การแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ

Suggesting Profile

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิค การแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า

การแสดงความต้องการ

 

สำเนาของ รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence

 

Question: สงสัยมั้ยว่า need/want /would like to have สามคำนี้ต่างกันยังไง?

ตัวอย่างการใช้ need VS want  ในประโยคบอกเล่า เช่น

I need some sugar. ฉันอยากได้น้ำตาล
***ค่อนข้างเป็นภาษาระดับกันเองมากๆ

I want some sugar. ฉันต้องการน้ำตาล
****เป็นภาษาระดับกลาง ใช้กับคนสนิทหรือ บุคคลทั่วไป

หากต้องการถามขอน้ำตาลก็สามารถพูดได้ว่า

Can I have some sugar please?
ขอน้ำตาลหน่อยค่ะ/ครับ

***ในกรณีที่ต้องใช้ประโยคคำถามแบบสุภาพมากๆ ซึ่ง มักจะเจอในบริบทที่ เป็นทางการ หรือ สถานการณ์ที่เราไม่คุ้นเคย ซื้อของกับพนักงาน บทสนทนาในร้านอาหาร จะใช้ โครงสร้าง “I would like to have + สิ่งที่ต้องการ ..เช่น

มารู้จักกับประโยคคำสั่ง (2)

Situation: At the restaurant. ณ ร้านอาหาร

James: I would like to have some water please!
แปลว่า ขอน้ำด้วยนะคะ/ครับ
***จะสังเกตได้ว่าเป็นภาษาพูดที่สุภาพมากๆเลยจร้า

Waitress: Here you are sir.
แปลว่า นี่ค่ะน้ำ คุณผู้ชาย

 

ประโยคเสนอแนะที่เจอบ่อย

 

ประโยคแนะนำ

คำศัพท์น่าสนใจ

Advice (Noun): คำแนะนำ
Advise (Verb): แนะนำ

ประโยคแนะนำ

ประโยคคำแนะนำ ส่วนใหญ่แล้วจะเจอในรูปแบบของประโยคบอกเล่า ซึ่งจะมีความหมายในทางเสนอแนะ มากกว่า บางครั้งก็เป็นการให้ความคิดเห็นและแนะว่าควรทำหรือไม่ควรทำสิ่งใด สิ่งหนึ่งถือเป็นการเสนอแนะโดยตรงมีโครงสร้างดังนี้

 Subject + suggest/advise/propose + (that) +…..

 ตัวอย่าง

I suggest (that) you should take a bus to school.

ฉันขอเสนอแนะว่า เธอควรขึ้นรถบัสไปโรงเรียน

 

I advise  (that) we should go jogging everyday.
ฉันแนะนำว่า เราควรไปวิ่งทุกวัน

 

I propose (that) we should not miss the flight.
ฉันขอเสนอว่า ว่าเราไม่ควรตกเที่ยวบิน

 

I advise (that) you should water your plants every day.
ฉันแนะนำให้คุณรดน้ำต้นไม้ทุกวัน

I advise (that) you should take a medicine everyday.
ฉันแนะนำให้คุณทานยาทุกวัน

การเสนอแนะชักชวนทางอ้อม (Indirect Suggestions)

 

ประโยคคำถามที่ใช้บ่อยในการชักชวน

ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้

  • ถามแบบรูปประโยค Yes/No Question :

Shall we…………?

เรา………กันดีมั้ย

  • ถามแบบรูปประโยค Wh- Questions :

Why don’t we………..?

เรา .. … กันมั้ย

How about……….?

…………….ดีมั้ย

  • ถามแบบรูปประโยค  Indirect Questions :

I wonder if we
ฉันไม่ทราบว่า
เรา………….มั้ย

ตัวอย่าง:

Shall we read books at the library?

เราไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดกันเถอะ

Why don’t we walk to school?

ทำไมเราไม่เดินไปโรงเรียนกันนะ (หรือ เดินไปโรงเรียนกันดีกว่า)

How about playing a football after school?

เย็นนี้ เล่นฟุตบอลกันเถอะ

I wondered if we should sit with them?

ฉันว่าเราควรไปนั่งกับพวกเขากันเถอะ

Shall we book a movie ticket?

