ที่มาและเรื่องย่อของ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

มหาชาติชาดก หรือมหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกที่ได้ชื่อว่าเป็น มหาชาติ เพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนจะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้า จากบทเรียนที่เคยเรียนรู้กันตอน ม.4 น้อง ๆ คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่ามหาชาตินี้มีด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยเรื่องที่เราจะได้เรียนกันเจาะลึกกันไปอีกในวันนี้ คือ กัณฑ์มัทรี นั่นเองค่ะ ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมา

 

มหาชาติชาดก

 

มหาชาติชาดกเป็นเรื่องราวในอดีตกาลของพระพุทธเจ้าที่เล่าให้กับเหล่าประยูรญาติฟังเมื่อครั้งเสด็จกลับเมืองและได้แสดงอภินิหาร ซึ่งขณะนั้นเกิดฝนโบกขรพรรษ พระองค์จึงเล่าว่าเคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นในอดีตกาล โดยมหาชาติชาดกนี้มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ ในประเทศไทยมีการแต่งมากมายหลายสำนวน แต่นักปราชญ์ชาวไทยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาและเพื่อให้เทศน์ภายในวันเดียวจบ จึงคัดเลือกสำนวนของมหาชาติที่ดีที่สุดมารวบรวมไว้ โดยมหาเวสสันดร ในตอนกัณฑ์มัทรีนี้ มีผู้แต่งคือ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

แต่งด้วยคำประพันธ์ร่ายยาว ขึ้นต้นกัณฑ์ด้วย จุณณียบท เป็นคาถาบาลีสั้น ๆ สรุปเนื้อเรื่องของกัณฑ์นั้น ๆ

 

มหาชาติชาดก

 

มีลักษณะบังคับดังนี้

1. คณะ – ร่ายยาวบทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ ส่วนมากมี 5 วรรคขึ้นไป คำในวรรคหนึ่ง ๆ มีตั้งแต่ 6 – 10 คำ หรือบางทีมากกว่านั้น

2. สัมผัส – ร่ายยาวมีบังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างวรรค ให้คำสุดท้ายของวรรคต้นสัมผัสคำใดคำหนึ่งของวรรคต่อ ๆ ไป โดยไม่กำหนดว่าจะต้องเป็นคำใด แต่ไม่ควรให้อยู่ใกล้ชิดกับคำสุดท้าย

3. เอกโทและคำสร้อย – ร่ายยาวไม่มีการบังคับเอกโท และคำสร้อยอย่างร่ายสุภาพ ส่วนมากมีคำสร้อยเมื่อจบตอน เช่น นั้นแล นี้แล เป็นต้น

 

 

เรื่องย่อ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

 

จากการที่ชูชกได้ไปขอกัณหา ชาลีกับพระเวสสันดรแล้วพระองค์ทรงยกให้ เมื่อชูชกพาสองกุมารไปแล้ว พระอินทร์จึงเห็นว่าถ้าพระนางมักทรีกลับมาแต่กลางวันจะตามไปทัน และจะไปขัดการให้ทานของพระเวสสันดร จึงให้เทวดา 3 องค์ แปลงกายเป็น เสือโคร่ง เสือเหลือง และราชสีห์ไปขวางทางไว้ พอพระนางมัทรีกลับมาก็ไม่เจอกับพระกุมารทั้ง 2 จึงไปถามพระเวสสันดร แต่ไม่ได้คำตอบ เนื่องจากพระเวสสันดรเห็นนางกลับมาเหนื่อย ๆ กลัวว่าจะเสียใจจนถึงแก่ชีวิต จึงบ่ายเบี่ยง ทำทีเป็นหึงหวงที่นางกลับช้า หาว่าไปมีชู้อยู่ในป่าและไม่ยอมเจรจากับนางอีกเลย นางมัทรีจึงออกตามหาพระกุมารตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า ด้วยความอ่อนเพลียจึงสลบไป พระเวสสันดรมาเห็นก็ตกพระทัย คิดว่านางสิ้นใจ จึงเสียใจเป็นอย่างมาก แต่พอได้สติก็ทำให้รู้ว่านางแค่สลบไป จึงยกศีรษะของนางมาวางบนตักแล้วเอาน้ำรดที่หน้าผาก เมื่อพระนางฟื้นก็ถามถึงพระกุมาร พระเวสสันดรจึงบอกความจริง และขอให้ทานช่วยอนุโมทนาทาน

