Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were” ไปลุยกันโลดเด้อ

 

ทำไมต้องเรียนเรื่อง Did, Was, Were

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_ (2)

Did, Was, Were ใช้ถามคำถามใน Past Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต หรือ
ถามเพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำสิ่งนั้นๆไปแล้ว ดังตัวอย่างด้านล่างต่อไปนี้

ตัวอย่างประโยค Short questions  with Was/Were:

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_ (3)

Was Lisa at the party last night?
ลิซ่าไปงานปาร์ตี้เมื่อคืนนี้หรือเปล่า

Short answer: Yes, she was.
ใช่หล่อนไป

Long answer: Yes, she was at the party last night.
ใช่หล่อนอยู่ที่งานเลี้ยงเมื่อคืนนี้

จากตัวอย่างจะเห็นว่า เราจะใช้ Did เมื่อประโยคเดิมเป็น Past Simple Tense จากนั้นสลับที่แล้ว กริยาจะเปลี่ยนเป็น กริยาช่องที่ 1 ไม่ผันหรือเราเรียกว่า Verb infinitive เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเราผันกริยาที่ Did ไปแล้ว ซึ่งผันกริยาหลักในประโยคได้แค่ตัวเดียวและครั้งเดียวนั่นเองค่า

 Did you see John during the weekend?

คุณเห็นจอห์นช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์หรือเปล่า

Short answer: No, I didn’t.
ไม่นะ ไม่เลย

Long answer: No, I didn’t see John during the weekend.
ไม่ ฉันไม่เห็นจอห์นในช่วงสุดสัปดาห์เลย

 

 

  • ถามโดยใช้ Can

 

Can they speak English?
พวกเขาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้หรือไม่?

Short answer:  Yes, they can.
ใช่พวกเราทำได้

Long answer: Yes, they can speak English.
ใช่ พวกเขาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้

 

การใช้ Did ในประโยคบอกเล่า

 

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_ (4)

 

หลักการใช้ Did ใน Past Tense
โครงสร้าง: S+ did +…

did ในประโยคบอกเล่าแปลว่า ทำ

 

I did my homework yesterday.
ฉันทำการบ้านเมื่อวานนี้

 

Tom did his laundry this morning.
ทอมซักผ้าของเขาเมื่อเช้านี้

 

Jane did the laundry last week.
เจนซักผ้าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

 

My aunt did cleaning her clothes.
ป้าของฉันทำความสะอาดเสื้อผ้าของเธอ

  • การใช้ Did ในประโยคปฏิเสธม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_ (5)

did ในประโยคปฏิเสธ และประโยคคำถาม เป็นกริยาช่วย ดังนั้นไม่ต้องแปลว่าทำ

มี did ที่เป็นกริยาช่องที่ 2 ***เป็นกริยาช่วยแล้ว กริยาแท้ต้องเป็นช่อง 1 เสมอนะจ้ะ

 

***รูปย่อของ did not คือ didn’t

 

I didn’t do my laundry.
ฉันไม่ได้ซักผ้า

 

My dad didn’t come home last week.
อาทิตย์ที่แล้วพ่อไม่กลับบ้าน

 

Timothy did not go swimming yesterday.
ทิโมธีไม่ได้ไปว่ายน้ำเมื่อวานนี้

 

They didn’t call me last night.

เมื่อคืนพวกเขาไม่โทรหาฉัน

 

การใช้ Did ในประโยคคำถาม

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_ (8)

Did Jane go shopping last Tuesday?
เจนไปช้อปปิ้งเมื่อวันอังคารที่แล้วหรือเปล่า

 

Did Tom go to the movie with you yesterday?
ทอมไปดูหนังกับคุณเมื่อวานนี้หรือเปล่า

การใช้ Was / Were ในประโยคคำถามสั้นๆ

 

ตัวอย่างประโยค Short Answer
(Affirmative)
ใช่
Short Answer
(Negative)
ไม่
Was I too fast?
ฉันเร็วเกินไปหรือเปล่า
Yes, you were.

 

No, you weren’t.

 

Were you really busy yesterday?
เมื่อวานคุณยุ่งมากไหม
Yes, I was. No, I wasn’t.
Were you both proud?
คุณทั้งคู่ภูมิใจไหม
Yes, we were. No, we weren’t.
Were they hungry?
พวกเขาหิวไหม
Yes, they were. No, they weren’t.
Was she late again?
เธอมาสายอีกแล้วเหรอ
Yes, she was. No, she wasn’t.
Was she a good student?
เธอเป็นนักเรียนที่ดีหรือเปล่า
Yes, she was. No, she wasn’t.
Were they ready to go?

พวกเขาพร้อมที่จะไปหรือยัง

Yes, they were. No, they weren’t.

 

การใช้ “Did” ใน Short Answer Questions

 

ตัวอย่างประโยค Short Answer
(Affirmative)
Short Answer
(Negative)
Did I fail the test?
ฉันสอบตกหรือไม่
Yes, you did. No, you didn’t.
Did you need a vacation?

คุณต้องการวันหยุดพักผ่อนหรือไม่

Yes, I did. No, I didn’t.
Did you both like cooking?

คุณทั้งคู่ชอบทำอาหารไหม

Yes, we did. No, we didn’t.
Did they finish their work?

พวกเขาทำงานเสร็จหรือยัง

Yes, they did. No, they didn’t.
Did she have a good time?

เธอมีช่วงเวลาที่ดีหรือไม่

Yes, she did. No, she didn’t.
Did she want to leave early?

