ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีคำสอน เรื่องสุภาษิตพระร่วง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สุภาษิตพระร่วง

 

คนไทยนิยมใช้สุภาษิตสั่งสอนลูกหลานกันมาตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงจะเคยได้ยินสุภาษิตกันมาไม่มากก็น้อย ดังนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วง วรรณคดีอันทรงคุณค่าและเป็นวรรณคดีเล่มแรกที่แต่งคำประพันธ์เป็นร่ายโบราณแบบร่ายสุภาพ ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วง

 

 

สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณคดีคำสอนที่ทรงคุณค่าที่มีมาอย่างยาวนาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุภาษิตบัณฑิตพระร่วง คำว่า พระร่วง ทำให้คนเข้าใจว่าอาจจะเป็นคำสอนของกษัตริย์สักคนที่มีนามว่า พระร่วง แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่เป็นตัวบ่งบอกว่าพระร่วงที่กล่าวถึงในสุภาษิตนั้นคือกษัตริย์องค์ใด นอกจากนี้ยุคสมัยที่แต่งสุภาษิตพระร่วงขึ้นก็ยังไม่แน่ชัดอีกด้วย เพราะถึงแม้จะมีนักวิชาการบอกว่าสุภาษิตพระร่วงคล้ายคลึงกับคำสอนของพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์ในสมัยสุโขทัย แต่บางคนก็มองว่าอาจจะไม่ได้เก่าขนาดนั้น เพราะคำประพันธ์นั้นคล้ายกับแต่งใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อย่างไรก็ตาม ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกเรื่องสุภาษิตพระร่วงลงบนแผ่นศิลาประดับไว้บนฝาผนังภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

 

ร่ายสุภาพ

 

ลักษณะบังคับของร่ายสุภาพ

  1. คณะ ร่ายสุภาพ 1 บท มีตั้งแต่ 5 วรรคขึ้นไป วรรค 1 มี 5 คำ บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้แต่ต้องจบด้วยโคลงสองสุภาพ
  2. สัมผัส สัมผัสจากวรรคหน้าไปคำที่ 1 2 หรือ 3 ของวรรคถัดไปและวรรคที่อยู่หน้า 3 วรรคสุดท้ายจะสัมผัสกับคำที่ 1 2 หรือ 3 ของบาทต้นในโคลงสองสุภาพ
  3. คำสร้อย เติมได้ 2 คำท้ายบท

 

โคลงสี่สุภาพ

 

ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ

  1. คณะ 1 บทมี 4 บาท แต่ละบาทมี 2 วรรค วรรคหน้า 2 คำ วรรคหลัง 4 คำ ยกเว้นวรรคหลังของบาทที่ 4 ที่จะมี 4 คำ
  2. คำสร้อย ในบาทที่ 1 และบาทที่ 3 อาจมีคำสร้อยหรือไม่มีก็ได้
  3. คำเอก คำโท คำเอก 7 แห่งและโท 4 แห่ง กรณีที่หาคำเอกไม่ได้ให้ใช้คำตายแทน
  4. คำเอกโทษและคำโทโทษ หมายถึง คำที่เคยใช้วรรณยุกต์เอกหรือโท แต่เปลี่ยนไปใช้วรรณยุกต์ให้เป็นเสียงเดียวกันกับข้อบังคับ ในกรณีที่ไม่สามารถหาคำมาแต่งได้
  5. สัมผัส คำสุดท้ายของบาทที่ 1 สัมผัสกับคำที่ 5 ของวรรคที่ 2 หรือบาทที่ 3, คำสุดท้ายของบาทที่ 2 สัมผัสกับคำที่ 5 ของบาทที่ 4 ส่วนสัมผัสระหว่างบทนั้น คำสุดท้ายของบทต้องสัมผัสกับคำที่ 1 2 หรือ 3 ของบทต่อไป

 

โคลงสี่สุภาพในลักษณะโคลงกระทู้โดยแยกคำหน้าออกมา จากบทนี้จะได้คำว่า บัณฑิตพระร่วง ซึ่งก็หมายถึงสุภาษิตพระร่วงนั่นเอง

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ หลังจากที่ได้รู้เรื่องราวประวัติความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วงแล้ว ถึงผู้แต่งและปีที่แต่งจะไม่มีระบุแน่ชัดว่าเป็นใครและแต่งขึ้นในปีไหน แต่สุภาษิตพระร่วงก็นับว่าเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่า เต็มไปด้วยคติธรรมสอนใจมากมาย และถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากฟังคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุภาษิตพระร่วง รวมไปถึงลักษณะคำประพันธ์ทั้งสองให้เข้าใจมากขึ้น ก็สามารถตามไปฟังได้ที่คลิปด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เทคนิคการใช้ Yes, No Questions M.1

เทคนิคการใช้ Yes, No Questions ในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียน ม.  1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการอย่างง่ายในการใช้ประโยค Yes/No questions กันค่ะไปลุยกันเลยค่า Yes, No Questions คืออะไร คือ ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบรับ (Yes) หรือปฏิเสธ (No) เป็นการถามที่ผู้ถามอาจจะมีข้อมูลอยู่บ้างว่า ว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือผู้ถามอาจจะถามเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นจริงตามที่เข้าใจหรือเปล่า ในที่นี้ครูจึงแยกออกเป็น 3 ชนิดค่ะ คือ ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย

verb to be

Verb to be ใน Present Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ป. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Simple Simple อย่าง Verb to be ใน Present Simple Tense กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund พร้อมแนวข้อสอบ ม.6

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” กันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า

M1 This, That, These, Those

การใช้ This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง การใช้ This, That, These, Those ในภาษาอังกฤษ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   บทนำ ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ

มัทนะพาธา

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา ที่มาและเรื่องย่อ

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและมีความแปลกใหม่อีกเรื่องหนึ่ง น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ เพราะวรรณคดีเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่โด่งดังจึงมักถูกหยิบไปทำเป็นละครทางโทรทัศน์บ่อย ๆ แต่จะมีความเป็นมาอย่างไรนั้น วันนี้เราจะไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมาของบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา     มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชกุศลเพื่อสร้าง ตำนานแห่งดอกกุหลาบ จึงทรงผูกเรื่องขึ้นมาใหม่หมด ทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง

งานอดิเรก (Hobbies) ในยุคปัจจุบัน

  ในปัจจุบันงานอดิเรก (Hobbies) นอกจากจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราสนุกแล้วยังสามารถเพิ่มพูนทักษะใหม่ๆ  ให้เราได้อีกด้วย  หากมีใครก็ตามถามว่า what do you like to do in your free time? คุณชอบทำอะไรในเวลาว่าง ครูเชื่อว่านักเรียนจะต้องมีหลายคำตอบ เพราะปัจจุบันมีหลายสิ่งหลายอย่างให้ทำเยอะมาก แต่เหนือสิ่งอื่นใด งานอดิเรกนั้นต้องทำให้เราสนุกและมีความสุขกับการได้ทำมันแน่ๆ “Do what you love,

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1