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆกันค่ะ   ฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ศึกษาตัวบทโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

โคลนติดล้อ เป็นบทความแสดงความคิดเห็นของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง การปลุกใจคนไทยให้รักชาติ และมีทั้งฉบับภาษาไทยและฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ แค่นี้ก็น่าสนใจแล้วใช่ไหมคะ แต่ความดีเด่นของหนังสือเล่มนี้ยังมีอีกมาก บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทที่สำคัญและคุณค่าของบทความที่ 4 ในเรื่องโคลนติดล้อตอน ความนิยมเป็นเสมียน พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   บทเด่นใน โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน   บทนี้พูดถึงความนิยมในการเป็นเสมียนของหนุ่มสาวในยุคนั้นที่สนใจงานเสมียนมากกว่าการกลับไปช่วยทำการเกษตรที่บ้านเกิดเพราะเห็นว่าเสียเวลา คิดว่าตัวเองเป็นผู้ได้รับการศึกษาสูง จึงไม่สมควรที่จะไปทำงานที่คนไม่รู้หนังสือก็ทำได้  

เพลงพื้นบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนในอดีตผ่านบทเพลง

ในอดีตประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนมีชีวิตที่สุขสบาย เมื่อมีเวลาว่างก็มักรวมตัวกันในชุมชนเพื่อร้องรำทำเพลง เล่นกันสนุกสนาน หรือในงานเทศกาลต่าง ๆ บทเพลงที่ใช้ร้องเล่นกันนั้นเรียกว่า เพลงพื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บทเรียนในวันนี้เราจะไปพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเพลงพื้นบ้านในแต่ละถิ่นของประเทศไทยกันว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   เพลงพื้นบ้าน   เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีการร้องเล่นที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ นิยามเล่นกันในเทศกาลต่าง ๆ หรืองานที่มาร่วมรื่นเริงกัน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1