เธอต้องการที่จะออกไปก่อน

Yes, she did. No, she didn’t.
Did it have blue buttons?

มันมีปุ่มสีน้ำเงินหรือไม่

Yes, it did. No, it didn’t.

 

โครงสร้าง ของ Was / Were


ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_ (9)

 

  • ประธาน I / He / She / It / A cat ใช้กับ กริยา was
  • ประธาน You / We / They / Cats ใช้กับกริยา were

 

Affirmative sentences Questions
I was late.
ฉันมาสาย
Was I late?
ฉันมาสายหรือเปล่า
You were sick yesterday.
เมื่อวานคุณป่วย
Were you sick yesterday?
เมื่อวานคุณป่วยหรือเปล่า
She was surprised.
เธอรู้สึกประหลาดใจ
Was she surprised?
เธอแปลกใจไหม
She was from Italy originally.
เดิมทีเธอมาจากอิตาลี
Was she from Italy?
เธอมาจากอิตาลีหรือเปล่า
It was a nightmare.
มันเป็นฝันร้าย
Was it a nightmare?
มันเป็นฝันร้ายหรือเปล่า
We were ready.
เราก็พร้อม
Were we ready?
เราพร้อมไหม
You were early.
คุณมาก่อน
Were you early?
คุณมาเร็วไหม
They were busy.

พวกเขายุ่ง

Were they busy?
พวกเขายุ่งหรือเปล่า

 เนื่องจากว่า was / were เป็นช่องที่ 2 ของ is / am / are ดังนั้นหลักการใช้ก็จะเหมือนกันทุกประการ ต่างกันแค่ใช้เล่าเรื่องราวในอดีต แค่นั้นเองจ้า 

ข้อควรรู้:

 

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did WasWere

 

เราจะไม่ย่อ รูปของ V. to be ในประโยคบอกเล่านะคะ อย่าลืมน๊า ตัวอย่างเช่น

Question: Did you hate him that much?

ผิด: Yes, I’m. 
ถูก: Yes, I did. ใช่แล้ว (ถาม Did ตอบ did นะคะ)

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ครูหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทเรียนเรื่อง “Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were” จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ อย่าลืมทบทวนบทเรียนปังๆ ได้ที่ด้านล่างนี้นะคะ 

Take care! ไปเรียนให้สนุกและได้ความรู้กันจ้า คลิกที่ปุ่มเพลย์เลยน๊า ดูแลสุขภาพด้วยเด้อ เลิฟๆ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า ความเป็นมาของวรรณคดีที่แปลจากภาษาอังกฤษ

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า เป็นวรรณคดีที่ไทยที่ถูกแปลมาจากภาษาอังกฤษ น้อง ๆ คงจะสงสัยกันใช่ไหมคะว่าทำไมเราถึงได้เรียนวรรณคดีที่ถูกแปลจากภาษาอื่นด้วย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักวรรณคดีที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่งว่ามีที่มาและเรื่องย่ออย่างไร ใครเป็นผู้แต่งในฉบับภาษาไทย ถ้าพร้อมที่จะเรียนรู้แล้วก็ไปดูกันเลยค่ะ   ความเป็นมา กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า     วรรณคดีเรื่องกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า วรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาจากกวีนิพนธ์อังกฤษชื่อ Elegy Written in a country churchyard ของ ธอร์มัส

สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐ เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม

NokAcademy_Definite & Indefinite Articles M1

Definite & Indefinite Articles

  Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูได้สรุปเรื่อง  Articles: a/an/the พร้อมเทคนิคการนำไปใช้ มาฝากกันค่ะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย   Articles คืออะไร   Articles เป็นคำคุณศัพท์อย่างหนึ่ง การเรียน เรื่อง Articles นี้ที่มีหน้าที่หลักคือ ใช้นำหน้าคำนาม เราต้องทำความเข้าใจควบคู่ไปกับเรื่องนามนับได้ ( Countable

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ เรียนรู้บทร้อยกรองจากพุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต หมายถึงถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน และมีความหมายเป็นคติสอนใจ บางสุภาษิตพูดนำมาแต่งเป็นบทร้อยกรองเพื่อใช้เป็นบทอาขยานให้กับเด็ก ๆ ได้เรียน ได้ฝึกอ่าน รวมไปถึงให้เรียนรู้ข้อคิดจากสุภาษิตได้ง่ายมากขึ้น บทที่เราจะได้เรียนกันในวันนี้คือ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมา ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ     ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญเป็นบทร้อยกรองที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยพระยาอุปกิตศิลปสาร แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท และกาพย์ยานี 11

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม การแยกตัวประกอบพหุนาม เป็นการแยกตัวประกอบของสมการเพื่อให้ง่ายต่อการหาคำตอบของสมการที่จะต้องเรียนในเนื้อหาถัดไป ในบทความนี้จะพูดถึงพหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว พหุนามดีกรี 2 คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุด คือ 2 พหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุดคือ 2 และ มีตัวแปร 1 ตัว เขียนอยู่ในรูป ax² +

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ประพันธ์ โดยมุ่งหวังให้ละครเป็นตัวช่วยกล่อมเกลาจิตใจประชาชน แต่นอกจากตัวบทจะมีความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างมากแล้ว ยังแฝงแนวคิดมากมายไว้ในเรื่อง จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้เรื่องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก     ตัวบทที่ 1    พระยาภักดี : ใครวะ อ้ายคำ : อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1