เรียนรู้และทำความเข้าใจการใช้คำในภาษาไทยอย่างง่ายๆ

การใช้คำ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การใช้คำในภาษาไทย มีความสำคัญมาก แม้ว่าน้อง ๆ จะคุ้นเคยกับภาษาไทยดีในระดับหนึ่งแล้ว แต่แน่ใจหรือเปล่าคะว่าใช้คำกันได้อย่างถูกต้องแล้ว เพราะการใช้คำให้ถูกก็ถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ ดังนั้นบทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการใช้คำต่าง ๆ ได้ถูกต้องกันค่ะ จะมีอะไรบ้างไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

การใช้คำ

 

การใช้คำในภาษาไทย

 

การใช้คำกำกวม

 

คำกำกวม คือ การใช้คำหรือภาษาที่มีความหมายไม่ชัดเจน เป็นเหตุให้การสื่อสารผิดพลาด มีลักษณะสำคัญดังนี้

– ใช้คำขยายผิดที่

– ใช้กลุ่มคำหรือคำประสมที่อาจเป็นประโยคได้

– ใช้คำที่มีหลายความหมาย (พ้องรูปพ้องเสียง)

– เว้นวรรคไม่ถูกต้อง

 

การใช้คำในภาษาไทย

 

เกร็ดน่ารู้ เกี่ยวกับการใช้คำขยายผิดที่ วิธีที่สังเกตกันอย่างง่าย ๆ ว่าประโยคนี้เป็นการใช้คำกำกวมหรือไม่ ให้ดูว่าผู้ ที่ ซึ่ง อัน อยู่หลังคำไหน เพราะเมื่อคำเหล่านี้ไปหลังคำไหนก็มักจะขยายคำนั้น ถ้าไปขยายแล้วไม่เข้าใจ อ่านแล้วสับสน หมายความว่าวางคำขยายผิดนั่นเองค่ะ

 

การใช้คำฟุ่มเฟือย

 

เป็นการใช้คำที่เกินความจำเป็น ความหมายไม่กระชับรัดกุม บางครั้งเป็นการใช้คำผิดความหมาย หรือผิดหลักการใช้ภาษา อาจทำให้ประโยคมีความยืดเยื้อจนผู้ฟังจับใจความได้ยาก เช่น การติดพูดว่า ทำการ, มีการ, ทำความ, มีความ, แบบว่า, ในส่วนนี้ และคำเชื่อมต่าง ๆ ที่บางครั้งก็เผลอใช้ติด ๆ กันโดยไม่รู้ตัว เช่น ที่, ซึ่ง, อัน, แล้ว เป็นต้น

 

การใช้คำในภาษาไทย

 

เกร็ดน่ารู้ วิธีแก้ไขคำฟุ่มเฟือยอย่างง่าย คือลองตัดคำออก ถ้าตัดคำไหนออกแล้วประโยคยังเข้าใจได้อยู่ ความหมายไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่านั่นเป็นคำฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็น

 

การใช้คำให้ถูกตามหลักภาษา

 

การใช้คำบุพบท กับ,แก่,แด่,ต่อ ให้ถูกต้อง มีลักษณะดังนี้

กับ มีความหมายว่า รวมกัน ใช้เชื่อมคำหรือความเข้าด้วยกัน

แก่ มีความหมายว่า สำหรับ ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ ผู้ที่มีศักดิ์เสมอกันหรือต่ำกว่าผู้ให้

แด่ มีความหมายว่า สำหรับ เพื่อ อุทิศ ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ ซึ่งมีศักดิ์สูงกว่าผู้ให้

ต่อ มีความหมายว่า เฉพาะ ใช้เพื่อแสดงความหมายของการมอบสิ่งของให้ต่อหน้า หรืออยู่ในบริบทของการประจันหน้า

 

 

สำนวนต่างประเทศ

 

โครงสร้าง โครงสร้างภาษาไทยจะเป็นแบบ ประธาน + กริยา + กรรม แต่ถ้าขึ้นต้นด้วยกรรมก็เป็นสำนวนต่างประเทศ

ต่อการ หนังสือเล่มเหมาะสมต่อการเป็นแบบเรียน ถ้าตัดต่อการออกความหมายยังเหมือนเดิม

การใช้ลักษณนาม ภาษาไทยมีลักษณะนามของแต่ละคำ เช่น ผู้ชาย 2 คน คือการเรียกลักษณนามแบบไทย แต่ถ้าเรียกว่า 2 หนุ่ม เป็นสำนวนต่างประเทศ

การใช้คำว่า ให้ความ มีความ ในความ ทำความ เป็นคำฟุ่มเฟือย และเป็นสำนวนต่างประเทศอีกด้วย