 

สรุปเนื้อเรื่อง

 

อานิสงส์ผู้ที่บูชา มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

 

ผู้บูชากัณฑ์มัทรี เกิดในโลกหน้าจะเป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นผู้มีอายุยืนยาว มีรูปโฉมงดงามกว่าคนทั้งหลาย และจะได้ไปในที่ที่มีแต่ความสุขทุกแห่งหน

 

เรื่องราวของมหาชาติ ในกัณฑ์มัทรีนี้ถือเป็นตอนหนึ่งที่สำคัญของเรื่อง เพราะทำให้ได้เห็นความรักลูกของนางมัทรีและการปล่อยวาง สอดแทรกข้อคิดไว้ในตอนได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งน้อง ๆ จะได้เรียนรู้ข้อคิดรวมไปถึงตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในบทต่อไป แต่สุดท้ายนี้ก็อย่าลืมที่ทบทวนบทเรียนของวันนี้นะคะ โดยน้อง ๆ สามารถรับฟังคลิปการสอนของครูอุ้มไปพลางทำแบบฝึกหัดไปพลางได้เลยค่ะ จะได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อเรื่องมากขึ้น

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อิศรญาณภาษิต

อิศรญาณภาษิต ศึกษาวรรณคดีคำสอนของไทย

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสอนให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะของกลอนเพลงยาวและยังสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติความความเป็นมา ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนเพลงยาว และตัวบทที่น่าสนใจ ๆ ในเรื่อง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าวรรณคดีเรื่องนีมีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยในเราได้ศึกษากันอยู่ตอนนี้ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     ความเป็นมาของ   อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากทางสถิติ เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยข้อมูลที่ได้มีหลากหลายรูปแบบ อาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ หรือรูปภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจ โดยสามารถจำแนกข้อมูลได้ตามลักษณะและแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่ จำแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่วัดค่าได้ แสดงเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง เช่น จำนวนบุตรในครอบครัว,

จุด

จุด : เรขาคณิตวิเคราะห์

จุด จุด เป็นตัวบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ เช่น ตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ ในเรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์ จุดใช้บอกตำแหน่งในระนาบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น   ระยะทางระหว่างจุดสองจุด เราสามารถหาระยะทางระหว่างจุดสองจุดได้ โดยใช้สูตร โดยจะกำหนดให้  และ  เป็นจุดในระนาบ เราจะได้ว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองหาได้จาก ตัวอย่าง ระยะห่างระหว่าง A(1,1) และ

การใช้ There is และ There are ในประโยคคำถาม

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “การใช้ There is There are ในประโยคคำถาม ” กันจ้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยเด้อ   There is/There are คืออะไร   There is และ There are แปลว่า

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ เรียนรู้บทร้อยกรองจากพุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต หมายถึงถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน และมีความหมายเป็นคติสอนใจ บางสุภาษิตพูดนำมาแต่งเป็นบทร้อยกรองเพื่อใช้เป็นบทอาขยานให้กับเด็ก ๆ ได้เรียน ได้ฝึกอ่าน รวมไปถึงให้เรียนรู้ข้อคิดจากสุภาษิตได้ง่ายมากขึ้น บทที่เราจะได้เรียนกันในวันนี้คือ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมา ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ     ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญเป็นบทร้อยกรองที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยพระยาอุปกิตศิลปสาร แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท และกาพย์ยานี 11

ป6ทบทวน Past simple tense

ทบทวนการใช้ Past Simple ทั้งกับประโยคบอกเล่า/คำถาม/ปฏิเสธ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไป ทบทวนการใช้ Past Simple ทั้งกับประโยคบอกเล่า/คำถาม/ปฏิเสธ กันน๊า Let’s go! ไปลุยกันเลยจ้า Past Simple Tense คืออะไร     Past Simple Tense คือโครงสร้างที่ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วจบลงไปแล้วในอดีต สิ่งสำคัญที่นักเรียนต้องรู้คือ กริยาช่องที่สองที่บอกความเป็นอดีต คำบอกเวลาในอดีตและโครงสร้างประโยคที่สำคัญๆ นั่นเอง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1