คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน มีอะไรบ้างในภาษาไทย

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ามีคำไหนบ้าง ทั้งสองประเทศนี้คือประเทศในแทบเอเชียเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้อยู่ใกล้เรานัก แล้วทำไมถึงมีคำจากภาษาญี่ปุ่นและจีนเข้ามาปะปนอยู่ในชีวิตประจำได้ บทเรียนภาษาไทยเรื่องลักษณะคำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ยืมมา จะมีคำไหนบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ที่มาของภาษาญี่ปุ่นและจีนในภาษาไทย

 

 

คำที่ยืมมาจากญี่ปุ่นและจีน มีด้วยกันมากมายหลายคำเลยค่ะ บางคำ อาจจะไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำว่าเป็นภาษาญี่ปุ่นกับจีน ไม่ใช่คำภาษาไทย เพราะสองประเทศในเอเชียนี้เข้ามามีอิทธิพลกับประเทศมาตั้งแต่โบราณ โดยญี่ปุ่นเริ่มติดต่อสัมพันธ์กับประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินในสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148-2153) ส่วนประเทศจีนนั้นมีการติดต่อกับประเทศมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลยทีเดียว และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวจีนจำนวนมากก็อพยพมาอยู่ที่ไทย ทำให้ทุกวันนี้มีคนไทยเชื้อสายจีนกันอยู่มาก เมื่อวัฒนธรรมถูกผสมปนเป ก็ทำให้ภาษาถูกหยิบยืมมาใช้เพื่อเรียกแทนคำที่อาจจะไม่ได้มีความหมายแปลที่ชัดเจนโดยการทับศัพท์คำนั้น ๆ ไป

 

ลักษณะภาษาญี่ปุ่น

 

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

 

  1. ในภาษาญี่ปุ่น จะเรียงประโยคแบบ ประธาน + กรรม + กริยา เช่น 私はご飯を食べます ซึ่ง 私 หมายถึง ฉัน เป็นประธานของประโยค ご飯 หมายถึง ข้าว ส่วน 食べます หมายถึง กิน ประโยคนี้จึงแปลว่า ฉันกินข้าว ซึ่งจะแตกต่างกับภาษาไทยที่เรียงประโยคแบบ ประธาน + กริยา + กรรม
  1. ภาษาญี่ปุ่นมีตัวอักษรทั้งหมด 46 ตัว เสียงสระ 5 เสียง เสียงพิเศษ 1 เสียงใช้เป็นตัวสะกด และไม่มีวรรณยุกต์ในภาษา
  2. คำยืมจากภาษาญี่ปุ่นจะเป็นคำทับศัพท์ คำไทยที่ยืมมาจากญี่ปุ่นจะเรียกทับศัพท์ไปเลย เช่น เทมปุระ ซูชิ ราเมน โมจิ นินจา คาราโอเกะ

 

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

 

นอกจากคำศัพท์ทั่วไปแล้ว เพราะอิทธิพลของประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามาในไทย ทำให้มีสินค้าหลายประเภทที่เป็นภาษาญี่ปุ่นถูกเรียกปะปนอยู่ในสังคมไทยอีกมาก อย่างยี่ห้อขนมหรือยี่ห้อรถ

 

ลักษณะภาษาจีน

 

 

  1. คำภาษาจีนมักมีเสียงวรรณยุกต์ตรี จัตวา เช่น ก๋วยเตี๋ยว เกี้ยมอี๋
  2. คำภาษาจีนมักมีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง ก๋ง เจ๊ อั้งโล่ บ๊วย
  3. คำในภาษาจีนมีเสียงวรรณยุกต์ โดยมีด้วยกันทั้งหมด 4 เสียง และมีเสียงเบา เป็นเสียงที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์

วัฒนธรรมของจีนกับไทย เรียกได้ว่าแทบจะแยกกันไม่ออก คำบางคำก็ถูกใช้ต่อ ๆ กันมาจนชิน ทำให้บางทีคนไทยหลายคนก็ไม่รู้ว่าเป็นคำที่มาจากภาษาจีน จะมีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

 

 

สรุปความรู้ คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

 

เมื่อดูจากลักษณะของภาษาแล้ว จะเห็นได้ว่าภาษาญี่ปุ่นกับจีนมีความเหมือนและแตกต่างกับภาษาไทย โดยทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีนต่างก็มีเสียงสระเหมือนภาษาไทย แต่จะต่างกันตรงเสียงวรรณยุกต์และประโยคที่ภาษาจีนจะมีความเหมือนภาษาไทยมากกว่า ทั้งการออกเสียงวรรณยุกต์ผิดจะทำให้ความหมายผิดเพี้ยน หรือ การเรียงประโยค ประธาน + กริยา + กรรม เพราะความคล้ายกันของลักษณะภาษานี่เองจึงทำให้ทั้งสองภาษาเข้ามาปะปนและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ส่วนมากเป็นคำง่าย ๆ ที่พบเจอในชีวิตประจำวัน ความหมายตรงตัว ไม่ต้องแปลอีกรอบ เมื่อพูดแล้วคนไทยจะเข้าใจได้ทันทีว่าหมายถึงเรื่องใด

