ความรู้เกี่ยวกับ การสื่อสาร มีอะไรบ้างที่เราควรรู้?

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน แม้ว่าเราจะสื่อสารกับผู้คนอยู่แล้วทุกวัน แต่จะทำอย่างไรให้ตนเองสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีเรื่องไหนที่ควรรู้และควรระวัง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าอยากรู้แล้วว่าจะเป็นอย่างไรก็ไปดูกันเลยค่ะ

 

การสื่อสาร คืออะไร?

 

เป็นกระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความรู้สึก จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ให้มีความเข้าใจตรงกัน

 

การสื่อสาร

 

การสื่อสารสำคัญอย่างมากตั้งแต่ในชีวิตประจำวันไปจนถึงอุตสาหกรรม การปกครอง การเมืองและเศรษฐกิจ เพราะในทุก ๆ กระบวนต้องมีการสื่อสารกันให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน

องค์ประกอบของการสื่อสาร

 

1. ผู้รับสารและผู้ส่งสาร

2. วิธีการติดต่อ ติดต่อผ่านช่องทางการสื่อสารโดยใช้สื่อต่าง ๆ

 

การสื่อสาร

 

3.เรื่องราวที่ต้องการจะสื่อสาร

 

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

 

1.วัจนภาษา หมายถึง ภาษาพูดและภาษาเขียนที่เป็นถ้อยคำของมนุษย์ในแต่ละชนชาติที่มีความคิดค้นภาษาขึ้นมา กำหนดไว้ใช้สื่อสารกันอย่างมีระบบและต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักของภาษานั้น ๆ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

  • ภาษาพูด เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้พูดออกมาโดยการเปล่งเสียงเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น
  • ภาษาเขียน เป็นภาษาที่ใช้อักษรในการสื่อสาร มนุษย์ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาเพื่อให้บันทึกภาษาพูด

2.อวัจนภาษา หมายถึง การสื่อสารที่ปราศจากถ้อยคำและการเขียนแต่จะเป็นการสื่อสารผ่านสีหน้า ท่าทาง การเคลื่อนไหว หรือวัตถุอื่น ๆ ที่อยู่ในแวดล้อมขณะสื่อสาร ทำหน้าที่แทนการพูด แต่จะใช้เดี่ยว ๆ หรือใช้ควบคู่กับวัจนภาษาก็ได้ แบ่งออกได้ดังนี้

  • ภาษากาย ประกอบไปด้วย สายตา การแสดงสีหน้า อากัปกิริยา ระยะห่างระหว่างบุคคล

การสื่อสาร

 

  •  ภาษาวัตถุ เป็นการตีความหมายของวัตถุและสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อสื่อความหมาย มีดังนี้

 

1. โครงสร้างของร่างกาย (body) เช่น บุคคลที่มีโครงสร้างสูงใหญ่ จะสื่อความหมายได้ว่า เป็นคนแข็งแรง น่าเกรงขาม

2. ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดบุคลิกภาพ (Personality) เช่น การเลือกวัตถุมาประกอบเพื่อให้เกิดเป็นบุคลิกภาพ เช่น เลือกเสื้อผ้าและรองเท้าที่สวมใส่ ก็จะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงรสนิยม ค่านิยม และนิสัยของผู้แต่งได้

3. วัตถุที่มีความหมายเฉพาะ และไม่เฉพาะ (Specific and Non-Specific)

– วัตถุที่มีความหมายเฉพาะ (Specific) เช่น ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่

– วัตถุที่ไม่มีความหมายเฉพาะเจาะจง (Non-Specific) เช่น  นางสาว A ให้แปรงสีฟัน นางสาว B ไป โดยทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นคนมีน้ำใจ แต่ก็อาจตีความหมายได้อีกนับว่านางสาว A ต้องการจะบอกว่านางสาว B มีกลิ่นปากรุนแรงจึงมอบแปรงสีฟันให้เป็นของขวัญเพื่อให้ไปแปรงฟัน

 

  • ภาษาธรรมเนียมและมารยาท เป็นการแสดงพฤติกรรมตามธรรมเนียมและมารยาทของสังคมนั้น ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีวัฒนธรรมที่ตกต่างกัน ยกตัวอย่างวัฒนธรรมไทย การ “ไป-ลา-มา-ไหว้” เป็นสิ่งที่สะท้อนธรรมเนียมเรื่องการเคารพผู้ที่อาวุโสกว่าของไทย

 

การใช้วัจนภาษาควบคู่ไปกับอวัจนภาษา

ถึงแม้ว่าจะสามารถแยกกันใช้ได้ แต่ถ้าหากใช้ทั้งสองควบคู่กันไประหว่างสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องก็จะทำให้การสื่อสารนั้นชัดเจนมากขึ้น

 

 

อุปสรรคของการสื่อสาร

 

 

ผู้ส่งสาร บางครั้งการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนของผู้ส่งสารที่มีความบกพร่องในอวัยวะที่ใช้สื่อสาร หรือการใช้คำกำกวม ไม่ชัดเจน ไม่แสดงออกท่าทางให้คนอื่นรู้ว่าต้องอะไร หรือไม่เข้าใจสารที่ต้องการจะสื่อมากพอ ก็อาจจะทำให้ผู้รับสารไม่เข้าใจ

