เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องประโยคซับซ้อนอย่างง่าย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ หลายคนคงจะรู้โครงสร้างของประโยคกันอยู่แล้ว คือจะมีประธาน กริยา กรรม เป็นส่วนประกอบ แต่ในชีวิตจริงเราไม่ได้พูดกันตามโครงสร้างเสมอไป เพราะจะมีส่วนขยายมาเพิ่มความมากขึ้นเพื่อให้ผู้พูดและผู้รับฟังสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจมากขึ้นจนบางครั้งก็อาจทำให้ดูซับซ้อนจนไม่รู้ว่าเป็นประโยคแบบไหนและอะไรคือใจความสำคัญของประโยค บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับเรื่อง ประโยคซับซ้อน ทั้งประโยคความเดียวซับซ้อน ประโยคความรวมซับซ้อน และประโยคความซ้อนซับซ้อน ประโยคแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประโยคเอย จงซับซ้อนยิ่งขึ้น !

 

ประโยคซับซ้อน

 

ประโยคซับซ้อน เป็นการนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ความรวม และความซ้อนมาขยายความให้มีความชัดเจน โดยการวางคำขยายนั้น จะอยู่ด้านหลังข้อความที่ต้องการขยาย แต่จะต้องไม่เรียงคำขยายเพื่อไม่ให้เกิดความกำกวมมากเกินไปเพราะอาจทำให้ใจความของประโยคมีความคลาดเคลื่อนได้ เพื่อที่จะสื่อได้ชัดเจนและถูกต้องถึงต้องให้คำยายอยู่ใกล้คำที่จะขยาย เพราะหากวางคำขยายผิด ประโยคก็จะเปลี่ยนไปทันที มาดูกันค่ะว่าประโยคแต่ละชนิดเมื่อกลายเป็นประโยคซับซ้อนแล้วจะมีวิธีสังเกตอย่างไร

 

ประโยคซับซ้อน

 

ประโยคความเดียวซับซ้อน

 

ประโยคความเดียวซับซ้อน คือประโยคความเดียวที่มีส่วนขยายทั้งบทประธาน บทกริยา หรือบทกรรมเพียงบทใดบทหนึ่ง หรือหลายบทเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น

 

-ซับซ้อนที่ภาคประธาน

ส่วนขยายเป็นกลุ่มคำที่มีคำบุพบทนำหน้า ประธานเป็นกลุ่มคำที่มีคำว่า การ หรือ ความ นำหน้าหรือมีส่วนขยายเป็นคำหรือกลุ่มคำปะปนกัน

 

ประโยคซับซ้อน

 

-ซับซ้อนที่ภาคแสดง

มีกริยาหรือตัวแสดงเป็นกลุ่มคำหลายคำ และมีอยู่หลายแห่งในประโยค

ตัวอย่าง เขาพยายามขับรถมาที่โรงเรียนอย่างไม่รีบร้อน

กลุ่มวัยรุ่นร้องเล่นเต้นรำไปตามจังหวะดนตรี

 

ประโยคความรวมที่ซับซ้อน

ประโยคความรวมที่ซับซ้อน คือประโยคความรวมที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวมากกว่าสองประโยค โดยมีสันธานเป็นตัวเชื่อมเนื้อความของประโยคความเดียวทั้ง 2 ประโยคและเนื้อความหรือใจความเป็นอย่างเดียวกันหรือต่างกัน

 

– มีส่วนประกอบเป็นประโยคความเดียวซับซ้อน

“ทุเรียนไม่ใช่แค่มีรสชาติอร่อยแต่ยังช่วยในการเผาผลาญได้อีกด้วย”

ประโยคนี้เป็นประโยคความเดียว 2 ประโยคที่มีคำสันธานเป็นตัวเชื่อม

ประโยคที่ 1 ทุเรียนไม่ใช่แค่มีรสชาติอร่อย

ประโยคที่ 2 ทุเรียนยังช่วยในการเผาผลาญได้อีกด้วย

 

– มีส่วนประกอบเป็นประโยคความรวม

“ฉันชอบกินข้าว แต่เขาชอบกินก๋วยเตี๋ยว ดังนั้นฉันจึงไปกินข้าวกับเพื่อน และเขาก็ไปกินคนเดียว”

ประโยคนี้เป็นประโยคความรวม 2 ประโยค โดยมีคำสันธานเชื่อมคือ ดังนั้น จึง

ประโยคที่ 1 ฉันชอบกินข้าว แต่เขาชอบกินก๋วยเตี๋ยว คำสันธานคือ แต่

ประโยคที่ 2 ฉันไปกินข้าวกับเพื่อน และเขาก็ไปกินคนเดียว คำสันธานคือ และ

 

มีส่วนประกอบเป็นประโยคความซ้อน

“ฉันตั้งใจจะไปบ้านแม่ที่จังหวัดชลบุรีในอำเภอศรีราชาแต่รถติดเพราะเป็นวันหยุดยาว”

