สังข์ทอง จากนิทานชาดกสู่วรรณคดีไทยอันเลื่องชื่อ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สังข์ทอง เป็นวรรณคดีที่แพร่หลายและโด่งดังอย่างมากในสังคมไทย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ร้อยปี ความนิยมของวรรณคดีเรื่องดังกล่าวนี้ก็ยังไม่เสื่อมคลาย ดูได้จากการที่ถูกผลิตซ้ำตั้งแต่เป็นกลอนบทละครจนถึงละครโทรทัศน์ ที่น้อง ๆ หลายคนก็คงจะเดินเห็นผ่านตากันมาแล้วบ้าง บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้ พร้อมเรื่องย่อหนึ่งตอนสำคัญที่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดอย่างตอน กำเนิดพระสังข์ กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยนะคะ

 

สังข์ทอง ความเป็นมา

 

สังข์ทอง

 

สังข์ทอง มีที่มาจาก สุวรรณสังขชาดก หรือสุวัณณสังขชาดก เป็นนิทานปัญญาสชาดก ซึ่งเป็นนิทานทางพระพุทธศาสนาที่พระสงฆ์ชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมแต่งเป็นชาดก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงนำเค้าโครงเรื่องมาประพันธ์ให้มาเป็นกลอนบทละคร นิยมนำมาเล่นเป็นละครนอก

 

สังข์ทอง

 

โดยละครนอกที่ถูกประพันธ์ขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 2 นี้จะแบ่งออกเป็น 9 ตอนด้วยกัน ได้แก่

 

สังข์ทอง

 

เรื่องย่อสังข์ทอง ตอน กำเนิดพระสังข์

 

ท้าวยศวิมล เจ้าเมืองยศวิมล มีมเหสีสององค์ มเหสีฝ่ายขวาชื่อพระนางจันทร์เทวี มเหสีฝ่ายซ้ายชื่อพระนางจันทา เมื่อพระนางจันทร์เทวีทรงครรภ์และประสูติพระโอรสออกมาเป็นหอยสังข์ พระนางจันทาที่อิจฉาริษยาอยู่แล้วเป็นทุนเดิมจึงใส่ร้าย โดยให้โหรทำนายว่าพระโอรสในสังข์เป็นกาลกิณี จะทำให้บ้านเมืองวิบัติล่มจม ท้าวยศวิมลก็หลงเชื่อจึงขับไล่พระนางจันทร์เทวีให้ออกไปจากเมืองพร้อมพระสังข์ แต่เพชฌฆาตเกิดความสงสารจึงปล่อยนางจันทร์เทวีกับพระสังข์ไป นางจันทร์เทวีเดินอยู่ในป่าจนไปเจอกระท่อมตายายและช่วยทำงาน พระสังข์ซ่อนตัวอยู่ในหอย กระทั่งวันหนึ่งเทวดาบันดาลให้ไก่มาจิกข้าว พระสังข์จึงออกจากหอยมาเพื่อไล่ไก่ นอกจากนั้น พระสังข์ยังคอยช่วยเหลือมารดาในการทำความสะอาดบ้าน หุงหาอาหาร จนนางจันทร์เทวีสงสัยจึงแอบดู เมื่อเห็นว่าเด็กที่คอยช่วยนางอยู่เสมอ คือพระสังข์ที่ซ่อนอยู่ในหอย นางจันทร์เทวีจึงไปทุบหอยสังข์ เพื่อที่พระสังข์จะได้ไม่สามารถกลับเข้าไปได้อีก

 

สรุปเนื้อเรื่อง

 

 

 

เนื้อหาในตอนกำเนิดพระสังข์นี้ ถือเป็นอีกหนึ่งตอนที่มีความสำคัญและได้รับความนิยม ถูกนำมาปรับปรุงเป็นนิทานสำหรับเด็ก ด้วยเนื้อหาที่เล่าถึงชีวิตความลำบากของพระสังข์ในวัยเด็ก ที่ถึงแม้จะอยู่ในหอย ไม่ได้เหมือนเด็กคนอื่น แต่เวลาที่แม่ออกไปทำงาน พระสังข์ก็มักจะคอยช่วยแบ่งเบาภาระ แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูของลูกที่มีต่อแม่นั่นเองค่ะ ซึ่งเนื้อหาตัวบทที่เด่น ๆ ของบทละครตอนนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในบทถัดไปค่ะ รวมไปถึงคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องด้วย แต่ก่อนจะไป น้อง ๆ ก็อย่าไปลืมทบทวนความรู้ที่เรียนมาโดยการชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับตัวเองกันนะคะ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ ม.4Gerund

Gerund

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund   อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์

การใช้กริยา V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์

สวัสดีค่ะนักเรียนที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้กริยา be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ กันนะคะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go! รู้จักกับ V. to be   V. to be แปลว่า เป็น อยู่ คือ หลัง verb to

เรียนรู้บทร้องกรองสุภาษิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

การนำสุภาษิตมาแต่งเป็นบทร้อยกรอง เรียกว่า บทประพันธ์ร้อยกรองสุภาษิต ซึ่งบทที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในวันนี้คือบทร้อยกรองสุภาษิตเรื่อง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เราไปดูกันเลยค่ะว่าที่มจากของบทร้อยกรองนี้จะเป็นอย่างไร มาจากสุภาษิตอะไร รวมไปถึงถอดความหมายตัวบท ศึกษาคำศัพท์ที่น่ารู้และศึกษาคุณค่าที่อยู่ในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลย   ความเป็นมา ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน     ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ผู้แต่งคือ นายเพิ่ม สวัสดิ์วรรณกิจ เป็นบทร้อยกรองประเภทกลอนแปด พิมพ์รวมอยู่ในหนังสือบทประพันธ์อธิบายสุภาษิตของวรรณคดีสมาคมแห่งประเทศไทย    

Profile- WH Questions

ประโยคคำถาม Wh-Questions ที่ต้องการคำตอบ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.  6 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างวิธีการแต่งประโยคคำถามด้วย Wh- Questions ที่ใช้กับเวลาในอดีตและคำถามทั่วไปที่ต้องการคำตอบแบบไม่ใช่ Yes หรือ No กันค่ะ ไปดูกันเลย อะไรคือ Wh-Questions     เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบทื่อๆ เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า Question  word หรืออีกชื่อในวงการคือ

ที่มาของขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

​ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณกรรมที่เชื่อว่ามีเค้าเรื่องจริงในสมัยอยุธยา มีมากมายหลายตอน แต่ตอนที่ถูกนำมาให้เด็กได้เรียนกันมีด้วยกันสองตอนคือกำเนิดพลายงามและขุนช้างถวายฎีกา สำหรับตอนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือตอน กำเนิดพลายงาม ซึ่งคือว่าเป็นตอนที่สำคัญอย่างมากเพราะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดของเรื่อง ตอนนี้จะมีความเป็นมา เรื่องย่อ และมีความดีเด่นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ชำระเสภาขุนช้างขุนแผน ได้ทรงประชุมกวีเอกสมัยนั้น ช่วยกันแต่งคนละตอนสองตอน สุนทรภู่ก็ได้รับมอบหมายให้ร่วมแต่งด้วย และท่านคงต้องแต่งอย่างสุดฝีมือทำให้ตอน

E6 This, That, These, Those

This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง This, That, These, Those กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   เข้าสู่บทเรียน   ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ This,

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1