สาร ข้อมูลของสารที่ต้องการจะสื่อถูกบิดเบือนได้ง่าย ทั้งโดยเจตนา หรือไม่เจตนาในกรณีที่สารมีความคลุมเครือ

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ความต่างของภาษาเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่เห็นได้อย่างเด่นชัด ยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีการติดต่อจากคนหลากหลายเชื้อชาติด้วยแล้ว แม้จะมีวิธีการที่แสนสะดวกสบายอย่างระบบแปลภาษาอัตโนมัติ แต่ก็ไม่สามารถแปลบริบทที่ต้องการได้ 100% ดังนั้นสิ่งที่สื่อออกไปอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้

ผู้รับสาร ในบางกรณี แม้ว่าผู้ส่งสารจะพยายามสื่อสารอย่างดีแล้ว แต่ผู้รับสารก็ยังไม่เข้าใจง่าย ๆ หรืออาจจะเป็นคนหัวช้า คิดไม่ทัน ดังนั้นผู้ส่งสารจะต้องหาวิธีสื่อสารให้เหมาะกับแต่ละบุคคล

สื่อ คำที่มีหลายความหมาย ภาษาถิ่น ภาษาท่าทางที่ไม่สอดคล้อง ข้อความที่เกินจริง

กาลเทศะและสภาพแวดล้อม การไม่ศึกษาวัฒนธรรม เสียงรบกวน แสงและอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ระยะทางของการสื่อสาร ทั้งหมดนี้เป็นอุปสรรคที่เกิดจากแวดล้อมและกาลเทศะ

 

หลักในการสื่อสารที่ดี กล่าวโดยสรุปแล้ว สามารถทำได้โดยการที่ผู้สื่อสารจะต้องมีความเข้าใจทั้งกับตัวเอง เรื่องที่จะพูด เลือกสื่อที่เหมาะสม และศึกษาผู้รับสารว่าเป็นคนอย่างไร อยู่ในวัฒนธรรมแบบใด เพียงเท่านี้ การสื่อสาร ก็จะเป็นไปอย่างราบรื่นค่ะ น้อง ๆ ที่มีปัญหาในเรื่องของการสื่อสาร บทเรียนในวันนี้คงจะทำให้น้อง ๆ เข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารมากขึ้น และนำไปปรับใช้ในชีวิตได้นะคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนบทเรียนแล้วทำแบบฝึกหัดกันด้วยนะคะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

วงกลม

วงกลม

วงกลม วงกลม ประกอบด้วยจุดศูนย์กลาง (center) เส้นผ่านศูนย์กลาง และรัศมี (radius) สมการรูปแบบมาตรฐานของวงกลม สมการรูปแบบมาตรฐานของวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ (h, k) คือ (x-h)² + (y-k)² = r² จากสมการ จะได้ว่า มีจุดศูนย์กลางที่ (h, k) และรัศมี r จะเห็นว่าถ้าเรารู้สมการมาตรฐานเราจะรู้รัศมี

โคลนติดล้อ บทความปลุกใจในรัชกาลที่ 6

เป็นที่รู้กันดีกว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ของเรานั้น ทรงโปรดงานด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ยังเยาว์ และเริ่มงานวรรณกรรมตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ทำให้มีผลงานในพระราชนิพนธ์มากมายหลายเรื่อง และแตกต่างกันออกไป ที่ผ่านมาน้อง ๆ คงจะได้เรียนมาหลายเรื่องแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับผลงานของพระองค์อีกเรื่องหนึ่ง แตกต่างจากเรื่องก่อน ๆ ที่เคยเรียนมาอย่างแน่นอน เพราะเรากำลังพูดถึงโคลนติดล้อ ผลงานในพระราชนิพนธ์ที่อยู่ในรูปแบบของบทความ จะมีที่มา มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันเลยค่ะ   ที่มาของ โคลนติดล้อ

causatives

Causatives: Have and Get Something Done

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้ไวยากรณ์เรื่อง Causatives หรือการใช้ Have/Get Something Done ที่น้องๆ บางคนอาจจะสงสัยว่าคืออะไร ลองไปดูกันเลยครับ

รูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน

การสมมูลกันของประพจน์สำคัญอย่างไร?? ถือว่าสำคัญค่ะ เพราะถ้าเรารู้ว่าประพจน์ไหนสมมูลกับประพจน์อาจจะทำให้การตรวจสอบการเป็นสัจนิรันดร์และการหาค่าความจริงง่ายขึ้น หลังจากอ่านบทความนี้จบ น้องๆจะสามารถทำแบบฝึกหัดเรื่องการสมมูลได้และพร้อมทำข้อสอบได้แน่นอน

NokAcademy_ม5 Relative Clause

การเรียนเรื่อง Relative Clause

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 5 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อมากขึ้น พร้อมข้อสอบ Error

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1