ที่มาและเรื่องย่อของวรรณคดียิ่งใหญ่ตลอดกาล รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีผู้นำรามเกียรติ์มาแต่งมากมายหลายฉบับ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นและสนุกเกินบรรยาย แต่ฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดคือฉบับที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือก็คือรัชกาลที่ 1 นั่นเองค่ะ รามเกียรติ์ฉบับนี้มีความพิเศษและมีจุดประสงค์ที่ต่างจากฉบับก่อนหน้า บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1 ผ่านความเป็นมาของวรรณคดีรวมไปถึงเรื่องย่อในตอนสำคัญอย่างตอน ศึกไมยราพ กันค่ะ ไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่า รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ จะสนุกแค่ไหน

 

ประวัติความเป็นมา

 

 

รามเกียรติ์ มาจากวรรณคดีของอินเดียที่มีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี ส่วนการเข้ามาของวรรณคดีในประเทศไทย สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยในสมัยนั้นมักนำมาแต่งเป็นบทพากย์โขน พากย์หนัง และบทละครซึ่งใช้ในการแสดงละครรำ แต่รามเกียรติ์ที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ที่สุด คือรามเกียรติ์ที่เป็นผลงานพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือ รัชกาลที่ 1 จุดประสงค์ในการประพันธ์เรื่องนี้มาจากการที่พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูและรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่สมัยอยุธยาและใช้เล่นละครในพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ระหว่าง พ.ศ. 2328 – 2329

 

รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

 

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นบทละครใน มีคนแสดงเป็นผู้หญิงทั้งหมด คำประพันธ์ที่ใช้แต่งเป็นกลอนบทละคร

 

 

รามกียรติ์ เป็นเรื่องราวของพระนารายณ์ที่อวตารลงมาเป็นพระราม อภิเษกสมรสกับนางสีดา ต่อมานางสีดาถูกทศกัณฐ์ลักพาตัวมาไว้ที่กรุงลงกา พระรามออกตามหานางสีดา โดยระหว่างนั้นก็ได้พบทหารที่มีฝีมือมากมายและมีหนุมานเป็นทหารเอก สำหรับตอนที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือ ตอน ศึกไมยราพ ซึ่งเป็นอีกตอนหนึ่งที่สำคัญและสนุกเข้มข้นที่สุด เราไปดูเรื่องย่อของตอนนี้กันค่ะ

 

เรื่องย่อ รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

 

ไมยราพได้รับบัญชาจากทศกัณฐ์ให้มาช่วยรบกับพระราม แต่ก่อนไปทำศึก ไมยราพฝันเป็นลางว่ามีดาวดวงน้อยเปล่งรัศมีมาบดบังดวงจันทร์ โหรทำนายว่าพระญาติ (ไวยวิก) จะได้ขึ้นครองเมืองแทน ไมยราพจึงหาทางป้องกันมิให้เป็นไปตามคำทำนายโดยการจับไวยวิกและนางพิรากวนผู้เป็นมารดาของไวยวิกและเป็นพี่สาวของไมยราพ ไปขังไว้ ฝ่ายพระรามก็ฝันว่าราหูมาบดบังพระอาทิตย์ พิเภกทำนายว่าพระรามจะถูกลักพาตัวไปแต่จะรอดกลับมาได้ เมื่อใดที่พระอาทิตย์ขึ้น พระรามจะพ้นเคราะห์ หนุมานจึงหาทางป้องกันไม่ให้พระรามถูกลักพาตัวโดยการเนรมิตกายให้ใหญ่แล้วอมพลับพลาที่ประทับของพระรามเอาไว้

 

รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

 

ไมยราพซึ่งปลอมตัวเป็นพลทหารลิงแอบล่วงรูปความลับนี้จึงเหาะขึ้นไปบนอากาศแล้วทำให้เกิดความสว่าง เหล่าทหารที่คิดว่าเช้าแล้วก็เข้าใจว่าพระรามพ้นเคราะห์ จึงละเลยต่อหน้าที่ ไมยราพจึงได้โอกาสเข้าไปเป่ายาสะกดให้ทุกคนหลับใหลแล้วก็แบกพระรามแทรกแผ่นดินกลับไปเมืองบาดาลและสั่งให้ทหารนำพระรามไปขังไว้ในกรงเหล็กที่ดงตาลท้ายเมืองบาดาลและสั่งให้นางพิรากวนตักน้ำใส่กระทะใหญ่เพื่อเตรียมต้มพระรามกับไวยวิกในวันรุ่งขึ้น เมื่อหนุมานรู้เรื่องก็รีบตามมาช่วยที่เมืองบาดาล ระหว่างทางหนุมานได้พบกับด่านต่าง ๆ กระทั่งเจอกับมัจฉานุ ผู้เป็นลูก จึงขอให้ช่วยบอกทางไปยังเมืองบาดาลให้ หนุมานไปถึงเมืองบาดาลและพบกับนางพิรากวนที่ออกมาตักน้ำตามคำสั่งของไมยราพ จึงขอให้นางพิรากวนพาเข้าเมืองบาดาลโดยการแปลงเป็นใบบัวติดสไบนางเข้าไป หนุมานหาพระรามจนพบแล้วพาตัวออกมาแล้วย้อนกลับไปสู้กับไมยราพจนได้รับชัยชนะในที่สุด

