ถอดความหมายตัวบทเด่นใน ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเรื่องดังที่มีตัวบทเด่น ๆ มากมาย สำหรับการถอดคำประพันธ์ในวันนี้เราได้คัดเลือกบทเด่น ๆ มาให้น้อง ๆ ได้เรียนกันถึง 13 บทเลยทีเดียว แต่เพราะเนื้อหาที่สนุก ภาษาที่สละสลวย รับรองว่าน้อง ๆ จะไม่มีทางเบื่อวรรณคดีเรื่องนี้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนความหมายของแต่ละบทพร้อมกันเลยนะคะ

ตัวบทเด่น ๆ ใน ลิลิตตะเลงพ่าย

 

บทที่ 1

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

กล่าวถึงเหตุการณ์ทางหงสาวดี ในตอนที่พระเจ้าหงสาวดีตรัสเชิงประชดกับพระมหาอุปราชาที่กลัวการยกทัพไปรบกับไทยว่าถ้าเจ้าเกรงว่าเคราะห์ร้ายก็อย่าไปรบเลย เอาผ้าสตรีมานุ่งเถอะ จะได้หมดเคราะห์

 

บทที่ 2

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

มาจากตอนที่พระมหาอุปราชาเสด็จไปลานางสนมซึ่งร่ำไห้คร่ำครวญและขอตามเสด็จไปด้วย พระมหาอุปราชาได้ตรัสบอกแก่นางสนมว่าหนทางนั้นลำบาก พระองค์จึงจำใจต้องจากเหล่าสนมไปในไม่ช้าก็คงจะได้กลับคืนมา

 

บทที่ 3

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

เป็นตอนที่พระเจ้านันทบุเรงทรงให้โอวาทกับพระมหาอุปราชาว่าสงครามมีมากเล่ห์แสนกล อย่าได้ฟังความตื้นๆ อย่าทะนงตน การศึกนั้นมันซับซ้อนนัก เป็นหนึ่งในหลักการครองงาน

 

บทที่4

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

พระเจ้านันทบุเรงทรงให้โอวาทกับพระมหาอุปราชาก่อนออกไปทำศึกสงครามว่าโบราณท่านว่าขอให้เอาใจทหาร อย่าได้ไปคบกับคนโง่คนเขลา เป็นบทที่มีคำสอนอยู่ทั้งหลักครองคนและครองตน

 

บทที่ 5

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

โอวาทที่พระเจ้านันทบุเรงให้กับพระมหาอุปราชาว่า ขอให้รู้พยุหค่ายกลศึก วิชาการทหาร ตำราพิชัยสงคราม รู้แบบนี้แล้วก็อาจสามารถรบชนะได้ เป็นหนึ่งในหลักการครองงาน ว่าให้รู้รู้ตำราพิชัยสงคราม

 

บทที่ 6

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

มีความหมายว่าให้รู้จักการปูนบำเหน็จความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถในการปราบศัตรู จงขยันหมั่นเพียร อย่าย่อหย่อนอย่าเกียจคร้าน อยู่ในหลักครองคน ให้ปูนบำเหน็จแก่นายทหารที่มีฝีมือ และหลักครองตนที่ให้อย่าหย่อนความเพียรเพราะความเกียจคร้าน และย้ำให้ปฏิบัติตามโอวาททั้ง 8 ที่ให้ไป

 

บทที่ 7

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

เป็นบทที่พระมหาอุปราชารำพันถึงนางสนม ทรงเห็นต้นสลัดได ก็หวนคิดถึงแต่น้องนาง ที่ต้องมารอนแรมอยู่กลางป่าก็เพราะว่าสงคราม เห็นต้นสละ ก็เหมือนที่พี่ต้องจำใจสละน้องมา เห็นต้นระกำ ก็เหมือนที่พี่ต้องระกำใจ

 

