ความรู้เกี่ยวกับ การสื่อสาร มีอะไรบ้างที่เราควรรู้?

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน แม้ว่าเราจะสื่อสารกับผู้คนอยู่แล้วทุกวัน แต่จะทำอย่างไรให้ตนเองสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีเรื่องไหนที่ควรรู้และควรระวัง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าอยากรู้แล้วว่าจะเป็นอย่างไรก็ไปดูกันเลยค่ะ

 

การสื่อสาร คืออะไร?

 

เป็นกระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความรู้สึก จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ให้มีความเข้าใจตรงกัน

 

การสื่อสาร

 

การสื่อสารสำคัญอย่างมากตั้งแต่ในชีวิตประจำวันไปจนถึงอุตสาหกรรม การปกครอง การเมืองและเศรษฐกิจ เพราะในทุก ๆ กระบวนต้องมีการสื่อสารกันให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน

องค์ประกอบของการสื่อสาร

 

1. ผู้รับสารและผู้ส่งสาร

2. วิธีการติดต่อ ติดต่อผ่านช่องทางการสื่อสารโดยใช้สื่อต่าง ๆ

 

การสื่อสาร

 

3.เรื่องราวที่ต้องการจะสื่อสาร

 

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

 

1.วัจนภาษา หมายถึง ภาษาพูดและภาษาเขียนที่เป็นถ้อยคำของมนุษย์ในแต่ละชนชาติที่มีความคิดค้นภาษาขึ้นมา กำหนดไว้ใช้สื่อสารกันอย่างมีระบบและต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักของภาษานั้น ๆ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

  • ภาษาพูด เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้พูดออกมาโดยการเปล่งเสียงเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น
  • ภาษาเขียน เป็นภาษาที่ใช้อักษรในการสื่อสาร มนุษย์ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาเพื่อให้บันทึกภาษาพูด

2.อวัจนภาษา หมายถึง การสื่อสารที่ปราศจากถ้อยคำและการเขียนแต่จะเป็นการสื่อสารผ่านสีหน้า ท่าทาง การเคลื่อนไหว หรือวัตถุอื่น ๆ ที่อยู่ในแวดล้อมขณะสื่อสาร ทำหน้าที่แทนการพูด แต่จะใช้เดี่ยว ๆ หรือใช้ควบคู่กับวัจนภาษาก็ได้ แบ่งออกได้ดังนี้

  • ภาษากาย ประกอบไปด้วย สายตา การแสดงสีหน้า อากัปกิริยา ระยะห่างระหว่างบุคคล

การสื่อสาร

 

  •  ภาษาวัตถุ เป็นการตีความหมายของวัตถุและสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อสื่อความหมาย มีดังนี้

 

1. โครงสร้างของร่างกาย (body) เช่น บุคคลที่มีโครงสร้างสูงใหญ่ จะสื่อความหมายได้ว่า เป็นคนแข็งแรง น่าเกรงขาม

2. ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดบุคลิกภาพ (Personality) เช่น การเลือกวัตถุมาประกอบเพื่อให้เกิดเป็นบุคลิกภาพ เช่น เลือกเสื้อผ้าและรองเท้าที่สวมใส่ ก็จะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงรสนิยม ค่านิยม และนิสัยของผู้แต่งได้

3. วัตถุที่มีความหมายเฉพาะ และไม่เฉพาะ (Specific and Non-Specific)

– วัตถุที่มีความหมายเฉพาะ (Specific) เช่น ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่

– วัตถุที่ไม่มีความหมายเฉพาะเจาะจง (Non-Specific) เช่น  นางสาว A ให้แปรงสีฟัน นางสาว B ไป โดยทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นคนมีน้ำใจ แต่ก็อาจตีความหมายได้อีกนับว่านางสาว A ต้องการจะบอกว่านางสาว B มีกลิ่นปากรุนแรงจึงมอบแปรงสีฟันให้เป็นของขวัญเพื่อให้ไปแปรงฟัน

 

  • ภาษาธรรมเนียมและมารยาท เป็นการแสดงพฤติกรรมตามธรรมเนียมและมารยาทของสังคมนั้น ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีวัฒนธรรมที่ตกต่างกัน ยกตัวอย่างวัฒนธรรมไทย การ “ไป-ลา-มา-ไหว้” เป็นสิ่งที่สะท้อนธรรมเนียมเรื่องการเคารพผู้ที่อาวุโสกว่าของไทย

 

การใช้วัจนภาษาควบคู่ไปกับอวัจนภาษา

ถึงแม้ว่าจะสามารถแยกกันใช้ได้ แต่ถ้าหากใช้ทั้งสองควบคู่กันไประหว่างสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องก็จะทำให้การสื่อสารนั้นชัดเจนมากขึ้น

 

 

อุปสรรคของการสื่อสาร

 

 

ผู้ส่งสาร บางครั้งการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนของผู้ส่งสารที่มีความบกพร่องในอวัยวะที่ใช้สื่อสาร หรือการใช้คำกำกวม ไม่ชัดเจน ไม่แสดงออกท่าทางให้คนอื่นรู้ว่าต้องอะไร หรือไม่เข้าใจสารที่ต้องการจะสื่อมากพอ ก็อาจจะทำให้ผู้รับสารไม่เข้าใจ

สาร ข้อมูลของสารที่ต้องการจะสื่อถูกบิดเบือนได้ง่าย ทั้งโดยเจตนา หรือไม่เจตนาในกรณีที่สารมีความคลุมเครือ