 

 

รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีสำคัญของไทย มีชื่อเสียงและโด่งดัง ถูกนำไปสร้างทั้งการ์ตูนและภาพยนตร์ ในตอนศึกไมยราพนี้เป็นอีกตอนหนึ่งที่มีความสนุกมากที่สุด เพราะนอกจากจะได้เห็นความจงรักภักดีของหนุมานที่มีต่อพระรามแล้ว ยังได้เห็นความรักระหว่างพ่อลูกที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน รวมไปถึงความสามารถของหนุมานที่สามารถเอาชนะยักษ์อย่างไมยราพได้ ใบบทต่อไปเราจะได้ศึกษาเรื่องนี้กันต่อในส่วนของตัวบทที่เด่น ๆ และคุณค่าในเรื่อง แต่ก่อนไป น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนความรู้โดยการชมคลิปการสอนของครูอุ้มกันด้วยนะคะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณและค่าความจริงของตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณ ตัวบ่งปริมาณ คือ สัญลักษณ์หรือข้อความที่เมื่อเราเอาไปเติมใน “ประโยคเปิด” แล้วจะทำให้ประโยคนั้นกลายเป็นประพจน์ ประโยคเปิด คือประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่ติดค่าตัวแปรที่ยัง “ไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ” โดยตัวแปรนั้นเป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ (Universe : U) ประโยคเปิด ยังไม่ใช่ประพจน์ (แต่เกือบเป็นแล้ว) เพราะเรายังไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เช่น  “x มากกว่า 3” จะเห็นว่าตัวแปร คือ x ซึ่งเราไม่รู้ว่า x

ลำดับ

ลำดับ

ลำดับ ลำดับ ( Sequence ) คือ เซตของจำนวนหรือตัวเลขที่เรียงกันเป็นระเบียบและมีเงื่อนไข เช่น ลำดับของจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 ก็จะสามารถเขียนได้เป็น 1, 2, 3, 4, … โดยตัวเลขเหล่านี้ เรียกว่า พจน์ ( Term ) เซตของลำดับจะเขีบยแทนด้วย และเราจะเรียก ว่าพจน์ที่

ส่วน 10 หรือ ส่วน 1000 แปลงเป็นทศนิยมกันได้หมดถ้าสดชื่น!

จากบทความที่แล้วเราได้ทราบความสัมพันธ์ของเศษส่วนและทศนิยมไปแล้ว เชื่อว่าน้อง ๆหลายคนคงเกิดคำถามในใจว่า แล้วถ้าเจอเศษส่วนที่ตัวส่วนไม่ใช่ 10, 100 หรือ 1000 ต้องทำอย่างไร บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยพร้อมกับแสดงวิธีคิดที่ทำให้น้อง ๆต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ง๊ายง่าย!

ร่ายสุภาพ เรียนรู้บทร้อยกรองที่แต่งง่ายที่สุด

หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีมามากมาย น้อง ๆ หลายคนก็คงจะเห็นคำประพันธ์ประเภท ร่าย ผ่านตากันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ ถึงแม้ว่าคำประพันธ์นี้จะไม่ได้มีมากที่สุด แต่ก็เป็นอีกหนึ่งคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่มีมาตั้งแต่โบราณ แถมยังแต่งง่ายมากที่สุดอีกด้วย จะเป็นอย่างไรนั้น เราไปเรียนรู้การแต่งคำประพันธ์อย่าง ร่ายสุภาพ พร้อมกันเลยค่ะ   ร่าย คืออะไร?   ร่าย แปลว่า อ่าน เสก หรือ เดิน เหรือแปลว่าป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งก็ได้ ร่ายเป็นบทประพันธ์ที่แต่งง่าย

กาพย์พระไชยสุริยา ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในเรื่อง

กาพย์พระไชยสุริยา   กาพย์พระไชยสุริยาเป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่า เป็นแบบเรียนภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณ นอกจากนี้ยังสอนเรื่องราวต่าง ๆ อีกมากมาก หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์และเนื้อเรื่องกันไปแล้ว เรื่องต่อไปที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ก็คือตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาค่ะ เรามาดูกันดีกว่านะคะว่าในกาพย์พระไชยสุริยาจะมีตัวบทไหนเด่น ๆ และมีคุณค่าอย่างไรบ้าง   ตัวบทที่น่าสนใจในกาพย์พระไชยสุริยา   ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์สุรางคนางค์ 28  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1