บทที่ 8

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

เป็นบทรำพึงถึงนางของพระมหาอุปราชาต่อเนื่องจากบทที่แล้ว มีความหมายว่า ดอกสายหยุดพอสายก็หมดกลิ่น แต่ดวงใจพี่แม้ในยามสาย ไม่คลายรักน้องจะกี่คืนกี่วันที่พี่จากน้องมา พี่ก็หวนคิดถึงน้องทุกค่ำเช้า ไม่รู้จะหยุดได้อย่างไร

 

บทที่ 9

 

เป็นตอนที่พระมหาอุปราชากล่าวรำพึงรำพันขณะเดินทางไปรบเพียงลำพังโดยไม่ได้มีพระเจ้านันทบุเรงผู้เป็นบิดาตามมาด้วยทำให้หนักใจเป็นอย่างมากจึงกล่าวว่า การศึกสงครามในครั้งนี้เป็นที่หนักใจหนักหนา พระองค์ทรง หนาวเหน็บพระทัย หากต้องตายไปในสนามรบใครจะนำร่างกลับไป ศพคงจะถูกทิ้งไว้ไร้คนเผาเป็นแน่

 

บทที่ 10

 

เป็นตอนทำสงคราม ขณะสู้รบกันอยู่แล้วช้างของสมเด็จพระนเรศวรตกมัน วิ่งเข้าไปในป่าเพียงลำพัง แล้วเห็นว่าทัพของพม่ามีการจัดทัพแบบ 16 กษัตริย์ คือมีช้าง 16 เชือก เพื่อไม่ให้รู้ว่าพระมหาอุปราชาอยู่บนช้างเชือกไหน เมื่อเห็นดังนั้นพระองค์จึงทรงเร่งไสช้างตามหาพระมหาอุปราชา

 

บทที่ 11

 

เป็นตอนการสู้รบของพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา พระนเรศวรทรงเปรียบเทียบว่าช้างทรง ๒ ช้าง ของสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา เป็นเหมือนช้างเอราวัณซึ่งเป็นช้างทรงของพระอินทร์ และช้างคีริเมขล์ซึ่งเป็นพาหนะของวสวัตดีมารมาชนช้างกัน

 

บทที่ 12

 

เป็นของพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา ถอดความหมายได้ว่า สมเด็จพระนเรศวรต้านทานพระมหาอุปราชาไว้ได้ ทั้งสองพระองค์ไม่ได้ทรงยำเกรงกลัวกันเลย สมเด็จพระนเรศวรใช้พระหัตถ์ยกพระแสงของ้าวเหวี่ยงไปมา เพื่อสู้กับข้าศึก

 

บทที่ 13

 

เป็นตอนที่พระนเรศวรทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ในตอนที่พระนเรศวรเป็นเจ้าได้ทีจ้วงฟัน ถูกพระอังษา พระมหาอุปราชาซบลงกับคอช้าง และสิ้นพระชนม์

 

คุณค่าในลิลิตตะเลงพ่าย

 

คุณค่าของลิลิตตะเลงพ่ายนั้น มีทั้งด้านวรรณศิลป์ ที่ต้องบอกว่าลิลิตเรื่องนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นลิลิตที่แต่งดีที่สุด ดังนั้นภาษาที่ใช้ในบทประพันธ์จึงสละสลวย มีการให้โวหาร ภาพพจน์และการซ้ำคำอันเป็นเอกลักษณ์ ไม่เพียงเท่านั้น วรรณคดีเรื่องนี้ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าด้านเนื้อหาและสังคม เพราะได้ถ่ายทอดเรื่องความเสียสละของกษัตริย์สมัยก่อนที่ได้ทำศึกเพื่อปกป้องชาติบ้านเมืองจากการรุกราน ทำให้คนรุ่นหลังได้ตระหนักและภูมิใจในความเป็นไทย