ในอนาคตอันใกล้ – ฉันจะไปเรียนต่างประเทศในอนาคตอันใกล้

นำมาซึ่ง – การแสดงความคิดเห็นจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ยังมีคำที่เป้นสำนวนต่างประเทศอีก อย่างเช่นคำว่า เต็มไปด้วย, มันเป็นอะไรที่, เป็นที่, ในความคิดของฉัน, มันเป็นการยากที่, รักษาไว้ซึ่ง, ก่อให้เกิด เป็นคำที่เรามักเห็นกันได้บ่อย ๆ ในประโยคภาษาอังกฤษ เวลาแปลก็เลยมักจะแปลตามตัว ซึ่งไม่ควรเอามาใช้ในทั่วไป เพราะผิดหลักเรื่องการใช้คำ

 

 

เห็นไหมคะน้อง ๆ ว่าคำที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เพราะความเคยชิน ทำให้เราแทบไม่สังเกตและดูไม่ออกเลยว่าใช้กันถูกหรือไม่อย่างไร ดังนั้นเพื่อการใช้คำในภาษาไทยในถูกต้อง อย่าลืมหมั่นทบทวนความรู้และดูคลิปบทเรียนเรื่องการใช้คำในภาษาไทยระหว่างทำแบบฝึกหัดนะคะ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐ เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม

สมบัติการบวกจำนวนจริง

สมบัติการบวกจำนวนจริง สมบัติการบวกจำนวนจริง เป็นสมบัติที่น้องๆต้องรู้ เพราะเป็นรากฐานของวิชาคณิตศาสตร์และน้องๆจะต้องใช้สมบัติพวกนี้ในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น สมบัติการบวกของจำนวนจริง มีทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้   1.) สมบัติปิดการบวก  สมบัติปิดการบวก คือ การที่เรานำจำนวนจริง 2 ตัวมาบวกกัน เราก็ยังได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนจริงเหมือนเดิม เช่น 1 + 2 = 3 จะเห็นว่า

ตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณและค่าความจริงของตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณ ตัวบ่งปริมาณ คือ สัญลักษณ์หรือข้อความที่เมื่อเราเอาไปเติมใน “ประโยคเปิด” แล้วจะทำให้ประโยคนั้นกลายเป็นประพจน์ ประโยคเปิด คือประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่ติดค่าตัวแปรที่ยัง “ไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ” โดยตัวแปรนั้นเป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ (Universe : U) ประโยคเปิด ยังไม่ใช่ประพจน์ (แต่เกือบเป็นแล้ว) เพราะเรายังไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เช่น  “x มากกว่า 3” จะเห็นว่าตัวแปร คือ x ซึ่งเราไม่รู้ว่า x

การใช้ Why and because + want + infinitive

การใช้ Why and because + want + infinitive เกริ่นนำเกริ่นใจ กลับมาอีกครั้ง กับนักเขียนเจ้าเก่าคนเดิม คนที่พร้อมจะพาทุกคนเข้าสู่โลกของการเรียนรู้และความหัวปวดด้วยภาษาที่สองอย่างภาษาอังกฤษ เช้าที่สดใสแบบนี้จะมีอะไรดีไปกว่าการได้มานั่งเขียนเรื่องราวดี ๆ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่นอีกละ จริงมั้ย? คำถามคือ ทำไมต้องมาเขียนอะไรแบบนี้ทุกเช้าด้วยละ? สงสัยใช่มั้ยละ? นั่นก็เพราะว่า คนเขียนนั้นรักในการเขียนและอยากจะแบ่งปันความรู้ให้กับคนอ่านทุกคนยังไงละ Easy เลย แค่นั้นเลย คนบนโลกจะเข้าใจกันมากหากเรามีเหตุผลในสิ่งที่ทำ

Past Time

Past Time หรือ เวลาในอดีต

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Past Time หรือ เวลาในอดีต ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time ในกลุ่ม Past

การออกเสียงพยัญชนะไทย-01

เสียงพยัญชนะไทย ออกเสียงอย่างไรให้ถูกต้อง

  เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคงเคยสงสัยเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทยกันไม่มากก็น้อย เพราะพยัญชนะในภาษาไทยของเรานั้นมีด้วยกัน 44 ตัว แต่กลับมีหน่วยเสียงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ทำไมการออกเสียงพยัญชนะไทยถึงไม่สามารถออกเสียงตามรูปอักษรทั้ง 44 รูปได้? ไหนจะพยัญชนะท้ายที่เขียนอีกอย่างแต่ดันออกเสียงไปอีกอย่าง บทเรียนในวันนี้จะช่วยไขข้อข้องใจให้กับน้อง ๆ หรือคนที่กำลังสับสนเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทย ให้กระจ่างและสามารถออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     เสียงพยัญชนะไทย เสียงพยัญชนะ คือ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1