รอบรู้เรื่องคำไทย คำศัพท์คำไหนภาษาไทยยืมมาจากต่างประเทศ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยสนุก ๆ พร้อมสาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันก็เช่นเคยเราจะมาเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะภาษาไทยที่เราใช้กันในปัจจุบันก็มีที่มาจากการยืมคำจากภาษาต่างประเทศมา และไม่ได้มีการยืมแค่ในภาษาบาลีหรือสันสกฤษเท่านั้น แต่ยัลมีภาษาอื่น ๆ อีก เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนมาทำความรู้จักกับคำจากภาษาต่างประเทศที่เราใช่ในภาษาไทยกันให้ลึกขึ้นอีกระดับหนึ่ง ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเริ่มเรียนกันได้เลย

 

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

 

สาเหตุการยืมของภาษาไทย

มาเริ่มกันที่จุดเริ่มต้น หรือสาเหตุที่ทำไมคนไทยจึงต้องหยิบยืมคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจบริบทของประเทศไทยในอดีตที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ เพื่อการค้าขาย และแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม คนไทยจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาที่หลากหลายเพื่อใช้ในการสร้างสัมพันธไมตรีกับประเทศทั้งที่มีพื้นที่ติดต่อกับเรา หรือประเทศที่เราต้องการจะทำการค้าด้วยเป็นการติดต่อสัมพันธ์ทางการฑูต นอกจากนี้ก็ยังมีความสัมพันธ์ในด้านศาสนา สังคม ภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรมซึ่งเกิดขึ้นจากการเผยแพร่ของชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย หรือการส่งคนไทยออกไปศึกษายังต่างประเทศแล้วกลับมาเผยแพร่ให้คนไทยด้วยกันเอง ด้วยเหตุนี้ทำให้คำจากภาษาต่างประเทศเริ่มขยายตัวเข้ามา และมีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทยของคนไทยมากขึ้นด้วย โดยภาษาต่างประเทศที่เราจะพบเห็นได้บ่อย ๆ คือ ภาษาอังกฤษ เขมร จีน ชวา มลายู เวียดนาม ญี่ปุ่น เปอร์เซีย โปรตุเกส ฝรั่งเศส พม่า มอญ บาลี และสันสกฤต

 

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

 

อิทธิพลจากการยืมคำภาษาต่างประเทศ

ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเริ่มขยับขยายเข้ามาปะปนกับภาษาไทยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านของคำศพท์ที่มีการขยายกว้างขึ้น ทำให้เกิดคำไวพจน์ หรือคำที่มีความหมายเหมือนกันกับคำของไทยบางคำ แต่รูปคำนั้นอาจนำมาจากภาษาอื่น และทำให้คนไทยเริ่มมีวัฒนธรรมการใช้คำทับศัพท์ หรือคำศัพท์ใหม่ ๆ มากขึ้นด้วย ซึ่งเพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจมากขึ้นเดี๋ยววันนี้เราจะพาทุกคนมาดูว่าในภาษาไทยมีคำอะไรบ้างที่มาจากภาษาต่างประเทศ

 

ตัวอย่างคำจากภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย

หลังจากที่เราได้เรียนเกี่ยวกับความเป็นมา หรือว่าอิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีผลต่อคำศัพท์ในภาษาไทยแล้ว เร่จะมาดูตัวอย่างคำจากภาษาต่างประเทศที่ภาษาไทยเรานำมาใช้จนแทบจะไม่มีใครสังเกตเลยว่าคำนี้เป็นคำที่มาจากภาษาอื่น มาดูกันว่ามีคำที่มาจากภาษาอะไรบ้าง

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ

สำหรับภาษาอังกฤษถือว่าเป็นอีกภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาก ๆ โดยส่วนใหญ่คนไทยจะใช้คำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษจนแทบจะหาคำไทยมาทดแทนไม่ได้ อย่างการเรียกเครื่องใช้ หรือสิ่งของที่นำเข้ามา หรือเป็นนวัตกรรมจากต่างประเทศ อาทิ คอมพิวเตอร์ รีโมต สวิตซ์ รวมถึงชื่ออาหาร กีฬา หรือวัฒนธรรม การใช้ชีวิตบางอย่างที่คนไทยได้รับมาอีกที และจะใช้ลักษณะของการถ่ายโอนเสียงในภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับเสียงในภาษาไทย

ตัวอย่างคำภาษาจีน

ภาษาจีนเริ่มเข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยนับตั้งแต่ที่บ้านเมืองเราเริ่มทำการค้าขายกับจีน เรารับวัฒนธรรมการกินอยู่ ข้าวของเครื่องใช้ของประเทศจีนมาค่อนข้างมาก คำภาษาจีนบางคำจึงได้รับการบัญญัติในพจนานุกรมของไทยให้เราได้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน โดยคำในภาษาจีนนั้นมักมีเสียงวรรณยุกต์ตรี หรือจัตวา หรือมักจะเป็นคำที่มีสระประสมอย่างสระเอียะ อัวะ แต่บางคำที่คนไทยนำมาใช้จนกลมกลืนไปกับเสียงในภาษาไทยก็อาจจะทำให้การออกเสียงเปลี่ยนจากในภาษาจีนไปบ้าง เช่น ลิ้นจี่ ที่มาจากคำว่า ลีจี ในภาษาจีน หรือคำว่า กงสี ที่มาจากคำว่า กงซี ในภาษาจีน