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะน้อง ๆ บทเด่น ๆ ในลิลิตตะเลงพ่ายนั้นดูจะมีมากกว่าวรรณคดีเรื่องที่เราได้เรียนผ่านกันมา นั่นเพราะว่าวรรณคดีเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องดังที่ไม่ว่าจะหยิบจับบทไหนขึ้นมาพูดก็ล้วนแล้วแต่จะไพเราะและเป็นที่รู้จักไปเสียหมดเลยล่ะค่ะ จากบทเรียนที่ได้เรียนไป คงจะทำให้น้อง ๆ เห็นแล้วใช่ไหมคะว่าบทแต่ละบทนั้นมีความไพเราะแค่ไหน เป็นเรื่องราวที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและข้อคิดมากมายเลยค่ะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถตามไปดูคลิปที่ครูอุ้มได้สรุปความรู้และประเมินค่าบทประพันธ์เรื่องนี้ได้เลยนะคะ รวมไปถึงคลิปเรื่องตัวบททั้ง 2 คลิปด้วย รับรองว่าน้อง ๆ จะอ่านและแปลลิลิตตะเลงพ่ายได้หมดทุกบทเลยล่ะค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์  “ = ”  บอกความสัมพันธ์ระหว่างจำนวน อาจมีตัวแปร หรือไม่มีตัวแปร เช่น สมการที่ไม่มีตัวแปร                           

ส่วน 10 หรือ ส่วน 1000 แปลงเป็นทศนิยมกันได้หมดถ้าสดชื่น!

จากบทความที่แล้วเราได้ทราบความสัมพันธ์ของเศษส่วนและทศนิยมไปแล้ว เชื่อว่าน้อง ๆหลายคนคงเกิดคำถามในใจว่า แล้วถ้าเจอเศษส่วนที่ตัวส่วนไม่ใช่ 10, 100 หรือ 1000 ต้องทำอย่างไร บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยพร้อมกับแสดงวิธีคิดที่ทำให้น้อง ๆต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ง๊ายง่าย!

การวัดความยาวส่วนโค้ง

การวัดความยาวส่วนโค้ง

การวัดความยาวส่วนโค้ง การวัดความยาวส่วนโค้ง ในบทความนี้จะเป็นการวัดความยาวของวงกลม 1 หน่วย วงกลมหนึ่งหน่วย คือวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด และมีรัศมียาว 1 หน่วย จากสูตรของเส้นรอบวง คือ 2r ดังนั้นวงกลมหนึ่งหน่วย จะมีเส้นรอบวงยาว 2 และครึ่งวงกลมยาว   จุดปลายส่วนโค้ง   จากรูป จะได้ว่าจุด P เป็นจุดปลายส่วนโค้ง   จากที่เราได้ทำความรู้จักกับวงกลมหนึ่งหน่วยและจุดปลายส่วนโค้งแล้ว

การหารเศษส่วนและจำนวนคละ

เทคนิคการหารเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความที่แล้วเราได้พูดถึงหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละไปแล้ว บทความนี้จะเป็นเรื่องต่อยอดจากการคูณก็คือเรื่องการหารเศษส่วนและจำนวนคละ ถ้าใครอ่านบทความการคูณเศษส่วนและจำนวนคละเข้าใจแล้วรับรองว่าเรื่องนี้จะยิ่งง่ายมากกว่าเดิมแน่นอน เพราะต้องใช้เรื่องการคูณเศษส่วนและจำนวนคละในการคำนวณหาคำตอบเช่นกัน สิ่งที่บทความนี้จะมอบให้กับน้อง ๆก็คือขั้นตอนการแสดงวิธีทำที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายเหมือนกันบทความที่แล้วมา

some any

การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ

การสร้างตารางค่าความจริง

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ เป็นเนื้อหาที่ไม่ยากมากหลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้ว น้องๆจะสามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ สามารถบอกได้ว่าประพจน์แต่ละประพจน์เป็นจริงได้กี่กรณีและเป็นเท็จได้กี่กรณี และจะทำให้น้องเรียนเนื้อหาเรื่องต่อไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1