รู้จักอาหารชาววังโบราณผ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทเรียนในวันนี้อยากให้น้อง ๆ ทานอาหารกันให้อิ่มก่อน เพราะว่าครั้งนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับอาหารชาววังทั้งของหวานอาหารคาวสารพัดเมนู ในบทเรียนวรรณคดีอันโด่งดังอย่างกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาต้องได้เรียนอย่างแน่นอน รับรองว่าถ้าเรียนเรื่องนี้จบแล้ว น้อง ๆ ทุกคนจะได้รู้จักอาหารโบราณน่าทานอีกหลากหลายเมนูเลย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเข้าสู่เนื้อหากันเลยดีกว่า

 

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

 

ประวัติความเป็นมา

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับอาหารต่าง ๆ ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เราจะขอพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้ เพื่อให้น้อง ๆ ได้รู้จักผู้แต่ง เข้าใจจุดมุ่งหมาย และลักษณะคำประพันธ์ของเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น

 

ผู้แต่ง

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) แต่สันนิษฐานว่าได้แต่งขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1)

 

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

สำหรับจุดมุ่งหมายในการแต่งกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานขึ้นมานั้น เนื่องจากรัชกาลที่ 2 ต้องการจะใช้กาพย์เห่นี้เพื่อยกยอฝีมือการทำเครื่องเสวยของเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด (เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ) ซึ่งเป็นพระชายาของรัชกาลที่ 2 และอีกจุดมุ่งหมายหนึ่งก็เป็นเสมือนการพรรณนาถึงความรักความคิดถึงหลังจากที่ต้องแยกจากเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดเป็นระยะเวลานาน

 

ลักษณะคำประพันธ์

กาพย์เห่ เป็นการประพันธ์ที่เก่าแก่ ทรงคุณค่า และมีลักษณะโดดเด่น เพราะส่วนใหญ่แล้วจะใช้การผสมผสานกันระหว่างโคลงสี่สุภาพ กับกาพย์ยานี 11 ซึ่งในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานจะใช้การแต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บทนำมาวางเริ่มต้นเป็นบทนำ ต่อจากนั้นจะแต่งด้วยกาพย์ยานี 11 ยาวไปเรื่อย ๆ ไปจนจบ โดยทั้งโคลง และกาพย์นั้นจะต้องมีเนื้อเรื่องที่เชื่อมโยงกัน เหมือนในบทแรกของกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานที่โคลง และกาพย์จะกล่าวถึงแกงมัสมั่นเหมือนกัน มีเนื้อความสอดคล้องต้องกัน

 

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

 

เมนูน่าสนใจในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

หลังจากที่น้อง ๆ ได้รู้ประวัติความเป็นมาของกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานแล้ว เราจะมาทำความรู้จักกับเมนูอาหารชาววังที่เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่เคยได้ลิ้มลอง หรือพบเห็นได้บ่อยในปัจจุบัน ถือเป็นการเรียนรู้อาหารไทยในอดีตที่ทั้งรสชาติดี และใช้ความวิจิตรบรรจงมาก ๆ กว่าจะรังสรรค์ออกมาเป็นอาหารเหล่านี้ได้มาดูกันว่ามีเมนูอะไรบ้าง

 

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

 

ยำใหญ่

เป็นอาหารจานหลักที่มักทานกันในวังสมัยก่อน ซึ่งจะใช้วัตถุดิบแตกต่างจากยำที่น้อง ๆ เคยทานกัน ยำใหญ่ จะค่อนข้างใส่เครื่องเยอะ ทั้งหัวหอมใหญ่ ใบสะระแหน่ แตงกวา ขึ้นฉ่าย ไข่แดงต้มสุก งาขาว ถั่วลิสง และกุ้งต้มสุกนำมาคลุกเคล้าเข้ากับน้ำยำ

 

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

 

หมูแนม

เมนูนี้ชาววังในสมัยก่อนนิยมทานเป็นอาหารว่าง เป็นอาหารที่ต้องใช้ความพิถีพิถันในการทำ และมีวัตถุดิบที่หลากหลายมาก เช่น เนื้อหมูนึ่งหรือลวกให้สุก หมูสามชั้นนึ่งหรือลวก  หนังหมู  หัวกะทิ  น้ำส้มซ่า เปลือกส้มซ่าหั่นฝอย กระเทียมดอง ข้าวคั่ว ถั่วลิสงทุบให้แหลก หอมแดง ข่าอ่อนโขลก พริกชี้ฟ้าหั่นฝอย ใบทองหลางใบชะพลู และผักกาดหอม เป็นอาหารที่มักทานคู่กับผักเคียง หรือห่อด้วยผักแล้วทานพร้อมกัน

 

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

 

ล่าเตียง

อีกหนึ่งเมนูอาหารว่างที่ต้องใช้ความประณีตในการทำมาก ๆ นั่นก็คือ ล่าเตียง หรือหลายคนอาจจะเรียกว่าหรุ่ม ซึ่งมีวัตถุดิบสำคัญ ๆ อย่าง หมูสับละเอียด กุ้งสับ หอมใหญ่หั่น ใบผักชี รากผักชี กระเทียม พริกไทย  พริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอยไข่เป็ดสำหรับทำแป้งห่อ

