วัฒนธรรมกับภาษา ความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

วัฒนธรรมกับภาษา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

มนุษย์ก่อให้เกิดภาษา และภาษาก็ก่อให้เกิดวัฒนธรรม น้อง ๆ สงสัยกันหรือไม่คะว่ามนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงเรื่องราวที่ว่านี่กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ

 

มนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา

 

วัฒนธรรม คืออะไร

วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น รากศัพท์ในภาษาละตินมีความหมายว่าการเพาะปลูก แต่ไม่ได้ใช้แค่ในเชิงเกษตรกรรม แต่จะรวมไปถึงการปลูกฝังในด้านต่าง ๆ ทั้งให้การศึกษา ความเคารพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงขึ้นเพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตมนุษย์ในส่วนรวมที่สามารถถ่ายทอดและเลียนแบบกันได้

 

ความแตกต่างทางวัฒนธรรม

 

วัฒนธรรมกับภาษา

 

ที่ตั้ง มนุษย์อาศัยอยู่ในที่ต่างกันออกไป ก่อให้ประเพณีและวัฒนธรรมที่ต่างกัน เช่น ประเทศไทยที่เป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนทำให้มีประเพณีสงกรานต์

ภูมิอากาศ ภูมิอากาศที่แตกต่างกันจะมีความเป็นอยู่ที่ต่างกันออกไป เช่น ชนชาติที่อยู่ในเขตมรสุม การออกหาอาหารจะเป็นหน้าที่ของสมาชิกคนใดคนหนึ่งเท่านั้น

ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น มนุษย์จะมีค่านิยมและลักษณะนิสัยแตกต่างกันออกไปตามสภาพความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น เช่น กลุ่มชนชาติที่อยู่ในที่อุดมสมบูรณ์ก็จะมีความสุขสบาย ไม่ต้องพยายาม ใช้ชีวิตง่าย ๆ และรู้จักแบ่งปันเพราะไม่เดือดร้อน ในขณะที่กลุ่มชนชาติที่แร้นแค้นจะหวงแหนสมบัติที่ได้มาเพราะหามาอย่างยากลำบาก เป็นต้น

กลุ่มชนแวดล้อม วัฒนธรรมของกลุ่มชนที่ได้รับผลกระทบจากกลุ่มชนแวดล้อมที่ต้องการแสดงถึงอำนาจ เช่น กลุ่มชนที่บังเอิญไปตั้งถิ่นฐานใกล้ชนกลุ่มใหญ่ที่มีอำนาจมากกว่าก็ต้องระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งกัน

นักปราชญ์หรือประมุขของกลุ่มชน ค่านิยมในแต่ละวัฒนธรรมนั้นแตกต่างกัน หากว่าในกลุ่มชนชาติใดมีนักปราชญ์ที่เผยแพร่ความรู้ หรือมีประมุขดี วัฒนธรรมก็จะแตกต่างกับกลุ่มชนชาติที่ไม่มีนักปราชญ์หรือมีประมุขแย่

 

ภาษา

 

คำว่าภาษามาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ภาษฺ ตรงกับคำในภาษาบาลีว่า ภาสา ความหมายตามรากศัพท์เป็นคำกริยา แปลว่า กล่าว พูด หรือ บอก ซึ่งเมื่อนำมาเปลี่ยนรูปเป็น ภาษา ในภาษาไทย จะทำหน้าที่เป็นคำนาม มีความหมายว่าคำพูด หรือ ถ้อยคำ

 

ความสัมพันธ์ระหว่าง วัฒนธรรมกับภาษา

 

วัฒนธรรมกับภาษา

 

ภาษาสร้าง ธำรง และพัฒนาวัฒนธรรม

ภาษาทำให้วัฒนธรรมถูกพัฒนาและคงอยู่ในสังคมผ่านการสืบทอดไม่ว่าจะด้วยวิธีการบอกเล่า จดบันทึกลงกระดาษหรือแผ่นหิน เพราะมีภาษาเราจึงมีตรากฎหมาย ซักถามข้อเท็จจริง มีสถาบันศาล นอกจากนี้เรายังใช้ภาษาในการบัญญัติจนทำให้มีศาสนาขึ้นมา ทำให้เห็นว่าภาษาเป็นตัวสร้างวัฒนธรรม ซึ่งคนรุ่นหลังก็สามารถนำมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับยุคสมัย เป็นการส่งต่อไปให้คนรุ่นหลังได้เช่นเดียวกัน

ภาษาสะท้อนวัฒนธรรม

ภาษา เป็นตัวสะท้อนความคิดของผู้พูด ซึ่งแตกต่างกันแล้วแต่วัฒนธรรมและถิ่นที่อยู่ อย่างในประเทศไทยเองก็มีหลายภูมิภาค ทำให้มีหลายสำเนียง โดยภาษาของแต่ละภูมิภาคนี้จะมีลักษณะเฉพาะทั้งการออกเสียง คำศัพท์ หรือแม้แต่ในภูมิภาคเดียวกันบางพื้นที่ก็ยังออกเสียงและมีคำศัพท์ที่ต่างกันออกไป ซึ่งตรงนี้เองที่ทำให้เห็นชัดเจนว่าความแตกต่างของวัฒนธรรมทำให้ภาษามีความเปลี่ยนแปลงไปตามพื้นที่นั้นๆ

 

 

ภาษากับวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อกัน

ภาษากับวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อกัน สังคมหรือวัฒนธรรมในชนชาตินั้น ๆ ให้ความสำหรับกับเรื่องใด ก็จะมีข้อบังคับเพิ่มขึ้น อย่างการใช้ระดับภาษาในสังคมไทย ทำเห็นว่าคนไทยให้ความสำคัญกับลำดับขั้นทางอายุโดยจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดชื่อเรียกลำดับเครือญาติอย่างละเอียด แตกต่างกันทั้งฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่ รวมไปถึงคำราชาศัพท์ที่ใช้ลดหลั่นกันไปตามฐานะทางสังคม มีการกำหนดคำต้องห้าม ที่เป็นคำไม่สุภาพ ให้เปลี่ยนไปใช้คำที่รื่นหูเพื่อเป็นมารยาททางสังคม

 

ภาษาเป็นระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองการดำเนินชีวิตในสังคม ทำให้เรามีความเชื่อ มีความคิด มีความรู้สึก จนกระทั่งสามารถสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาให้คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้และสืบทอดต่อ ๆ กันมาจนถึงทุกวันนี้ บทเรียนเรื่องมนุษย์ วัฒนธรรมและภาษาจะทำให้น้อง ๆ ได้เข้าใจถึงความสำคัญมากขึ้นนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถรับชมคลิปการสอนของครูอุ้มได้เพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องภาษาสร้าง ธำรง และพัฒนาวัฒนธรรม, ภาษาสะท้อนวัฒนธรรม, ภาษากับวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อกันให้น้อง ๆ ได้เข้าใจมากขึ้นรวมไปถึงความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมกับภาษา ถ้าอยากรู้แล้วละก็ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

วิธีการพูดเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูวิธีการพูดให้ข้อเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำกันค่ะซึ่งในการเสนอแนะ หรือชักชวนนั้น ผู้พูดจะแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยกัน มีการใช้ภาษาหลายระดับ และใช้รูปประโยคหลายชนิด เช่นเดียวกับการพูดในความหมายต่างๆ ที่ผ่านมาเราจึงต้องใช้รูปประโยคต่างๆ เช่นประโยคบอกเล่า คำสั่ง ชักชวน เพื่อให้ผู้ฟังทำตาม รวมถึงเทคนิคการตอบรับและปฏิเสธ ดังในตัวอย่างรูปแบบประโยคด้านล่างนะคะ   1. ประโยคบอกเล่า (Statement)  

กลอนสุภาพ แต่งอย่างไรให้ไพเราะ

กลอนสุภาพ เป็นคำประพันธ์ที่หลาย ๆ คนคงจะรู้จักกันดีเพราะพบเจอในวรรณคดีได้ง่าย ใช้กันอย่างแผ่หลาย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนมาสวมบทนักกวี ฝึกแต่งกลอนสุภาพกันอย่างง่าย ๆ จะมีวิธีและรูปฉันทลักษณ์อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ   ความรู้ทั่วไปเที่ยวกับกลอนสุภาพ   กลอนสุภาพ หมายถึง กลอนเพลงยาว บางครั้งเรียก กลอนแปด กลอนตลาด กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่งที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบ ๆ

ศึกษาตัวบทและคุณค่าของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช   หลังจากได้ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่ออย่างคร่าว ๆ ของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสากันไปแล้ว บทเรียนวันนี้เราจะมาศึกษาเกี่ยวกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องนี้กันค่ะ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าวรรณคดีที่ถูกแปลมาจากพงศาวดารมอญอย่างราชาธิราชเรื่องนี้จะมีตัวบทไหนที่น่าสนใจและให้คุณค่าอะไรบ้าง   ศึกษาตัวบทราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา     บทเด่น ๆ บทที่ 1    บทดังกล่าวเกิดขึ้นในตอนที่สมิงพระรามอาสาไปขี่ม้ารำทวนสู้กับกามะนี

NokAcademy_ม5 การใช้ Modal Auxiliaries

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries   Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ 

เรียนรู้และเข้าใจเรื่องคำซ้อนในภาษาไทย

คำซ้อน เป็นหนึ่งในบทเรียนหลักภาษาไทยเรื่องการสร้างคำ น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยสับสนกับวิธีสร้างคำซ้อน ไม่รู้ว่าแบบไหนกันแน่ที่เรียกว่าคำซ้อน เพราะภาษาไทยเรานั้นก็มีคำมากมายเหลือเกิน วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องคำซ้อนให้มากขึ้น รับรองว่าไม่ยากแน่นอนค่ะ   คำซ้อน     ความหมายของคำซ้อน   คำซ้อน คือ คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ 2 คำ ขึ้นไปมาเรียงต่อกัน โดยคำที่นำมาซ้อนกันจะต้องเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน ตรงข้ามกัน หรืออาจมีเสียงที่คล้ายกัน

มารยาทในการอ่านที่นักอ่านทุกคนควรรู้

บทเรียนวันนี้เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่มักจะถูกละเลย มองข้ามไป นั่นก็คือเรื่องมารยาทในการอ่านนั่นเองค่ะ น้อง ๆ หลายคนคงสงสัยว่ามารยาทในการอ่านนั้นสำคัญอย่างไร ทำไมเราถึงต้องเรียนรู้เรื่องนี้เช่นเดียวกับมารยาทในการฟังและมารยาทในการพูดด้วย เราไปเรียนรู้เรื่องนี้ไปพร้อม ๆ เลยดีกว่าค่ะ มารยาทในการอ่าน   ความหมายของมารยาทในการอ่าน มารยาท หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ ส่วนการอ่าน หมายถึง พฤติกรรมการรับสารอย่างหนึ่ง รับรู้เรื่องราวโดยการใช้ตามองแล้วใช้สมองประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ เกิดเป็นการรับรู้และความเข้าใจ มารยาทในการอ่านจึงหมายถึง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1