เราจองตั๋วหนังกันดีมั้ย

Shall we go to the wedding?
เราควรไปงานแต่งกันมั้ย

I wondered if we can wear a mask during Covid-19 everyday?
ฉันว่าเราควรใส่หน้ากากทุกวันในช่วงโควิดนี้

How about eating out today?
วันนี้ไปกินข้าวนอกบ้านกันดีกว่า

 

 

รูปแบบและโครงสร้างประโยค Imperative sentence ที่ควรรู้

 

Suggesting Profile

 

  • Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1) ขึ้นต้นประโยคแล้วตามด้วยสิ่งที่จะสั่งให้ทำ หรืออาจใช้ Verb แค่คำเดียวก็ได้ เช่น

Help! ช่วยด้วย
Help me pelase! กรุณาช่วยด้วย
Help me please anyone! ใครก็ได้ช่วยที

Move out! แปลว่า ออกไป
Move on. แปลว่า เดินหน้าต่อไปได้แล้วนะ
Stay strong. แปลว่า เข้มแข็งหน่อยสิ
Go for it. แปลว่า ลุยเลย
Stay focus. แปลว่า มีสมาธิหน่อยสิ
Listen up! แปลว่า ตั้งใจฟัง
Quiet please! แปลว่า กรุณาเงียบๆด้วย
Hans up! แปลว่า ยกมือขึ้น

อธิบายเพิ่มเติม: ถ้าต้องการให้ประโยค Imperative สุภาพยิ่งขึ้น ควรเติม ‘do’ ไว้ข้างหน้า ตัวอย่างเช่น

 Do study hard. แปล ต้องขยันเรียนนะ

 Do come. แปล ต้องมานะ

 Do go to school.  แปล ต้องไปโรงเรียนนะ
Do have breakfast every morning. แปล ต้องทานอาหารเช้าทุกๆ เช้านะ
Do miss me sometimes! แปล คิดถึงฉันด้วยนะ

 

  • ใช้ Verb ‘be’ ขึ้นต้นประโยค เช่น
    ในเชิงขอร้อง

Be helpful! 
แปลว่า ทำตัวให้เป็นประโยชน์ด้วย

Be a good boy.
แปลว่า จงเป็นเด็กดี

Be a good role model.
แปลว่า จงเป็นตัวอย่างที่ดี

Be proud of yourself.
แปลว่า จงภูมิใจในตัวเอง

Be brave.
แปลว่า จงกล้าหาญ

Be kind.
แปลว่า จงมีเมตตา
Be humble.
แปลว่า จงถ่อมตัว
Be eager to learn.
แปลว่า จงกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้

 

Imperative sentence ในรูปแบบประโยคปฏิเสธ หากต้องการทำให้เป็นรูปแบบประโยคปฏิเสธ เพียงแค่วาง do not (don’t) หน้าคำกริยา จะได้โครงสร้าง Don’t + V. infinitive เช่น

Imperative Sentence

Don’t eat late.
= อย่าทานข้าวสาย

 

Don’t copy a homework.
= อย่าลอกงานเพื่อน

Don’t go alone during a night time.
= อย่าไปคนเดียวตอนดึกๆ

 

  • Imperative sentence ที่ขึ้นต้นด้วยกริยา ‘be’ ก็เช่นเดียวกัน เพียงวาง don’t หน้ากริยา be เช่น

Don’t be silly.
= อย่างี่เง่า

Don’t be noisy here.
= อย่าเสียงดังที่นี่

Don’t be grumpy.
= อย่าวีน (อย่าอารมณ์เสียเลย)

 

 

 

ประโยคและวลีเพื่อการตอบรับ (Accepting)

 

การตอบรับ (Accepting)

Yes!
ได้เลย

Of course.
แน่นอน

That’s a good/ great idea/ What a good idea.
เป็นความคิดที่ดีมากๆ

That’s interesting.
น่าสนใจดี

Yes/ Of course/ Certainly/Absolutely/ Surely
ไปแน่นอน

 ประโยคและวลีเพื่อการตอบปฏิเสธ (Refusing):

 

การตอบปฏิเสธ (Refusing)

