การใช้พจนานุกรม เรียนรู้วิธีหาคำให้เจอได้อย่างทันใจ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

พจนานุกรม มาจากคำภาษาบาลีว่า วจน (อ่านว่า วะ-จะ-นะ) ภาษาไทยแผลงเป็น พจน์ แปลว่า คำ คำพูด ถ้อยคำ กับคำว่า อนุกรม แปลว่า ลำดับ เมื่อรวมกันแล้วพจนานุกรมจึงหมายถึงหนังสือที่รวบรวมคำโดยจัดเรียงคำตามลำดับตัวอักษร แต่ด้วยความที่คำในภาษาไทยของเรานั้นมีมากมาย ทำให้น้อง ๆ หลายคนอาจจะมีท้อใจบ้างเมื่อเห็นความหนาของเล่มพจนานุกรม ไม่รู้จะหาคำที่ต้องการได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงวิธี การใช้พจนานุกรม กันค่ะว่าเราจะมีวิธีการอ่านและใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของพจนานุกรมไทย

พจนานุกรมในช่วงแรกไม่ได้เรียงตามลำดับอักษร แต่รวบรวมคำศัพท์ภาษาไทยเพื่อประกอบการอ่านวรรณคดีร้อยกรอง ต่อมามีการจัดเรียงตามลำดับอักษรโดยกรมศึกษาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดพิมพ์พจนานุกรมเล่มแรกเมื่อปี พ.ศ. 2435 ภายหลังมีการจัดตั้งราชบัณฑิตยสถานขึ้นและตีพิมพ์พจนานุกรมฉบับใหม่ในปี พ.ศ. 2493

 

ประเภทของพจนานุกรม

 

พจนานุกรมมีแบ่งออกเป็นหลายประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ดังนี้

 

การใช้พจนานุกรม

 

  • พจนานุกรมภาษา พจนานุกรมไทยเป็นไทย
  • พจนานุกรมเฉพาะเรื่อง รวบรวมคำศัพท์ในเรื่องที่สนใจ เช่น พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์
  • พจนานุกรมประกอบภาพ เช่น พจนานุกรมหัตถกรรมและอุตสาหกรรมพื้นบ้าน

 

การใช้พจนานุกรม

 

เราสามารถหาคำที่ต้องการในพจนานุกรมได้อย่างง่าย ๆ โดยดูจากการเรียงลำดับคำในพจนานุกรม

 

การใช้พจนานุกรม

 

 

เรียงตามพยัญชนะ

 

การใช้พจนานุกรม

 

 

เรียงตามสระ

 

 

– พจนานุกรมจะเรียงตามรูป ไม่เรียงตามเสียง เช่นคำที่ขึ้นต้นด้วย ทร- ถึงจะออกเสียง ซ แต่คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเหล่านี้จะอยู่ที่หมวดตัวอักษร ท

– คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตามด้วยพยัญชนะ จะมาก่อนคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตามด้วยสระ

– กรณีที่มีพยัญชนะและสระเหมือนกัน ให้สังเกตที่ตัวสะกด

– กรณีที่มีทั้งพยัญชนะ สระ และตัวสะกดเหมือนกัน ให้ดูที่วรรณยุกต์ ดังนี้ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่ถ้ามีไม้ไต่คู้ด้วย ไม้ไต่คู้จะมาก่อนวรรณยุกต์ เอก โท ตรี จัตวา

 

ตัวอย่างการเรียง

1. เริ่มจากพยัญชนะหรือคำที่ไม่มีสระปรากฏเป็นรูปประสม

ก กก กง กช กฎ กฎ กณ กด กต กถ กท กน กบ กป กม กร กฤ กล กว กษ กส กอ

2. ตามด้วยพยัญชนะกับสระปรากฏเป็นรูปประสมกัน

กะ กัก กา กำ กิก กีก กึก กุก กกู เก เกะ เกา เกาะ เกิน เกีย เกียะ เกือ แก แกะ โก โกะ ใก ไก

 

ข้อสังเกตเกี่ยวกับ การใช้พจนานุกรม

 

 

 

อักษรย่อในพจนานุกรม

 

อักษรย่อหน้าบทนิยาม บอกชนิดของคำตามหลักไวยกรณ์

ก. = กริยา

น. = นาม

บ. = บุพบท

ส. = สรรพนาม

ว. = วิเศษณ์

สัน. = สันธาน

อ. = อุทาน

 

อักษรย่อในวงเล็บท้ายบทนิยาม บอกที่มาของคำ

(ข.) = เขมร

(ช.) = ชวา

(ป.) = ปาลิ (บาลี)

(จ.) = จีน

(ส.) = สันสกฤต

(อ.) = อังกฤษ

 

อักษรย่อในวงเล็บหน้าบทนิยาม บอกลักษณะของคำที่ใช้เฉพาะ

(กฎ) คือ คำที่ใช้ในกฎหมาย

(กลอน) คือ คำที่ใช้ในบทร้อยกรอง

(คณิต) คือ คำที่ใช้ในคณิตศาสตร์

(ถิ่น) คือ คำที่เป็นภาษาเฉพาะถิ่น

(ราชา) คือ คำราชาศัพท์

(โบ) คือ คำโบราณ

 

