การใช้พจนานุกรม เรียนรู้วิธีหาคำให้เจอได้อย่างทันใจ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

พจนานุกรม มาจากคำภาษาบาลีว่า วจน (อ่านว่า วะ-จะ-นะ) ภาษาไทยแผลงเป็น พจน์ แปลว่า คำ คำพูด ถ้อยคำ กับคำว่า อนุกรม แปลว่า ลำดับ เมื่อรวมกันแล้วพจนานุกรมจึงหมายถึงหนังสือที่รวบรวมคำโดยจัดเรียงคำตามลำดับตัวอักษร แต่ด้วยความที่คำในภาษาไทยของเรานั้นมีมากมาย ทำให้น้อง ๆ หลายคนอาจจะมีท้อใจบ้างเมื่อเห็นความหนาของเล่มพจนานุกรม ไม่รู้จะหาคำที่ต้องการได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงวิธี การใช้พจนานุกรม กันค่ะว่าเราจะมีวิธีการอ่านและใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของพจนานุกรมไทย

พจนานุกรมในช่วงแรกไม่ได้เรียงตามลำดับอักษร แต่รวบรวมคำศัพท์ภาษาไทยเพื่อประกอบการอ่านวรรณคดีร้อยกรอง ต่อมามีการจัดเรียงตามลำดับอักษรโดยกรมศึกษาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดพิมพ์พจนานุกรมเล่มแรกเมื่อปี พ.ศ. 2435 ภายหลังมีการจัดตั้งราชบัณฑิตยสถานขึ้นและตีพิมพ์พจนานุกรมฉบับใหม่ในปี พ.ศ. 2493

 

ประเภทของพจนานุกรม

 

พจนานุกรมมีแบ่งออกเป็นหลายประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ดังนี้

 

การใช้พจนานุกรม

 

  • พจนานุกรมภาษา พจนานุกรมไทยเป็นไทย
  • พจนานุกรมเฉพาะเรื่อง รวบรวมคำศัพท์ในเรื่องที่สนใจ เช่น พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์
  • พจนานุกรมประกอบภาพ เช่น พจนานุกรมหัตถกรรมและอุตสาหกรรมพื้นบ้าน

 

การใช้พจนานุกรม

 

เราสามารถหาคำที่ต้องการในพจนานุกรมได้อย่างง่าย ๆ โดยดูจากการเรียงลำดับคำในพจนานุกรม

 

การใช้พจนานุกรม

 

 

เรียงตามพยัญชนะ

 

การใช้พจนานุกรม

 

 

เรียงตามสระ

 

 

– พจนานุกรมจะเรียงตามรูป ไม่เรียงตามเสียง เช่นคำที่ขึ้นต้นด้วย ทร- ถึงจะออกเสียง ซ แต่คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเหล่านี้จะอยู่ที่หมวดตัวอักษร ท

– คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตามด้วยพยัญชนะ จะมาก่อนคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตามด้วยสระ

– กรณีที่มีพยัญชนะและสระเหมือนกัน ให้สังเกตที่ตัวสะกด

– กรณีที่มีทั้งพยัญชนะ สระ และตัวสะกดเหมือนกัน ให้ดูที่วรรณยุกต์ ดังนี้ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่ถ้ามีไม้ไต่คู้ด้วย ไม้ไต่คู้จะมาก่อนวรรณยุกต์ เอก โท ตรี จัตวา

 

ตัวอย่างการเรียง

1. เริ่มจากพยัญชนะหรือคำที่ไม่มีสระปรากฏเป็นรูปประสม

ก กก กง กช กฎ กฎ กณ กด กต กถ กท กน กบ กป กม กร กฤ กล กว กษ กส กอ

2. ตามด้วยพยัญชนะกับสระปรากฏเป็นรูปประสมกัน

กะ กัก กา กำ กิก กีก กึก กุก กกู เก เกะ เกา เกาะ เกิน เกีย เกียะ เกือ แก แกะ โก โกะ ใก ไก

 

ข้อสังเกตเกี่ยวกับ การใช้พจนานุกรม

 

 

 

อักษรย่อในพจนานุกรม

 

อักษรย่อหน้าบทนิยาม บอกชนิดของคำตามหลักไวยกรณ์

ก. = กริยา

น. = นาม

บ. = บุพบท

ส. = สรรพนาม

ว. = วิเศษณ์

สัน. = สันธาน

อ. = อุทาน

 

อักษรย่อในวงเล็บท้ายบทนิยาม บอกที่มาของคำ

(ข.) = เขมร

(ช.) = ชวา

(ป.) = ปาลิ (บาลี)

(จ.) = จีน

(ส.) = สันสกฤต

(อ.) = อังกฤษ

 

