ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของเรื่อง

 

ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี พ.ศ. 1888 มีจุดมุ่งหมายเพื่อเทศนาโปรดพระมารดาและเพื่อสั่งสอนประชาชน ต้นฉบับสูญหายไประยะหนึ่ง ต่อมาได้พบไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือ 10 ผูกซึ่งคัดลอกไว้โดย พระมหาช่วย วัดปากน้ำ (วัดกลาง จังหวัดสมุทรปราการ) เมื่อสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เดือน 4 ปีจอ จุลศักราช 1140 (พ.ศ. 2321) และได้มีการตีพิมพ์ขึ้นมาเป็นครั้งแรกงานพระเมรุศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประสานศรีใส และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพศรีสอาด

 

ไตรภูมิพระร่วง

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

ลักษณะการแต่งเป็นร้อยแก้ว แบบพรรณนาโวหาร บรรยายโวหาร และเทศนาโวหาร

 

ความหมายของไตรภูมิพระร่วง

 

ไตรภูมิ หมายถึง แดนที่กำเนิดของสัตว์ 3 จำพวกหรือชั้นที่เป็นอยู่ของสัตว์ 3 จำพวก คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ

 

ไตรภูมิพระร่วง

 

กามภูมิ (หรือกามโลก) แบ่งเป็น 11 ส่วนย่อยได้แก่

ทุคติภูมิ

  1. นรกภูมิ
  2. เปรตภูมิ
  3. อสูรกายภูมิ
  4. เดรัจฉานภูมิ

สุคติภูมิ

  1. มนุสสภูมิ
  2. จาตุมหาราชิกา
  3. ดาวดึงส์
  4. ยามา
  5. ดุสิต
  6. นิมมานรดี
  7. ปรนิมมิตวสวัตดี

รูปภูมิ แบ่งเป็น 16 ชั้น เป็นที่สถิตของพระพรหม (ตามคติของพราหมณ์)

  1. พรหมปกติ 11
  2. พรหมชั้นสูง 5 (ปัญจสุทธาส)

พระพรหมที่จะสถิตอยู่จะต้องบำเพ็ญฌาน แบ่งออกเป็น ปฐมฌานภูมิ 3 ทุติยฌานภูมิ 3 ตติยฌานภูมิ 3 และจตุตฌานภูมิ 7

 

อรูปภูมิ (หรืออรูปโลก) แบ่งเป็น 4 ชั้น เป็นที่สถิตของพระพรหมระดับสูงซึ่งไม่มีรูปกาย

  • ชั้นที่ 1 อากาสานัญจายตนภูมิ
  • ชั้นที่ 2 วิญญาณัญจายตนภูมิ
  • ชั้นที่ 3 อากิญจัญญายตนภูมิ
  • ชั้นที่ 4 เป็นภูมิชั้นสูงสุดในไตรภูมิ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

เนื้อหาของไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ

 

มนุสสภูมิเป็นภูมิหนึ่งในกามภูมิ กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ โดยอธิบายว่าเมื่อแรกปฏิสนธินั้นมนุษย์ที่อยู่ในครรภ์มารดาจะมีขนาดเท่ากลละ หรือเซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุด พอครบ 7 วันจะมีลักษณะเหมือนน้ำล้างเนื้อ เรียกว่า “อัมพุทะ” อีก 7 วันถัดมาจะเป็นชิ้นเนื้อในครรภ์มารดา หรือเรียกว่า “เปสิ” ซึ่งมีลักษณะข้นเหมือนตะกั่วเชื่อมในหม้อหลังจากนั้นในอีก 7 วัน ทารกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นก้อนดังไข่ไก่เรียกว่า “ฆนะ” จากนั้นจะเกิด “เบญจสาขาหูด” คือ มีมือ 2 อัน เท้า 2 อัน และหัวอีก 1 หัว พัฒนาต่อเรื่อย ๆ จนครบจำนวนครบ 32 ทารกจะนั่งยอง ๆ กำมือทั้งสอง คู้ตัวหัวเข่าอยู่ในครรภ์มารดา ประมาณ 7-11 เดือน จึงจะคลอดออกมา

 

ไตรภูมิพระร่วง

 

สภาพตอนอยู่ในครรภ์มารดา

เด็กที่อยู่ในท้องนั้นต้องได้รับความลำบากอย่างมาก ต้องทนอยู่ในที่ที่ทั้งชื้นและเหม็นพยาธิซึ่งอาศัยปนอยู่ในครรภ์คอยชอนไช

 

 