พจนานุกรมไม่เพียงแต่บอกความหมายของคำ แต่นอกจากนี้ให้ความรู้ในเรื่องการเขียน บอกเสียงอ่าน ให้ความหมายของคำแต่เพียงสั้น ๆ มักให้ตัวอย่างของคำและอาจบอกประวัติที่มาของคำด้วย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะเข้าถึงเทคโนโลยีกันได้ง่ายขึ้น สามารถสืบค้นหาคำต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องมานั่งเปิดพจนานุกรมแบบสมัยก่อน แต่พจนานุกรมก็ยังมีประโยชน์อยู่ในยามที่เราไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังได้ฝึกสมาธิ และในระหว่างหาคำศัพท์ เราก็อาจจะได้พบคำศัพท์ใหม่ ๆ ผ่านตาเพิ่มพูนความรู้แก่ตัวเองได้อีกด้วย สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียน และไปฝึกทดสอบการเรียงคำพร้อมกับครูอุ้มได้ในคลิปการสอนย้อนหลัง เพื่อทำความเข้าใจและเรียงคำได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้นค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ สำหรับบางเหตุการณ์ความรู้เรื่องความน่าจะเป็นเพียงอย่างเดียว  อาจไม่เพียงพอที่จะช่วยตัดสินใจได้  จำเป็นจะต้องหาองค์ประกอบอื่นมาช่วยในการตัดสินใจด้วย  นั่นคือผลตอบแทนของการเกิดเหตุการณ์นั้น ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ⇐⇐ ผลตอบแทนของเหตุการณ์อาจหมายถึง ผลตอบแทนที่ได้หรือผลตอบแทนที่เสีย  เช่น  ในการเล่นแทงหัวก้อย  ถ้าออกหัว พีชจะได้เงิน 2 บาท และถ้าออกก้อย พอลจะต้องเสียเงิน 3 บาท เงิน 2 บาทที่พอลจะได้รับเป็นผลตอบแทนที่ได้ 

M5 การใช้ Phrasal Verbs

การใช้ Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” การใช้ Phrasal Verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Phrasal Verbs คืออะไร   Phrasal Verbs คือ คำกริยา โดยเป็นกริยาที่มีคำอื่นๆ อย่างเช่น คำบุพบท (Preposition) ร่วมกันส่วนใหญ่แล้ว Phrasal Verbs จะบอกถึงการกระทำ มักจะเจอในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ทั่วไป

เรียนรู้บทร้องกรองสุภาษิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

การนำสุภาษิตมาแต่งเป็นบทร้อยกรอง เรียกว่า บทประพันธ์ร้อยกรองสุภาษิต ซึ่งบทที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในวันนี้คือบทร้อยกรองสุภาษิตเรื่อง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เราไปดูกันเลยค่ะว่าที่มจากของบทร้อยกรองนี้จะเป็นอย่างไร มาจากสุภาษิตอะไร รวมไปถึงถอดความหมายตัวบท ศึกษาคำศัพท์ที่น่ารู้และศึกษาคุณค่าที่อยู่ในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลย   ความเป็นมา ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน     ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ผู้แต่งคือ นายเพิ่ม สวัสดิ์วรรณกิจ เป็นบทร้อยกรองประเภทกลอนแปด พิมพ์รวมอยู่ในหนังสือบทประพันธ์อธิบายสุภาษิตของวรรณคดีสมาคมแห่งประเทศไทย    

กลอนสุภาพ แต่งอย่างไรให้ไพเราะ

กลอนสุภาพ เป็นคำประพันธ์ที่หลาย ๆ คนคงจะรู้จักกันดีเพราะพบเจอในวรรณคดีได้ง่าย ใช้กันอย่างแผ่หลาย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนมาสวมบทนักกวี ฝึกแต่งกลอนสุภาพกันอย่างง่าย ๆ จะมีวิธีและรูปฉันทลักษณ์อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ   ความรู้ทั่วไปเที่ยวกับกลอนสุภาพ   กลอนสุภาพ หมายถึง กลอนเพลงยาว บางครั้งเรียก กลอนแปด กลอนตลาด กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่งที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบ ๆ

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

ลิลิตตะเลงพ่าย

ถอดความหมายตัวบทเด่นใน ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเรื่องดังที่มีตัวบทเด่น ๆ มากมาย สำหรับการถอดคำประพันธ์ในวันนี้เราได้คัดเลือกบทเด่น ๆ มาให้น้อง ๆ ได้เรียนกันถึง 13 บทเลยทีเดียว แต่เพราะเนื้อหาที่สนุก ภาษาที่สละสลวย รับรองว่าน้อง ๆ จะไม่มีทางเบื่อวรรณคดีเรื่องนี้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนความหมายของแต่ละบทพร้อมกันเลยนะคะ ตัวบทเด่น ๆ ใน ลิลิตตะเลงพ่าย   บทที่ 1  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1