รอบรู้เรื่องคำไทย คำศัพท์คำไหนภาษาไทยยืมมาจากต่างประเทศ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยสนุก ๆ พร้อมสาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันก็เช่นเคยเราจะมาเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะภาษาไทยที่เราใช้กันในปัจจุบันก็มีที่มาจากการยืมคำจากภาษาต่างประเทศมา และไม่ได้มีการยืมแค่ในภาษาบาลีหรือสันสกฤษเท่านั้น แต่ยัลมีภาษาอื่น ๆ อีก เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนมาทำความรู้จักกับคำจากภาษาต่างประเทศที่เราใช่ในภาษาไทยกันให้ลึกขึ้นอีกระดับหนึ่ง ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเริ่มเรียนกันได้เลย

 

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

 

สาเหตุการยืมของภาษาไทย

มาเริ่มกันที่จุดเริ่มต้น หรือสาเหตุที่ทำไมคนไทยจึงต้องหยิบยืมคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจบริบทของประเทศไทยในอดีตที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ เพื่อการค้าขาย และแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม คนไทยจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาที่หลากหลายเพื่อใช้ในการสร้างสัมพันธไมตรีกับประเทศทั้งที่มีพื้นที่ติดต่อกับเรา หรือประเทศที่เราต้องการจะทำการค้าด้วยเป็นการติดต่อสัมพันธ์ทางการฑูต นอกจากนี้ก็ยังมีความสัมพันธ์ในด้านศาสนา สังคม ภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรมซึ่งเกิดขึ้นจากการเผยแพร่ของชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย หรือการส่งคนไทยออกไปศึกษายังต่างประเทศแล้วกลับมาเผยแพร่ให้คนไทยด้วยกันเอง ด้วยเหตุนี้ทำให้คำจากภาษาต่างประเทศเริ่มขยายตัวเข้ามา และมีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทยของคนไทยมากขึ้นด้วย โดยภาษาต่างประเทศที่เราจะพบเห็นได้บ่อย ๆ คือ ภาษาอังกฤษ เขมร จีน ชวา มลายู เวียดนาม ญี่ปุ่น เปอร์เซีย โปรตุเกส ฝรั่งเศส พม่า มอญ บาลี และสันสกฤต

 

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

 

อิทธิพลจากการยืมคำภาษาต่างประเทศ

ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเริ่มขยับขยายเข้ามาปะปนกับภาษาไทยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านของคำศพท์ที่มีการขยายกว้างขึ้น ทำให้เกิดคำไวพจน์ หรือคำที่มีความหมายเหมือนกันกับคำของไทยบางคำ แต่รูปคำนั้นอาจนำมาจากภาษาอื่น และทำให้คนไทยเริ่มมีวัฒนธรรมการใช้คำทับศัพท์ หรือคำศัพท์ใหม่ ๆ มากขึ้นด้วย ซึ่งเพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจมากขึ้นเดี๋ยววันนี้เราจะพาทุกคนมาดูว่าในภาษาไทยมีคำอะไรบ้างที่มาจากภาษาต่างประเทศ

 

ตัวอย่างคำจากภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย

หลังจากที่เราได้เรียนเกี่ยวกับความเป็นมา หรือว่าอิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีผลต่อคำศัพท์ในภาษาไทยแล้ว เร่จะมาดูตัวอย่างคำจากภาษาต่างประเทศที่ภาษาไทยเรานำมาใช้จนแทบจะไม่มีใครสังเกตเลยว่าคำนี้เป็นคำที่มาจากภาษาอื่น มาดูกันว่ามีคำที่มาจากภาษาอะไรบ้าง

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ

สำหรับภาษาอังกฤษถือว่าเป็นอีกภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาก ๆ โดยส่วนใหญ่คนไทยจะใช้คำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษจนแทบจะหาคำไทยมาทดแทนไม่ได้ อย่างการเรียกเครื่องใช้ หรือสิ่งของที่นำเข้ามา หรือเป็นนวัตกรรมจากต่างประเทศ อาทิ คอมพิวเตอร์ รีโมต สวิตซ์ รวมถึงชื่ออาหาร กีฬา หรือวัฒนธรรม การใช้ชีวิตบางอย่างที่คนไทยได้รับมาอีกที และจะใช้ลักษณะของการถ่ายโอนเสียงในภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับเสียงในภาษาไทย

ตัวอย่างคำภาษาจีน

ภาษาจีนเริ่มเข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยนับตั้งแต่ที่บ้านเมืองเราเริ่มทำการค้าขายกับจีน เรารับวัฒนธรรมการกินอยู่ ข้าวของเครื่องใช้ของประเทศจีนมาค่อนข้างมาก คำภาษาจีนบางคำจึงได้รับการบัญญัติในพจนานุกรมของไทยให้เราได้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน โดยคำในภาษาจีนนั้นมักมีเสียงวรรณยุกต์ตรี หรือจัตวา หรือมักจะเป็นคำที่มีสระประสมอย่างสระเอียะ อัวะ แต่บางคำที่คนไทยนำมาใช้จนกลมกลืนไปกับเสียงในภาษาไทยก็อาจจะทำให้การออกเสียงเปลี่ยนจากในภาษาจีนไปบ้าง เช่น ลิ้นจี่ ที่มาจากคำว่า ลีจี ในภาษาจีน หรือคำว่า กงสี ที่มาจากคำว่า กงซี ในภาษาจีน

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

ตัวอย่างคำภาษาญี่ปุ่น

ในส่วนของคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเรามักจะได้รับอิทธิพลเข้ามาจากวัฒนธรรมการกินอย่างชื่อของอาหาร หรือวัตถุดิบบางอย่าง เช่น ซุชิ สุกี้ ชาบู รวมไปถึงชื่อกีฬาบางประเภท เช่น ซูโม่ ยูโด คาราเต้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคำที่ไม่มีตัวสะกด

