ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของเรื่อง

 

ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี พ.ศ. 1888 มีจุดมุ่งหมายเพื่อเทศนาโปรดพระมารดาและเพื่อสั่งสอนประชาชน ต้นฉบับสูญหายไประยะหนึ่ง ต่อมาได้พบไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือ 10 ผูกซึ่งคัดลอกไว้โดย พระมหาช่วย วัดปากน้ำ (วัดกลาง จังหวัดสมุทรปราการ) เมื่อสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เดือน 4 ปีจอ จุลศักราช 1140 (พ.ศ. 2321) และได้มีการตีพิมพ์ขึ้นมาเป็นครั้งแรกงานพระเมรุศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประสานศรีใส และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพศรีสอาด

 

ไตรภูมิพระร่วง

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

ลักษณะการแต่งเป็นร้อยแก้ว แบบพรรณนาโวหาร บรรยายโวหาร และเทศนาโวหาร

 

ความหมายของไตรภูมิพระร่วง

 

ไตรภูมิ หมายถึง แดนที่กำเนิดของสัตว์ 3 จำพวกหรือชั้นที่เป็นอยู่ของสัตว์ 3 จำพวก คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ

 

ไตรภูมิพระร่วง

 

กามภูมิ (หรือกามโลก) แบ่งเป็น 11 ส่วนย่อยได้แก่

ทุคติภูมิ

  1. นรกภูมิ
  2. เปรตภูมิ
  3. อสูรกายภูมิ
  4. เดรัจฉานภูมิ

สุคติภูมิ

  1. มนุสสภูมิ
  2. จาตุมหาราชิกา
  3. ดาวดึงส์
  4. ยามา
  5. ดุสิต
  6. นิมมานรดี
  7. ปรนิมมิตวสวัตดี

รูปภูมิ แบ่งเป็น 16 ชั้น เป็นที่สถิตของพระพรหม (ตามคติของพราหมณ์)

  1. พรหมปกติ 11
  2. พรหมชั้นสูง 5 (ปัญจสุทธาส)

พระพรหมที่จะสถิตอยู่จะต้องบำเพ็ญฌาน แบ่งออกเป็น ปฐมฌานภูมิ 3 ทุติยฌานภูมิ 3 ตติยฌานภูมิ 3 และจตุตฌานภูมิ 7

 

อรูปภูมิ (หรืออรูปโลก) แบ่งเป็น 4 ชั้น เป็นที่สถิตของพระพรหมระดับสูงซึ่งไม่มีรูปกาย

  • ชั้นที่ 1 อากาสานัญจายตนภูมิ
  • ชั้นที่ 2 วิญญาณัญจายตนภูมิ
  • ชั้นที่ 3 อากิญจัญญายตนภูมิ
  • ชั้นที่ 4 เป็นภูมิชั้นสูงสุดในไตรภูมิ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

เนื้อหาของไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ

 

มนุสสภูมิเป็นภูมิหนึ่งในกามภูมิ กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ โดยอธิบายว่าเมื่อแรกปฏิสนธินั้นมนุษย์ที่อยู่ในครรภ์มารดาจะมีขนาดเท่ากลละ หรือเซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุด พอครบ 7 วันจะมีลักษณะเหมือนน้ำล้างเนื้อ เรียกว่า “อัมพุทะ” อีก 7 วันถัดมาจะเป็นชิ้นเนื้อในครรภ์มารดา หรือเรียกว่า “เปสิ” ซึ่งมีลักษณะข้นเหมือนตะกั่วเชื่อมในหม้อหลังจากนั้นในอีก 7 วัน ทารกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นก้อนดังไข่ไก่เรียกว่า “ฆนะ” จากนั้นจะเกิด “เบญจสาขาหูด” คือ มีมือ 2 อัน เท้า 2 อัน และหัวอีก 1 หัว พัฒนาต่อเรื่อย ๆ จนครบจำนวนครบ 32 ทารกจะนั่งยอง ๆ กำมือทั้งสอง คู้ตัวหัวเข่าอยู่ในครรภ์มารดา ประมาณ 7-11 เดือน จึงจะคลอดออกมา

 

ไตรภูมิพระร่วง

 

สภาพตอนอยู่ในครรภ์มารดา

เด็กที่อยู่ในท้องนั้นต้องได้รับความลำบากอย่างมาก ต้องทนอยู่ในที่ที่ทั้งชื้นและเหม็นพยาธิซึ่งอาศัยปนอยู่ในครรภ์คอยชอนไช

 

 

การคลอด

กุมารที่มีอายุ 6 เดือน อาจไม่รอด หากอายุครรภ์ 7 เดือน กุมารมักจะมีสุขภาพอ่อนแอ เด็กมาจากนรกเมื่อคลอดออกมาจะส่งเสียงร้องไห้ ส่วนเด็กที่มาจากสวรรค์ เมื่อคลอดออกมาจะหัวเราะ เด็กที่เพิ่งคลอดจะไม่สามารถจำสิ่งจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้ ยกเว้นผู้ที่เป็นปัจเจกพุทธเจ้าและผู้ที่เป็นอรหันตาขีณาสพ