การคลอด

กุมารที่มีอายุ 6 เดือน อาจไม่รอด หากอายุครรภ์ 7 เดือน กุมารมักจะมีสุขภาพอ่อนแอ เด็กมาจากนรกเมื่อคลอดออกมาจะส่งเสียงร้องไห้ ส่วนเด็กที่มาจากสวรรค์ เมื่อคลอดออกมาจะหัวเราะ เด็กที่เพิ่งคลอดจะไม่สามารถจำสิ่งจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้ ยกเว้นผู้ที่เป็นปัจเจกพุทธเจ้าและผู้ที่เป็นอรหันตาขีณาสพ

 

ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่แต่งในสมัยสุโขทัย แต่เนื้อหาถือว่าก้าวล้ำเกินวิทยาการในยุคนั้นไปมาก อย่างเช่นการอธิบายถึงการเกิดมนุษย์ในตอนที่ถูกยกมาเป็นแบบเรียนภาษาไทย ทำให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อของศาสนากับวิทยาศาสตร์ ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจและน่าศึกษามาก ๆ เลยค่ะ สำหรับบทเรียนเรื่องไตรภูมิพระร่วงนี้ยังไม่จบนะคะ เพราะเราจะต้องไปศึกษาตัวบทเด่นเพื่อถอดความและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องกันต่ออีก แต่ก่อนจะไปศึกษาบทเรียนถัดไป น้อง ๆ อย่าลืมทำแบบฝึกหัดทบทวนและชมคลิปการสอนของครูอุ้มย้อนหลังกันด้วยนะคะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในเรื่อง

จากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนากันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้เราจะยังอยู่กับอิเหนากันนะคะ เพราะนอกจากที่มาและเรื่องย่อแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นให้น่าสนใจและน่าศึกษาเช่นกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง   บทที่ 1    ถอดความ เป็นตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้ราชทูตนำสาส์นไปมอบให้ท้าวดาหาเพื่อสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ โดยบทนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ท้าวกะหมังกุหนิงเขียนถึงท้าวดาหา โดยเปรียบว่าตนเป็นเหมือนรองเท้าที่จะอยู่เคียงกับท้าวดาหา ดังนั้นจึงจะขอสู่ขอพระธิดาให้กับวิหยาสะกำ  

01NokAcademy_Question Tag Profile

เรื่อง Tag Question (1)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ในหัวข้อ “เรื่อง Tag Question “ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Question Tag (Tag Question หรือ Tail Question)   Question Tag ในบางครั้งเรียกว่า Tag Question หรือ Tail Question ก็ได้จร้า 

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง

ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะชมสื่อต่าง ๆ หรือพูดคุยในชีวิตประจำวัน เราก็มักจะเจอคนที่อ่านออกเสียงคำควบกล้ำไม่ชัดอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะคำที่เป็น ร หรือ ล ทำให้การสื่อสารอาจผิดพลาดไปเลยก็ได้ ดังนั้น การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ให้ถูกต้องจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก บทเรียนในวันนี้ นอกจากน้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำว่ามีอะไรบ้างแล้ว ก็ยังจะได้รู้วิธีอ่านออกเสียงอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำควบกล้ำ คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์และใช้สระเดียวกัน

ศึกษาตัวบทและคุณค่าของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช   หลังจากได้ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่ออย่างคร่าว ๆ ของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสากันไปแล้ว บทเรียนวันนี้เราจะมาศึกษาเกี่ยวกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องนี้กันค่ะ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าวรรณคดีที่ถูกแปลมาจากพงศาวดารมอญอย่างราชาธิราชเรื่องนี้จะมีตัวบทไหนที่น่าสนใจและให้คุณค่าอะไรบ้าง   ศึกษาตัวบทราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา     บทเด่น ๆ บทที่ 1    บทดังกล่าวเกิดขึ้นในตอนที่สมิงพระรามอาสาไปขี่ม้ารำทวนสู้กับกามะนี

โคลงโลกนิติ

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในโคลงโลกนิติ

หลังจากที่ได้เรียนรู้ความเป็นมาและเนื้อหาในโคลงโลกนิติกันแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะอยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่าตัวบทในโคลงโลกนิติที่มีอยู่มากมายนั้น มีตัวบทไหนที่เด่น ๆ กันบ้าง วันนี้เรามาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจเพื่อทำความเข้าใจถึงคติธรรมและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องกันค่ะ โคลงโลกนิติ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีคำสอนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคบเพื่อน การปฏิบัติตัวกับพ่อแม่ หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เรามาดูตัวบทเด่น ๆ ที่ควรรู้กันทีละบทเลยนะคะว่าแต่ละบทสอนเรื่องอะไรบ้าง   ศึกษาตัวบท     ความหมาย กล่าวถึงปลาร้าที่มีกลิ่นเหม็น และใบคา แม้ใบคาจะเป็นใบไม้ที่ไม่มีกลิ่นเฉพาะตัว แต่เมื่อนำไปห่อปลาร้าก็จะทำให้มีกลิ่นเหม็นจากปลาร้าติดไปด้วย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1