ประโยคนี้เป็นประโยคความซ้อน 2 ประโยค โดยมีคำสันธานเชื่อมคือ แต่

ประโยคที่ 1 ฉันตั้งใจจะไปบ้านแม่ที่จังหวัดชลบุรีในอำเภอศรีราชา คำเชื่อมคือ ที่

ประโยคที่ 2 รถติดเพราะเป็นวันหยุดยาว คำเชื่อมคือ เพราะ

 

ประโยคความซ้อนซับซ้อน

 

ประโยคความซ้อนซับซ้อน คือประโยคความซ้อนซึ่งประกอบด้วยประโยคย่อยหรือมากกว่าหนึ่งประโยค

 

-ประโยคหลักหรือประโยคย่อยเป็นประโยคความเดียวซับซ้อน

ประโยคซับซ้อน

 

มีส่วนประกอบเป็นประโยคความรวม

 

มีส่วนประกอบเป็นประโยคความซ้อน

 

 

สรุปเรื่อง ประโยคซับซ้อน

 

ประโยคซับซ้อน เป็นประโยคที่จะทำการสนทนาระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่งมีความสมบูรณ์มากขึ้น เพราะในประโยคมีการเพิ่มส่วนขยายเข้าไป โดยมีวิธีสังเกตอย่างง่ายคือหาประโยคหลัก แล้วดูตำแหน่งของส่วนขยาย แต่สิ่งที่ต้องระวังคือหากวางส่วนขยายผิด ก็อาจจะทำให้ประโยคผิดเพี้ยนไป ซับซ้อนยิ่งขึ้น และยังทำให้ไม่เข้าใจอีกด้วย

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับบทเรียนหลักภาษาไทยในเรื่องประโยคซับซ้อนในวันนี้ จะเห็นได้ว่า ถึงในประโยคจะมีส่วนขยายเข้ามามากมาย แต่ถ้ารู้จักสังเกตเราก็จะแยกได้ไม่ยากเลยว่าประโยคไหนคืออะไร และใจความสำคัญคืออะไร และเพื่อให้ไม่ให้น้อง ๆ พลาดการทำโจทย์ข้อสอบ ก็อย่าลืมไปชมคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มนะคะ ในคลิปครูอุ้มอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดมาก ๆ ถ้าได้ฟังแล้วรับรองว่าน้อง ๆ จะเข้าใจมากยิ่งขึ้น และทำข้อสอบได้ทุกข้อแน่นอนค่ะ ไปทบทวนบทเรียนพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โจทย์ปัญหาเลขยกกำลัง

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง          เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังที่เรียนมาไม่ว่าจะเป็น การคูณ การหาร เลขยกกำลัง และการเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง รวมทั้งไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากมาย  ในบทความนี้จะกล่าวถึงการนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังไปใช้แก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ตัวอย่างที่ 1 – 3 ตัวอย่างที่ 1  เด็กชายศิระนำแท่งลูกบาศก์ไม้ขนาด 5³ ลูกบาศก์เซนติเมตร  มาจัดวางในลูกบาศก์ใหญ่ที่มีความยาวของแต่ละด้านเป็น

เรนจ์ของความสัมพันธ์

เรนจ์ของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหลัง เช่น = {(2, 2), (3, 5), (8, 10)} จะได้ว่า  = {2, 5,

ที่มาและเรื่องย่อของ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

มหาชาติชาดก หรือมหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกที่ได้ชื่อว่าเป็น มหาชาติ เพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนจะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้า จากบทเรียนที่เคยเรียนรู้กันตอน ม.4 น้อง ๆ คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่ามหาชาตินี้มีด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยเรื่องที่เราจะได้เรียนกันเจาะลึกกันไปอีกในวันนี้ คือ กัณฑ์มัทรี นั่นเองค่ะ ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา     มหาชาติชาดกเป็นเรื่องราวในอดีตกาลของพระพุทธเจ้าที่เล่าให้กับเหล่าประยูรญาติฟังเมื่อครั้งเสด็จกลับเมืองและได้แสดงอภินิหาร

ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปทบทวนเรื่อง ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time Expressions ในกลุ่ม Past Tenses หรือ อดีตกาล

NokAcademy_ม3 การใช้ Yes_No Questions  และ Wh-Questions

การใช้ Yes/No Questions  และ Wh-Questions

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างและวิธีการแต่งประโยคคำถาม 2กลุ่ม ได้แก่ “การใช้  Yes/No Questions  และ Wh-Questions” หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Yes/No Questions คืออะไร?   Yes/ No Questions ก็คือ กลุ่มคำถามที่ต้องการคำตอบแน่ชัดว่า Yes ใช่  หรือ

Suggesting Profile

การแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิค การแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า การแสดงความต้องการ     Question: สงสัยมั้ยว่า need/want /would like to have สามคำนี้ต่างกันยังไง? ตัวอย่างการใช้ need VS want  ในประโยคบอกเล่า เช่น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1