 

ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่แต่งในสมัยสุโขทัย แต่เนื้อหาถือว่าก้าวล้ำเกินวิทยาการในยุคนั้นไปมาก อย่างเช่นการอธิบายถึงการเกิดมนุษย์ในตอนที่ถูกยกมาเป็นแบบเรียนภาษาไทย ทำให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อของศาสนากับวิทยาศาสตร์ ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจและน่าศึกษามาก ๆ เลยค่ะ สำหรับบทเรียนเรื่องไตรภูมิพระร่วงนี้ยังไม่จบนะคะ เพราะเราจะต้องไปศึกษาตัวบทเด่นเพื่อถอดความและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องกันต่ออีก แต่ก่อนจะไปศึกษาบทเรียนถัดไป น้อง ๆ อย่าลืมทำแบบฝึกหัดทบทวนและชมคลิปการสอนของครูอุ้มย้อนหลังกันด้วยนะคะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

รู้จักอาหารชาววังโบราณผ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทเรียนในวันนี้อยากให้น้อง ๆ ทานอาหารกันให้อิ่มก่อน เพราะว่าครั้งนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับอาหารชาววังทั้งของหวานอาหารคาวสารพัดเมนู ในบทเรียนวรรณคดีอันโด่งดังอย่างกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาต้องได้เรียนอย่างแน่นอน รับรองว่าถ้าเรียนเรื่องนี้จบแล้ว น้อง ๆ ทุกคนจะได้รู้จักอาหารโบราณน่าทานอีกหลากหลายเมนูเลย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเข้าสู่เนื้อหากันเลยดีกว่า     ประวัติความเป็นมา ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับอาหารต่าง ๆ ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เราจะขอพาน้อง ๆ

พญาช้างผู้เสียสละ

ทำความรู้จักกับพญาช้างผู้เสียสละนิทานธรรมะจรรโลงใจ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งในวิชาภาษาไทยแสนสนุก ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาเปลี่ยนบรรยากาศกันด้วยการมาอ่านนิทานชาดกเรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ได้ลงมาเกิดเป็นพญาช้างรูปร่างงดงาม ต้องบอกว่าเรื่องราวในนิทานชาดกเรื่องนี้นอกจากจะทำให้น้อง ๆ สนุกไปกับเนื้อเรื่องแล้วก็ยังมอบคติสอนใจให้กับน้อง ๆ ได้ไม่น้อยเลย เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนพร้อมแล้วไปเข้าสู่บทเรียนกันเลย ภูมิหลังตัวละคร สำหรับเรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ อย่างที่ได้บอกไปว่าเป็นนิทานชาดกที่จัดเป็น 1 ใน 500 ชาติที่พระพุทธเจ้าเคยได้เสวยชาติ ซึ่งชาดกเรื่องนี้จะเล่าถึงพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ได้ลงมาเกิดเป็นพญาช้างสีลวะ ด้วยความที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีมานานจึงได้เกิดเป็นพญาช้างร่างใหญ่กำยำผิวขาวเผือกผ่อง มีงวงและงาสวยงามและมีบริวารรายล้อม

คติธรรมในสำนวนไทย

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง   สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม   สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย

NokAcademy_Infinitives after verbs

Infinitives after verbs

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปดูการใช้ Infinitives after verbs กันเด้อ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดจร้า Let’s go!   ทบทวนความหมายของ “Infinitive”   Infinitive คือ   กริยารูปแบบที่ไม่ผัน ไม่เติมอะไรใดๆเลย ที่นำหน้าด้วย to (Infinitive with “to” หรือ

การใช้ the

การใช้ The

  Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูได้สรุปเรื่อง “การใช้ The” ซึ่งเป็น 1 ใน Articles ที่สำคัญมากๆ พร้อมเทคนิคการนำไปใช้ มาฝากกันค่ะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า Let’s go!   Articles คืออะไร   Articles เป็นคำคุณศัพท์อย่างหนึ่ง การเรียน

Three-word Phrasal Verbs

Three-word Phrasal verbs

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูมีกริยาวลีที่ใช้บ่อยแบบ 3 คำ หรือ Three-word Phrasal Verbs มาฝากกันจ้า ด้านล่างเลยน๊า ขอให้ท่องศัพท์ให้สนุกจ้า ตารางคำศัพท์Three-word Phrasal Verbs ต้องรู้   ask somebody out ชวนออกเดท/ชวนออกไปข้างนอก add up to something ทำให้สมน้ำสมเนื้อ/ทำให้เท่ากัน back something up

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1