อักษรย่อในวงเล็บหน้าบทนิยาม บอกลักษณะของคำที่ใช้เฉพาะ

(กฎ) คือ คำที่ใช้ในกฎหมาย

(กลอน) คือ คำที่ใช้ในบทร้อยกรอง

(คณิต) คือ คำที่ใช้ในคณิตศาสตร์

(ถิ่น) คือ คำที่เป็นภาษาเฉพาะถิ่น

(ราชา) คือ คำราชาศัพท์

(โบ) คือ คำโบราณ

 

พจนานุกรมไม่เพียงแต่บอกความหมายของคำ แต่นอกจากนี้ให้ความรู้ในเรื่องการเขียน บอกเสียงอ่าน ให้ความหมายของคำแต่เพียงสั้น ๆ มักให้ตัวอย่างของคำและอาจบอกประวัติที่มาของคำด้วย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะเข้าถึงเทคโนโลยีกันได้ง่ายขึ้น สามารถสืบค้นหาคำต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องมานั่งเปิดพจนานุกรมแบบสมัยก่อน แต่พจนานุกรมก็ยังมีประโยชน์อยู่ในยามที่เราไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังได้ฝึกสมาธิ และในระหว่างหาคำศัพท์ เราก็อาจจะได้พบคำศัพท์ใหม่ ๆ ผ่านตาเพิ่มพูนความรู้แก่ตัวเองได้อีกด้วย สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียน และไปฝึกทดสอบการเรียงคำพร้อมกับครูอุ้มได้ในคลิปการสอนย้อนหลัง เพื่อทำความเข้าใจและเรียงคำได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้นค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน(Conjunctions)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน(Conjunctions)“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น for, and, or, nor, so, because, since ดังตัวอย่างด้านล่างเลยจ้า ตัวอย่างเช่น เชื่อมนามกับนาม

แยกให้ออก บอกให้ถูกสำนวน สุภาษิต คำพังเพยแตกต่างกันอย่างไร?

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคนกลับมาเข้าสู่เนื้อหาการเรียนภาษาไทยกันอีกเช่นเคย สำหรับวันนี้จะเป็นบทเรียนที่ทั้งสนุก มีสาระ และเป็นเนื้อหาที่เราต้องได้เจอบ่อย ๆ ในการเรียนภาษาไทยอย่างเรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย น้อง ๆ อาจจะเคยได้ผ่านหูผ่านตากันมาบ้างเพราะเป็นบทเรียนที่ได้เริ่มเรียนตั้งแต่ช่วงประถมศึกษาแล้ว แต่วันนี้เราจะมาเรียนรู้ในเชิงลึกขึ้นไปอีกเกี่ยวกับวิธีการสังเกตระหว่างสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยนั้นมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร มีตัวอย่างประกอบให้ทุกคนได้ดูด้วย ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็ไปลุยกับเนื้อหาของวันนี้ได้เลย   สำนวน สำนวน

การออกเสียงพยัญชนะไทย-01

เสียงพยัญชนะไทย ออกเสียงอย่างไรให้ถูกต้อง

  เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคงเคยสงสัยเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทยกันไม่มากก็น้อย เพราะพยัญชนะในภาษาไทยของเรานั้นมีด้วยกัน 44 ตัว แต่กลับมีหน่วยเสียงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ทำไมการออกเสียงพยัญชนะไทยถึงไม่สามารถออกเสียงตามรูปอักษรทั้ง 44 รูปได้? ไหนจะพยัญชนะท้ายที่เขียนอีกอย่างแต่ดันออกเสียงไปอีกอย่าง บทเรียนในวันนี้จะช่วยไขข้อข้องใจให้กับน้อง ๆ หรือคนที่กำลังสับสนเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทย ให้กระจ่างและสามารถออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     เสียงพยัญชนะไทย เสียงพยัญชนะ คือ

โจทย์ปัญหาการคูณทศนิยม

จากบทความที่แล้วเราได้วิเคราะห์โจทย์ปัญหาการบวกและการลบทศนิยมไปแล้ว บทความนี้จึงจะเป็นการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับการคูณ รวมไปถึงการแสดงวิธีทำที่จะทำให้น้อง ๆ เข้าใจ และสามารถนำไปใช้ได้จริง

โคลงโสฬสไตรยางค์

โคลงโสฬสไตรยางค์ โคลงสุภาษิตผลงานพระราชนิพนธ์ในร.5

  โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิต ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและข้อคิดสอนใจมากมาย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีเนื้อหาอะไรและมีข้อคิดอย่างไรบ้าง เราก็ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     โคลงโสฬสไตรยางค์ (พ.ศ. 2423) เป็นโคลงสุภาษิต บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นภาษาอังกฤษ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์โคลงเป็นภาษาไทย โดยพระองค์ได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1