โคลงนฤทุมนาการ โคลงสุภาษิตสอนใจรู้ไว้ไม่เป็นทุกข์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

หลังจากได้ศึกษาเรื่องโคลงโสฬสไตรยางค์ไปแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าในโครงสุภาษิตยังมีเรื่องอื่นอีกด้วย และในบทเรียนที่น้อง ๆ จะได้เรียนต่อไปนี้ก็คือเรื่อง โคลงนฤทุมนาการ เป็นโคลงสุภาษิต ที่ใช้โคลงสี่สุภาพในการประพันธ์เหมือนโคลงโสฬสไตรยางค์ แต่จะมีความหมาย และเนื้อหาอย่างไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

โคลงนฤทุมนาการ คืออะไร

 

โคลงนฤทุมนาการ

 

ก่อนที่จะไปเรียนรู้ว่าในโคลงนฤทุมนาการมีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันที่ความหมายก่อนเลยค่ะ คำว่า นฤทุมนาการ มาจากคำศัพท์ต่าง ๆ ดังนี้

นฤ หมายถึง ปราศจาก

ทุ หมายถึง ไม่ดี

มน หมายถึง ใจ

อาการ หมายถึง สภาพกิริยา

เมื่อนำ นฤ + ทุ + มน + อาการ มารวมกันจะได้ นฤทุมนาการ ที่แปลว่า ไม่มีอาการเสียใจ

 

ที่มาและความสำคัญของโคลงนฤทุมนาการ

 

โคลงนฤทุมนาการ

 

โคลงนฤทุมนาการ เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แปลมาจากสุภาษิตอังกฤษในปี พ.ศ. 2423 แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ มีบทนำเรื่อง 1 บท เนื้อเรื่องอีก 10 และสรุป 1 บท ซึ่งแนวทางที่ควรปฏิบัติทั้ง 10 นั้น เรียกว่า ทศนฤทุมนาการ เป็นโคลงสุภาษิตที่มีความสำคัญ เพราะมีเนื้อหาที่สั่งสอน และเตือนใจคน สอนให้คิดรอบคอบก่อนที่จะพูดหรือทำสิ่งใดลงไป

 

จุดประสงค์ในการแต่ง

จากชื่อ นฤทุมนาการ ที่มีความหมายว่าไม่มีอาการเสียใจนั้น จุดมุ่งหมายของแต่งโคลงสุภาษิตนี้จึงมีขึ้นมาเพื่อเป็นข้อเตือนใจแก่ผู้ที่ปฏิบัติตาม ให้บุคคลนั้นไม่เสียใจกับการกระทำของตัวเอง

 

ลักษณะคำประพันธ์

โคลงสี่สุภาพ

 

โคลงนฤทุมนาการสอนเรื่องอะไรบ้าง?

 

 

กล่าวถึงกิจ 10 ประการที่ผู้ประพฤติจะไม่เสียใจหากได้ทำลงไป มีดังนี้

1. ทำดีโดยทั่วไป

2. ไม่พูดร้ายต่อผู้อื่น

3. ถามและฟังความก่อนตัดสิน

4. คิดก่อนพูด

5. ไม่พูดในเวลาโกรธ

6. กรุณาต่อให้คนที่อับจน

7. ขอโทษเมื่อทำผิด

8. อดกลั้นต่อผู้อื่น

9. ไม่ฟังคำนินทา

10. ไม่หลงเชื่อข่าวร้าย

 

 

ตัวอย่างบทประพันธ์ใน โคลงนฤทุมนาการ

 

บทนำ

บัณฑิตวินิจแล้ว          แถลงสาร สอนเอย

ทศนฤทุมนาการ         ชื่อชี้

เหตุผู้ประพฤติปาน     ดังกล่าว นั้นนอ

โทมนัสเพราะกิจนี้     ห่อนได้เคยมี

ถอดคำประพันธ์ เป็นการกล่าวนำว่าโคลงนฤทุมนาการทั้ง 10 ข้อนั้นมีประโยชน์ ผู้ใดที่ประพฤติตามคำสอนนี้จะไม่มีเสียใจกับการกระทำของตัวเองแน่นอน

 

กิจที่ 2 ไม่พูดร้ายต่อผู้อื่น

เหินห่างโมหะร้อน         ริษยา

สละส่อเสียดมารษา      ใส่ร้าย

ตำหยาบจาบจ้วงอา-    ฆาตขู่ เข็ญเฮย

ไปหมิ่นนินทาบ้าย        โทษให้ผู้ใด

ถอดคำประพันธ์ หมายถึง การไม่พูดร้ายต่อผู้อื่น จะทำให้อยู่ห่างกับความโมโหและความอิจฉาริษยา ดังนั้นจึงไม่ควรพูดจาให้ร้าย หยาบคายจาบจ้วง อาฆาตหรือนินทาผู้อื่น

 

 

ข้อคิดและคุณค่าที่อยู่ในโคลงนฤทุมนาการ

 

โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ อธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งด้านการคิด การพูด และการกระทำ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ครอบคลุมการดำเนินชีวิตของทุกคนอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ที่โดดเด่นด้านการใช้ถ้อยคำภาษาในบทประพันธ์ จะเห็นได้ว่าคำในแต่ละบทไม่ใช่คำยาก แต่เป็นคำที่สละสลวยอยู่ ทำให้ภาษาในวรรณคดีมีความงดงาม แต่ไม่ยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจ