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ความต่างของภาษาเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่เห็นได้อย่างเด่นชัด ยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีการติดต่อจากคนหลากหลายเชื้อชาติด้วยแล้ว แม้จะมีวิธีการที่แสนสะดวกสบายอย่างระบบแปลภาษาอัตโนมัติ แต่ก็ไม่สามารถแปลบริบทที่ต้องการได้ 100% ดังนั้นสิ่งที่สื่อออกไปอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้

ผู้รับสาร ในบางกรณี แม้ว่าผู้ส่งสารจะพยายามสื่อสารอย่างดีแล้ว แต่ผู้รับสารก็ยังไม่เข้าใจง่าย ๆ หรืออาจจะเป็นคนหัวช้า คิดไม่ทัน ดังนั้นผู้ส่งสารจะต้องหาวิธีสื่อสารให้เหมาะกับแต่ละบุคคล

สื่อ คำที่มีหลายความหมาย ภาษาถิ่น ภาษาท่าทางที่ไม่สอดคล้อง ข้อความที่เกินจริง

กาลเทศะและสภาพแวดล้อม การไม่ศึกษาวัฒนธรรม เสียงรบกวน แสงและอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ระยะทางของการสื่อสาร ทั้งหมดนี้เป็นอุปสรรคที่เกิดจากแวดล้อมและกาลเทศะ

 

หลักในการสื่อสารที่ดี กล่าวโดยสรุปแล้ว สามารถทำได้โดยการที่ผู้สื่อสารจะต้องมีความเข้าใจทั้งกับตัวเอง เรื่องที่จะพูด เลือกสื่อที่เหมาะสม และศึกษาผู้รับสารว่าเป็นคนอย่างไร อยู่ในวัฒนธรรมแบบใด เพียงเท่านี้ การสื่อสาร ก็จะเป็นไปอย่างราบรื่นค่ะ น้อง ๆ ที่มีปัญหาในเรื่องของการสื่อสาร บทเรียนในวันนี้คงจะทำให้น้อง ๆ เข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารมากขึ้น และนำไปปรับใช้ในชีวิตได้นะคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนบทเรียนแล้วทำแบบฝึกหัดกันด้วยนะคะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต ลำดับเลขคณิต คือลำดับที่มีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างคงที่ โดยจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนี้เราเรียกว่าผลต่างร่วม แทนด้วยสัญลักษณ์ d  โดยที่ d = พจน์ขวา – พจน์ซ้าย การเขียนลำดับเราจะเขียนแทนด้วย    โดยที่ คือพจน์ทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่า พจน์สุดท้ายนั่นเอง   การหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต พจน์ที่1 n = 1     

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก สัญลักษณ์แทนการบวก หรือ   เรียกว่า ซิกมา ( Sigma ) เราใช้เพื่อลดรูปการบวกกันของตัวเลข เนื่องจากว่าบางทีเป็นการบวกของจำนวนตัวเลข 100 พจน์ ถ้ามานั่งเขียนทีละตัวก็คงจะเยอะไป เราจึงจะใช้เครื่องหมายซิกมามาใช้เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนนั่นเอง เช่น 1 + 2 + 3 + 4 +5  สามารถเขียนแทนด้วย

พระบรมราโชวาท จดหมายของร.5ที่เขียนถึงพระโอรส

พระบรมราโชวาท เป็นจดหมายร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เขียนให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ก่อนจะไปศึกษาต่างประเทศ เหตุใดเนื้อความในจดหมายถึงกลายเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา บทเรียนในวันนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาโดยรวมของเนื้อความเพื่อให้เข้าใจถึงคำสอนและข้อคิดจากพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์ในแง่มุมของพ่อสอนลูก จะเป็นอย่างไรไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     วรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาท เป็นคำสั่งสอนของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพระราชโอรสทั้ง 4 พระองค์ที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ พระองค์จึงมีพระบรมราโชวาทเพื่อสั่งสอนและตักเตือนพระราชโอรส ซึ่งในการส่งไปศึกษาต่อในครั้งนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ    

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเซต

เซตคืออะไร? เซต คือ คำที่ใช้เรียกกลุ่มของสิ่งต่างๆ ทำไมต้องเรียนเซต เซตมีประโยชน์ในเรื่องของการจำแนกสิ่งต่างๆออกเป็นกลุ่มๆ อีกทั้งยังแทรกอยู่ในเนื้อหาบทอื่นๆของคณิตศาสตร์ เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเซต เพื่อที่จะเรียนเนื้อหาบทอื่นๆได้ง่ายขึ้น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเซต เซต คือคำที่ใช้เรียกกลุ่มของสิ่งต่างๆ เช่น เซตของสระในภาษาอังกฤษ คือ กลุ่มของสระในภาษาอังกฤษ a,e,i,o,u เป็นต้น สมาชิกของเซต คือ สิ่งที่อยู่ในเซต เช่น เซตของสระในภาษาอังกฤษ สมาชิกของเซต คือ

ประโยคความเดียวและประโยคความรวมในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน เจอกันอีกแล้วจร้ากับไวยากรณ์การเขียนภาษาอังกฤษและวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการการใช้ประโยคความเดียว และประโยคความรวมในภาษาอังกฤษกันค่ะ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมามากกับคนที่ไม่ชอบเขียน  ครูเอาใจช่วยทุกคนค่า ไปลุยกันเลย 3 โครงสร้างประโยคในภาษาอังกฤษ การจะเป็นประโยคสมบูรณ์ได้นั้น ประโยคจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญดังนี้ กริยา หรือ verb (ภาคขยาย) ภาคขยาย จะมีหรือไม่มีก็ได้ การใส่ภาคขยายเข้ามาเพื่อให้ประโยคสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ประธาน subject  + กริยา หรือ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1