ศิลาจารึก วรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญของคนไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ศิลาจารึก เป็นวรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปในสมัยสุโขทัยเพื่อเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของศิลาจารึก ที่เป็นการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ บนแผ่นดิน ถ้าอยากรู้แล้วว่าแผ่นหินที่ว่านี่มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ประวัติความเป็นมา

 

ศิลาจารึก

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกโดยพ่อขุนรามคำแหง ใช้อักษรไทย สุโขทัย หรือ ลายสือไทย ประดิษฐ์ขึ้นในปี 1826 จุดประสงค์คือเพื่อบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย ทั้งลักษณะการปกครอง ความเป็นอยู่ของประชาชน ความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง

 

ศิลาจารึก

 

การค้นพบศิลาจารึก หลักที่ 1

 

ในปี พ.ศ. 2376 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงค้นพบศิลาจารึกหลักที่ 1 และพระแท่นมนังคศิลาบาตรที่ปราสาทเก่าเมืองสุโขทัย โดยให้ผู้ที่มีความรู้ด้านภาษาโบราณแปล คือ ศ.ยอร์ช เซเดส์ และ ศ.ฉ่ำ ทองคำวรรณ

 

ศิลาจารึก

 

เกร็ดน่ารู้

ในตอนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวค้นพบศิลาจารึก พระองค์ยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงงผนวชอยู่ 27 พรรษาก่อนลาผนวชเพื่อมาขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลต่อไป

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

ลักษณะคำประพันธ์ในศิลาจารึกแต่งเป็นร้อยแก้วบรรยายโวหาร

 

ลักษณะของศิลาจารึก

 

เป็นหลักสี่เหลี่ยมทรงกระโจม เนื้อศิลาเป็นหินทรายแป้ง มีข้อความจารึก 4 ด้าน โดยด้านที่ 1 และ 2 มีจารึกด้านละ 35 บรรทัด ส่วนด้านที่ 3 และ 4 มีจารึกด้านละ 27 บรรทัด แท่นศิลาจารึกมีความสูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร

 

เรื่องย่อศิลาจารึก หลักที่ 1

 

เนื้อหาของศิลาจารึกหลักที่ 1 แบ่งออกเป็น 3 ตอน

ตอนที่ 1 พ่อขุนรามคำแหงเล่าถึงประวัติของตัวพระองค์เองว่าเป็นใคร ย้อนไปถึงเรื่องเราในยุคของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ที่ทำศึกสู้รบกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด เมื่อพระราชบิดาเสร็จสวรรคต พ่อขุนบานเมืองซึ่งเป็นพระเชษฐาของพ่อชุนรามคำแหงขึ้นครองราชย์ต่อพระราชบิดา จนกระทั่งพ่อขุนบานเมืองเสด็จสวรรคต พ่อขุนรามคำแหงจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย

ตอนที่ 2 ในตอนนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์บ้านเมืองและความเจริญรุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเนื้อหาในตอนนี้จะแตกต่างกับตอนแรกตรงที่ในศิลจารึกเลิกแทนตัวสรรพนามบุรุษที่ 1 ว่า “กู” ซึ่งหมายถึงตัวพ่อขุนรามคำแหงเอง แต่เป็นการบันทึกโดยใช้ชื่อของพ่อขุนรามคำแหง จึงมีสันนิษฐานว่าเนื้อในส่วนนี้มีผู้อื่นบันทึกต่อหลังสิ้นรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหงหรือจารึกแทน

ตอนที่ 3 ตอนนี้จะกล่าวถึงพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณของพ่อขุนรามคำแหงในด้านต่าง ๆ ทั้งความฉลาด ความกล้าหาญ และความสามารถด้านการปกครอง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเรื่องที่สำคัญมาก ๆ อย่างการประดิษฐอักษรไทยตามแบบที่พระองค์ทรงใช้ในศิลาจารึกนี่อีกด้วย

 

ศิลาจารึก เป็นการแสดงวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของจารึก ซึ่งศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนี้ก็ทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความเป็นอยู่และเรื่องราวสำคัญ ๆ ทางประวัติศาสตร์อีกมาก อย่างการเมือง การปกครอง หรือการประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนราม ในบทต่อไปน้อง ๆ จะได้ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาและคุณที่อยู่ในศิลาจารึกเพิ่ม แต่ก่อนอื่น น้อง ๆ อย่าลืมทำแบบฝึกหัดและทบทวนความรู้ในบทนี้โดยการดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มนะคะ ไปรับชมและรับฟังพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การแก้สมการกำลังสอง

การแก้สมการกำลังสอง

การแก้สมการกำลังสอง การแก้สมการกำลังสอง สามารถทำได้โดยการ แยกตัวประกอบพหุนามกำลังสอง และใช้สูตร เราแก้สมการเพื่อหาคำตอบหรือหาค่าของตัวแปร ในบทความนี้พี่จะพูดถึงสมการกำลังสองตัวแปรเดียว ซึ่งอยู่ในรูป ax² + bx + c = 0 โดยที่ a, b, c เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 ตัวอย่างสมการกำลังสองตัวแปรเดียว 

NokAcademy_ ม.4Gerund

Gerund

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund   อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม

verb to be

Verb to be ใน Present Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ป. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Simple Simple อย่าง Verb to be ใน Present Simple Tense กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ถอดความหมายพร้อมเรียนรู้คุณค่าในเรื่อง

ศิลาจารึกหลักที่ 1มีความเป็นมาอย่างไร น้อง ๆ ก็คงจะได้เรียนรู้กันไปแล้ว วันนี้เรื่องที่เราจะมาศึกษากันต่อก็คือเนื้อหาเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กันค่ะ ไปดูพร้อมๆ กันเลยว่าในศิลาจารึกจะบันทึกเรื่องเล่าอะไรไว้บ้าง และมีคุณค่าด้านใด   ศิลาจารึกหลักที่ 1 : ตัวบทที่น่าสนใจ       พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคน

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม การแยกตัวประกอบพหุนาม เป็นการแยกตัวประกอบของสมการเพื่อให้ง่ายต่อการหาคำตอบของสมการที่จะต้องเรียนในเนื้อหาถัดไป ในบทความนี้จะพูดถึงพหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว พหุนามดีกรี 2 คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุด คือ 2 พหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุดคือ 2 และ มีตัวแปร 1 ตัว เขียนอยู่ในรูป ax² +

Adjective Profile

คำคุณศัพท์ (Adjective)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เรื่อง คำคุณศัพท์ หรือ Adjective ในภาษาอังกฤษกันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย   ความหมายของคำคุณศัพท์     คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1