 

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

 

แสร้งว่าไตปลา

เมนูนี้หลายคนอาจจะรู้จักกันในชื่อ แกงไตปลา แต่เมื่อนำมาทำเป็นแสร้งว่าก็จะต้องมีเครื่องปรุง หรือวัตถุดิบที่มากขึ้นมาอีก โดยส่วนประกอบหลัก ๆ จะมีไตปลา ถั่วฝักยาว หน่อไม้ลวกต้มหั่นเป็นชิ้น ๆ ฟักทองไม่ต้องปลอกเปลือก ส้มแขกแห้ง ยอดส้มแป้น กล้วยเล็บมือนางดิบ มะเขือพวง มะเขือเปราะ ตะไคร้ซอย ข่า ผิวมะกรูดหั่น ขมิ้นชันสด กะปิ และกระชายซอย ปัจจุบันเราอาจจะเห็นเมนูนี้กลายเป็นอาหารพื้นเมืองประจำ  ภาคใต้ มีรสชาติ และกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์

 

บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ ทุกคน หลังจากได้รู้จักกับเมนูอาหารชาววังในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานกันแล้ว มีเมนูไหนที่น้อง ๆ ชื่นชอบ หรืออยากทานเป็นพิเศษหรือเปล่า เรียกว่าเป็นวรรณคดีที่รัชกาลที่ 2 ได้แสดง พระปรีชาสามารถในด้านการแต่งคำประพันธ์ไว้อย่างไพเราะงดงามทั้งด้านภาษา และวรรณศิลป์ ทำให้เรามองเห็นภาพของอาหารต่าง ๆ ตามไปด้วยเลย ถือเป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่เด็ก ๆ ทุกคนควรจะได้อ่านเพื่ออนุรักษ์ความเป็นไทยจากการทำความรู้จักอาหารโบราณที่ปัจจุบันหาทานได้ยากมาก ๆ และถ้าน้อง ๆ คนไหนที่อยากศึกษาเพิ่มเติมก็สามารถไปดูคลิปด้านล่างนี้ได้เลย ซึ่งครูอุ้มได้แบ่งเนื้อหามาสอนไว้อย่างละเอียดเลยทีเดียว

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันประกอบ

ฟังก์ชันประกอบ

ฟังก์ชันประกอบ ฟังก์ชันประกอบ คือฟังก์ชันที่เกิดจากการหาค่าฟังก์ชันที่ส่งจากเซต A ไปเซต C โดยที่ f คือฟังก์ชันที่ส่งจาก A ไปยัง B และ g เป็นฟังก์ชันที่ส่งจาก B ไปยัง C เราเรียกฟังก์ชันที่ส่งจาก A ไป C นี้ว่า gof  จากรูป

ราชาศัพท์

ราชาศัพท์ คำใดบ้างที่เราควรรู้?

น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินคำราชาศัพท์มาบ้างเวลาที่เปิดโทรทัศน์ดูข่าวช่วงหัวค่ำ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า ราชาศัพท์ ที่นักข่าวในโทรทัศน์พูดกันบ่อย ๆ มีความหมายว่าอะไรบ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับคำราชาศัพท์ เพื่อที่เวลาน้อง ๆ ฟังข่าว จะได้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ราชาศัพท์     การแบ่งลำดับขั้นของบุคคลในการใช้คำราชาศัพท์ แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

การหารเลขยกกำลัง

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก บทความนี้ ได้รวบรวมตัวอย่าง การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ซึ่งทำได้โดยการใช้สมบัติการหารของเลขยกกำลัง ก่อนจะเรียนรู้ ตัวอย่างการหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ⇐⇐ สมบัติของการหารเลขยกกำลัง  am ÷ an  = am – n     (ถ้าเลขยกกำลังฐานเหมือนกันหารกัน ให้นำเลขชี้กำลังมาลบกัน)

Adjective Profile

คำคุณศัพท์ (Adjective)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เรื่อง คำคุณศัพท์ หรือ Adjective ในภาษาอังกฤษกันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย   ความหมายของคำคุณศัพท์     คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

อิเหนา

อิเหนา จากนิทานปันหยีสู่วรรณคดีเลื่องชื่อของไทย

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ถูกเผยแพร่เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าจุดเริ่มต้นของนิทานของชาวชวานี้มีจุดเริ่มต้นในไทยอย่างไร เหตุใดถึงถูกประพันธ์ขึ้นเป็นบทละครให้ได้เล่นกันในราชสำนัก ถ้าน้อง ๆ พร้อมหาคำตอบแล้ว เราไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิงกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   อิเหนามีความเป็นมาจากนิทานปันหยี หรือที่เรียกว่า อิเหนาปันหยีรัตปาตี ซึ่งเป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา อิทธิพลของเรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยอยุธยา จากการที่เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1