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ เมื่อได้เรียนรู้คำที่ยืมจากภาษาญี่ปุ่นและจีนกันไปแล้ว ได้ความรู้เกี่ยวกับที่มาและลักษณะภาษาของภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยด้วย วิธีสังเกตก็ง่ายแสนง่าย อย่าลืมลองสังเกตสิ่งรอบตัวแล้วลองคิดเล่น ๆ ดูนะคะ ว่าสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรานั้นมาจากภาษาญี่ปุ่น คำไหนมาจากภาษาจีนกันบ้าง สุดท้ายนี้ น้อง ๆ อย่าลืมไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อให้เข้าใจบทเรียนมากขึ้นนะคะ ในคลิปครูอุ้มได้ยกตัวอย่างคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ รับรองว่าน้อง ๆ จะได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินอย่างแน่นอนค่ะ ไปดูกันเลย

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ เรียนรู้บทร้อยกรองจากพุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต หมายถึงถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน และมีความหมายเป็นคติสอนใจ บางสุภาษิตพูดนำมาแต่งเป็นบทร้อยกรองเพื่อใช้เป็นบทอาขยานให้กับเด็ก ๆ ได้เรียน ได้ฝึกอ่าน รวมไปถึงให้เรียนรู้ข้อคิดจากสุภาษิตได้ง่ายมากขึ้น บทที่เราจะได้เรียนกันในวันนี้คือ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมา ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ     ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญเป็นบทร้อยกรองที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยพระยาอุปกิตศิลปสาร แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท และกาพย์ยานี 11

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ประพันธ์ โดยมุ่งหวังให้ละครเป็นตัวช่วยกล่อมเกลาจิตใจประชาชน แต่นอกจากตัวบทจะมีความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างมากแล้ว ยังแฝงแนวคิดมากมายไว้ในเรื่อง จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้เรื่องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก     ตัวบทที่ 1    พระยาภักดี : ใครวะ อ้ายคำ : อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย(ค.ร.น.) ของจำนวนนับตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป หมายถึง ตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น

บทเสภาสามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวก ที่มาของกลอนเสภาอันทรงคุณค่า

บทเสภาสามัคคีเสวก   เมื่อเห็น บทเสภาสามัคคีเสวก ครั้งแรก เชื่อว่าต้องมีน้อง ๆ หลายคนต้องเผลออ่านคำว่า เสวก เป็น (สะ-เหวก) แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วคำว่าเสวกนั้นต้องอ่านให้ถูกต้องว่า (เส-วก) ที่มีความหมายถึงผู้ใกล้ชิด เป็นยศของข้าราชการในราชสำนักนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้ไม่เพียงแต่จะสอนอ่านให้ถูกต้อง แต่จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องย่อวรรณคดีไทยอย่างบทเสภาสามัคคีเสวกกันอีกด้วย โดยจะเป็นเรื่องราวแบบไหน มีลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่ออย่างไรบ้าง เราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม

สามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีเภทคำฉันท์ วรรณคดีขนาดสั้นที่ว่าด้วยความสามัคคี

สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิทานสุภาษิตขนาดสั้นว่าด้วยเรื่องความสามัคคี เป็นอีกหนึ่งวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ทั้งด้านการประพันธ์และเนื้อหา เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับวรรณคดีเรื่องดังกล่าวเพื่อศึกษาที่มา จุดประสงค์ รวมไปถึงเรื่องย่อ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   ที่มาของเรื่องและจุดประสงค์ในการแต่ง   สามัคคีเภทคำฉันท์ ดำเนินเรื่องโดยอิงประวัติศาสตร์ครั้งพุทธกาล เป็นนิทานสุภาษิตในมหาปรินิพพานสูตรและอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี     ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

การเขียนเรียงความ

เทคนิคการเขียนเรียงความง่าย ๆ ที่จะช่วยถ่ายทอดความคิดให้เป็นขั้นตอน

การเขียนเรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่มีสำคัญมาก เพราะเป็นการถ่ายทอดความคิดให้ออกมาอยู่ในรูปของตัวอักษร จะมีวิธีเขียนอย่างไรบ้างนั้น บทเรียนในวันนี้จะทำให้น้อง ๆ มีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการเขียนเรียงมากขึ้น จะเป็นอย่างไรนั้น ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ     เรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจของผู้เขียน มีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน เพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นตัวอักษรให้น่าอ่าน และยังเป็นพื้นฐานของการเขียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือนวนิยายอีกด้วย โดยประเภทของการเขียนเรียงความมีดังนี้ 1. เรื่องที่เขียนเพื่อความรู้ 2. เรื่องที่เขียนเพื่อความเข้าใจ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1