 

 

จบไปแล้วนะคะกับอีกหนึ่งบทเรียนจากโคลงสุภาษิต สำหรับ โคลงนฤทุมนาการ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่ไม่ได้สอนเราแค่ด้านวรรณศิลป์ ภาษาที่สวยงาม แต่ยังสอนเราให้รู้จักคิดก่อนจะทำสิ่งใดลงไป ถือว่ามีประโยชน์มาก ๆ เลยนะคะ ไม่ว่าเวลาจะผ่านมานานแค่ไหน คำสอนของโคลงสุภาษิตก็ยังคงนำมาประยุกต์ใช้ได้อยู่ น้อง ๆ ได้เรียนรู้เรื่องนี้กันไปแล้วก็อย่าลืมนำไปปรับใช้กับตัวเองกันนะคะ สุดท้ายแล้ว อย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียนและขยันทำแบบฝึกหัด ระหว่างที่ทำก็เปิดคลิปการสอนของครูอุ้มฟังไปด้วยเพลิน ได้ทั้งความสนุกและความรู้ดี ๆ อีกเพียบเลยนะคะ ไปชมกันเลยค่ะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความวิชาภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

causatives

Causatives: Have and Get Something Done

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้ไวยากรณ์เรื่อง Causatives หรือการใช้ Have/Get Something Done ที่น้องๆ บางคนอาจจะสงสัยว่าคืออะไร ลองไปดูกันเลยครับ

ที่มาและเรื่องย่อของวรรณคดียิ่งใหญ่ตลอดกาล รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีผู้นำรามเกียรติ์มาแต่งมากมายหลายฉบับ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นและสนุกเกินบรรยาย แต่ฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดคือฉบับที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือก็คือรัชกาลที่ 1 นั่นเองค่ะ รามเกียรติ์ฉบับนี้มีความพิเศษและมีจุดประสงค์ที่ต่างจากฉบับก่อนหน้า บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1 ผ่านความเป็นมาของวรรณคดีรวมไปถึงเรื่องย่อในตอนสำคัญอย่างตอน ศึกไมยราพ กันค่ะ ไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่า รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ จะสนุกแค่ไหน   ประวัติความเป็นมา     รามเกียรติ์

there is

There is และ There are ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องการใช้ There is และ There are ในภาษาอังกฤษกันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย

มนุสสภูมิ ตอนที่ว่าด้วยกำเนิดของมนุษย์ในไตรภูมิพระร่วง

ไตรภูมิพระร่วงมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่แน่นอน เพื่อที่จะให้มนุษย์ตระหนักถึงกรรมดีและกรรมชั่วและพบกับความสุขไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน โดยในตอน มนุสสภูมิ นี้ก็ได้กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ที่อธิบายโดยใช้หลักความเชื่อทางพุทธศาสนามาอธิบายจึงทำให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่มีความสนใจเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ จากที่ครั้งก่อนเราได้เรียนเรื่องนี้กันไปแล้วในส่วนของที่มาและความสำคัญและเนื้อเรื่องย่อ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เพิ่มเติมแต่เป็นเรื่องของตัวบทเพื่อถอดคำประพันธ์ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย ตัวบทเด่น ๆ ในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ     ถอดความ เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ตั้งแต่เริ่มเป็นเซลล์ โดยอธิบายว่าไม่ว่าจะเกิดเป็นชายหรือหญิง ก็จะเริ่มจากการเป็นกลละ แล้วโตขึ้นทีละน้อย เมื่อถึง 7

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

เรียนรู้หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิ

บทนำ คำสมาส และคำสนธิ ถือว่าเป็นหนึ่งบทเรียนในหลักภาษาไทยของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่หลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องยาก และปราบเซียนในการสอบสุด ๆ เนื่องจากว่าเราจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง คำบาลี สันสกฤตเพื่อให้สามารถแยกแยะคำ หรือสร้างคำใหม่ได้ รวมไปถึงต้องจำหลักการอ่านเชื่อมเสียงแบบต่าง ๆ จึงทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่ามันยากมาก แต่จริง ๆ แล้วน้อง ๆ หลายคนอาจเคยได้ยินหลักการจำที่ว่า “คำสมาสนำมาชน สนธินำมาเชื่อม” ซึ่งเป็นวิธีที่น้อง ๆ ควรจะใช้เป็นแนวทางในการจำอย่างเข้าใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิให้เข้าใจมากขึ้น

กาพย์พระไชยสุริยา เรียนรู้ความเป็นมาของแบบเรียนภาษาไทยอันทรงคุณค่า

กาพย์พระไชยสุริยา   กาพย์พระไชยสุริยาเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่น้อง ๆ ทุกคนจะได้ศึกษากัน แต่รู้ไหมคะว่าคำกาพย์ที่แต่งโดยสุนทรภู่นี้เป็นกาพย์แบบไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เหตุใดถึงมาอยู่ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยได้ วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา รวมถึงเรื่องลักษณะคำประพันธ์และสรุปเนื้อเรื่องโดยย่อ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา     กาพย์พระไชยสุริยา เป็นวรรณคดีคำกาพย์ที่สุนทรภู่แต่ง มีความยาว 1 เล่มสมุดไทย นักวรรณคดีและนักวิชาการสันนิษฐานว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นขณะบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาระหว่าง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1