Sorry, I can’t go.
ขอโทษด้วยนะ ฉันไปไม่ได้

Sorry! I’m in a hurry!
ขอโทษนะ ฉัน/ผมรีบอยู่

Sorry, I already had a plan.
ขอโทษนะพอดีว่ามีแผนแล้ว

I’m afraid I won’t be able to go.
ดิฉันเกรงว่าคงจะไปไม่ได้นะคะ

Sorry, I’d love to but I already had an appointment.
ขอโทษที
ฉันก็อยากไปนะ แต่บังเอิญว่าดันฉันมีนัดแล้วอะ

 I really don’t think I can go, and I must say sorry.
ฉันคิดว่าฉันคงจะไปไม่ได้จริงๆค่ะ
ต้องขอโทษนะคะ

 

รูหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนที่น่ารักทุกคนจะได้รับประโยชน์และความรู้จากการอ่านบทความนี้นะคะ ขอให้สนุกและมีความสุขกับการเรียนนะคะทุกคน

 

อย่าลืมทบทวนบทเรียนกับวีดีโอด้านล่าง นะคะ คลิกตรงปุ่มเพลย์ แล้วไปเรียนให้ได้สนุกสร้างเสริมองค์ความรู้ภาษาอังกฤษแบบปังๆกันจร้า
เลิฟๆ Take care guys!

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ตัวอย่างโจทย์ปัญหาสัดส่วน

บทความนี้เราจะได้เรียนรู้วิธีการในการหาค่าตัวแปรในการใช้สัดส่วน สามารถมารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้โจทย์ปัญหาในชีวิตจริงได้ พิจารณาสิ่งที่ต้องการแสดงการเปรียบเทียบโดยการเขียนเป็นอัตราส่วนสองอัตราส่วนอย่างเป็นลำดับและหาค่าของตัวแปรได้

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

เสียงพยัญชนะ

การออกเสียงพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะท้ายคำที่ออกเสียงยากในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม.​ 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การออกเสียงพยัญชนะต่างๆ ที่ขึ้นชื่อว่าออกเสียง “ยาก” ในภาษาอังกฤษ จะมีตัวอะไรกันบ้างนั้นเราไปดูกันเลยครับ

NokAcademy_ ม4 Passive Modals (2)

Passive Modals คืออะไร

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals“ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยเด้อ ทบทวนสักหน่อย   ก่อนอื่นเราจะต้องทบทวนเรื่อง Modal verbs หรือ Modal Auxiliaries กันก่อนจร้า แล้วจากนั้นเราจะไปลงลึกเรื่อง Passive voice หรือโครงสร้างประธานถูกกระทำที่คุ้นหูกันหากใครที่ลืมแล้วก็ไม่เป็นไรน๊า มาเริ่มใหม่ทั้งหมดกันเลยจร้า กลุ่มของ

พระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดี

พระบรมราโชวาท เป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ ว่ามีใจความอย่างไร รวมถึงศึกษาคุณค่าที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในพระบรมราโชวาท   ถอดความ ความตอนนี้กล่าวถึงพระประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ไม่ต้องการให้พระโอรสใช้คำนำหน้าเป็นเจ้า แต่ให้ใช้คำนำหน้าเป็นนายหรืออาจให้ใช้คำลงท้ายแบบขุนนางชั้นสูงได้เท่านั้น เพราะเมื่อประกาศให้คนรู้ว่าเป็นใครสิ่งที่จะตามมาก็คือการต้องรักษายศไว้

เรียนรู้ความเหมือนที่แตกต่างของคำพ้อง

  น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยเห็นฝาแฝดกันมาบ้างใช่ไหมคะ แล้วรู้หรือเปล่าคะว่าในภาษาไทยเรานั้นก็มีฝาแฝดเหมือนกัน แต่ฝาแฝดนั้นถูกเรียกว่า คำพ้อง นั่นเองค่ะ หลายคำในภาษาไทยมีจุดที่เหมือนกันแต่ก็มีส่วนที่ต่างกันออกไปด้วย เพื่อไม่ให้สับสนว่าคำไหนคือคำไหน อ่านอย่างไร หมายความว่าอะไรกันแน่ วันนี้เราไปเรียนรู้เรื่องคำพ้องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำพ้อง   ความหมายของคำพ้อง     ประเภทของคำพ้อง     คำพ้องเสียง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1