ตัวอย่างคำภาษาเขมร

ภาษาไทยได้รับอิทธิพลจากภาษาเขมรค่อนข้างมากส่วนใหญ่เราจะพบภาษาเขมรในคำราชาศัพท์ หรือคำไวพจน์ของไทย ซึ่งภาษาเขมรจะมีลักษณะพิเศษสามารถแผลงคำได้ เช่น ตรวจ แผลงเป็นตำรวจ เกิด แผลงเป็น กำเนิด เดิน แผลงเป็น ดำเนิน หรือชาญ แผลงเป็น ชำนาญ เป็นต้น

บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ ทุกคน หลังจากที่ได้เรียนรู้คำจากภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของเราแล้ว ได้สาระความรู้เพิ่มขึ้นหรือเปล่า ต้องบอกว่าการศึกษาคำยืมจากภาษาต่างประเทศนั้นจะช่วยให้น้อง ๆ ได้เห็นทั้งการเปลี่ยนแปลงของภาษา และสามารถใช้คำจากภาษาเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจมากขึ้นด้วย ซึ่งถ้าหากน้อง ๆ อยากจะทบทวน หรือศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูครูอุ้มสอนได้ที่คลิปด้านล่างนี้เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศึกษาตัวบทในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเค้าจากเรื่องจริงในสมัยอยุธยา จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ในตอน ขุนข้างถวายฎีกา เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีที่สุด จากที่เราได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่อยู่ในเรื่องนี้เพื่อถอดความกันค่ะ รวมไปถึงคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจ   ตัวบทที่ 1     ถอดความ มาจากตอนที่จมื่นไวยบุกมาหานางวันทองผู้เป็นแม่ที่เรือนขุนช้างแล้วพยายามจะพานางกลับไปอยู่ด้วยกัน

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน มีอะไรบ้างในภาษาไทย

  คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ามีคำไหนบ้าง ทั้งสองประเทศนี้คือประเทศในแทบเอเชียเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้อยู่ใกล้เรานัก แล้วทำไมถึงมีคำจากภาษาญี่ปุ่นและจีนเข้ามาปะปนอยู่ในชีวิตประจำได้ บทเรียนภาษาไทยเรื่องลักษณะคำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ยืมมา จะมีคำไหนบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ที่มาของภาษาญี่ปุ่นและจีนในภาษาไทย     คำที่ยืมมาจากญี่ปุ่นและจีน มีด้วยกันมากมายหลายคำเลยค่ะ บางคำ อาจจะไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำว่าเป็นภาษาญี่ปุ่นกับจีน ไม่ใช่คำภาษาไทย เพราะสองประเทศในเอเชียนี้เข้ามามีอิทธิพลกับประเทศมาตั้งแต่โบราณ

เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา     ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ บทความนี้ได้รวมรวมเนื้อหาและตัวอย่างเกี่ยวกับ การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ไว้อย่างหลากหลายและแสดงวิธีทำอย่างละเอียด  แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้เรื่องนี้น้องสามารถทบทวน การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก และ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก (กดลิ้งค์ที่ข้อความได้เลยค่ะ)  ซึ่งจะทำให้น้องๆ ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆอย่างง่ายดาย ซึ่งได้นำเสนออกมาในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ฝึกการเขียนจำนวนในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเป็น 10 ดังนี้ 10 = 10 = 10¹ 100 = 10

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในสุภาษิตพระร่วง

สุภาษิตพระร่วง   หลังได้เรียนรู้เรื่องประวัติความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วงไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงอยากรู้ใช่ไหมคะว่าในเรื่องสุภาษิตพระร่วงนั้นสอดแทรกคำสอนเรื่องใดไว้บ้าง รวมถึงคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดีอันทรงคุณค่าเรื่องนี้ด้วย บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในสุภาษิตพระร่วงพร้อมเรียนรู้ถึงคุณค่าของเรื่องนี้กันค่ะ   ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องสุภาษิตพระร่วง     คำสอนที่ปรากฏในตัวบท ควรเรียนเพื่อนเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง เป็นเด็กควรเรียนหนังสือ พอโตขึ้นค่อยหาเงิน ทำอะไรให้เหมาะสมกับวัย อย่าเอาของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง อย่ารีบด่วนสรุปเรื่อง่าง ๆ ให้ประพฤติตนตามแบบวัฒนธรรมที่ดีงาม

ภาษาเขมรในภาษาไทย เรียนรู้ความเป็นมาและลักษณะภาษา

ภาษาเขมร เป็นภาษาประจำชาติของประเทศกัมพูชา และยังเป็นภาษาที่คนไทยเชื้อสายเขมรใช้พูดกันอีกด้วย แต่นอกจากนั้นแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ายังมีคำที่มาจากภาษาเขมรปนอยู่ในชีวิตเรามากมายเลยทีเดียว เรียกได้ว่าถ้าหากภาษาบาลีสันสกฤตเป็นภาษาต่างประเทศที่ถูกหยิบยืมมาปรับใช้ในภาษาไทยมากที่สุดแล้ว ภาษาเขมรก็ถือว่าตามมาติด ๆ เลยทีเดียวค่ะ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วคำไหนบ้างที่มาจากภาษาเขมร มีวิธีสังเกตอย่างไร ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้ว ไปเรียนรู้เรื่อง ภาษาเขมรในภาษาไทย พร้อมกันเลยค่ะ   จุดเริ่มต้นของภาษาเขมรในภาษาไทย     เนื่องจากเขตประเทศที่อยู่ติดกัน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1