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

ตัวอย่างคำภาษาญี่ปุ่น

ในส่วนของคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเรามักจะได้รับอิทธิพลเข้ามาจากวัฒนธรรมการกินอย่างชื่อของอาหาร หรือวัตถุดิบบางอย่าง เช่น ซุชิ สุกี้ ชาบู รวมไปถึงชื่อกีฬาบางประเภท เช่น ซูโม่ ยูโด คาราเต้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคำที่ไม่มีตัวสะกด

ตัวอย่างคำภาษาเขมร

ภาษาไทยได้รับอิทธิพลจากภาษาเขมรค่อนข้างมากส่วนใหญ่เราจะพบภาษาเขมรในคำราชาศัพท์ หรือคำไวพจน์ของไทย ซึ่งภาษาเขมรจะมีลักษณะพิเศษสามารถแผลงคำได้ เช่น ตรวจ แผลงเป็นตำรวจ เกิด แผลงเป็น กำเนิด เดิน แผลงเป็น ดำเนิน หรือชาญ แผลงเป็น ชำนาญ เป็นต้น

บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ ทุกคน หลังจากที่ได้เรียนรู้คำจากภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของเราแล้ว ได้สาระความรู้เพิ่มขึ้นหรือเปล่า ต้องบอกว่าการศึกษาคำยืมจากภาษาต่างประเทศนั้นจะช่วยให้น้อง ๆ ได้เห็นทั้งการเปลี่ยนแปลงของภาษา และสามารถใช้คำจากภาษาเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจมากขึ้นด้วย ซึ่งถ้าหากน้อง ๆ อยากจะทบทวน หรือศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูครูอุ้มสอนได้ที่คลิปด้านล่างนี้เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Suggesting Profile

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ จะเกี่ยวข้องกับ θ พิกัดของ จุด (x, y) ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่าง x, y กับ θ จากบทความที่ผ่านมาเราได้รู้จักวงกลมหนึ่งหน่วยและการวัดความยาวส่วนโค้ง ในบทความนี้น้องๆจะได้รู้จักกับฟังก์ชันไซน์ (sine function) และฟังก์ชันโคไซน์ (cosine function) และวิธีการหาค่าของฟังก์ชันทั้งสอง Sine function =

ที่มาและเรื่องย่อของวรรณคดียิ่งใหญ่ตลอดกาล รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีผู้นำรามเกียรติ์มาแต่งมากมายหลายฉบับ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นและสนุกเกินบรรยาย แต่ฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดคือฉบับที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือก็คือรัชกาลที่ 1 นั่นเองค่ะ รามเกียรติ์ฉบับนี้มีความพิเศษและมีจุดประสงค์ที่ต่างจากฉบับก่อนหน้า บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1 ผ่านความเป็นมาของวรรณคดีรวมไปถึงเรื่องย่อในตอนสำคัญอย่างตอน ศึกไมยราพ กันค่ะ ไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่า รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ จะสนุกแค่ไหน   ประวัติความเป็นมา     รามเกียรติ์

ที่มาและเรื่องย่อของ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

มหาชาติชาดก หรือมหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกที่ได้ชื่อว่าเป็น มหาชาติ เพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนจะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้า จากบทเรียนที่เคยเรียนรู้กันตอน ม.4 น้อง ๆ คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่ามหาชาตินี้มีด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยเรื่องที่เราจะได้เรียนกันเจาะลึกกันไปอีกในวันนี้ คือ กัณฑ์มัทรี นั่นเองค่ะ ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา     มหาชาติชาดกเป็นเรื่องราวในอดีตกาลของพระพุทธเจ้าที่เล่าให้กับเหล่าประยูรญาติฟังเมื่อครั้งเสด็จกลับเมืองและได้แสดงอภินิหาร

การใช้คำ

เรียนรู้และทำความเข้าใจการใช้คำในภาษาไทยอย่างง่ายๆ

การใช้คำในภาษาไทย มีความสำคัญมาก แม้ว่าน้อง ๆ จะคุ้นเคยกับภาษาไทยดีในระดับหนึ่งแล้ว แต่แน่ใจหรือเปล่าคะว่าใช้คำกันได้อย่างถูกต้องแล้ว เพราะการใช้คำให้ถูกก็ถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ ดังนั้นบทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการใช้คำต่าง ๆ ได้ถูกต้องกันค่ะ จะมีอะไรบ้างไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การใช้คำ     การใช้คำกำกวม   คำกำกวม คือ การใช้คำหรือภาษาที่มีความหมายไม่ชัดเจน เป็นเหตุให้การสื่อสารผิดพลาด

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1