การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

การเปลี่ยนแปลงทางภาษา

 

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา

 

1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม

 

2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ อาจจะพูดย่อหรือลดพยางค์ลงไป และในบางคำที่เป็นพยัญชนะควบกล้ำที่ออกเสียงยาก ผู้พูดก็จะหลีกเลี่ยงไม่ออกเสียง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา

3. การยืมคำจากภาษาต่างประเทศ การยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่มาใช้ร่วมกับภาษาไทยทำให้ภาษามีการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเสียง คำ และโครงสร้างประโยค

 

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

เป็นการเปลี่ยนระบบโครงสร้างของภาษาไทยให้ต่างไปจากเดิม มีลักษณะดังนี้

ลักษณะ การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

1. การใช้ประโยคกรรม

โดยปกติแล้วประโยคภาษาไทยจะเรียงแบบ ประธาน + กริยา + กรรม แต่ในปัจจุบันมีประโยคกรรมมากขึ้น คือย้ายกรรมมาไว้ต้นประโยคเหมือนเป็นประธาน

ตัวอย่าง สุนัขถูกตี สุนัขเป็นกรรมที่อยู่ต้นประโยค หรือ น้องสาวถูกรถชน น้องสาวเป็นกรรมที่อยู่ต้นประโยค

จากตัวอย่าง น้อง ๆ จะสังเกตได้ว่าประโยคกรรมเหล่านี้มักมีคำว่า ถูก อยู่หน้ากริยาทำให้โครงสร้างของประโยคที่คนนิยมใช้ส่วนมากจะเป็น กรรม + ถูก + กริยา นอกจากนี้ยังมีอีกคำหนึ่งซึ่งก็คือคำว่า ได้รับ ทั้งคำนี้จะถูกใช้ในบริบทที่ต่างกันออกไป

 

 

2. การใช้ประโยคสรรพนามว่า มัน

เป็นการเรียงประโยคที่ได้รับอิทธิพลมาจากไวยากรณ์อังกฤษในการใช้คำว่า it หรือ มัน ขึ้นต้นประโยค โดยที่สรรพนาม มัน นั้นไม่ได้แทนสัตว์หรือสิ่งของใด ๆ

ตัวอย่าง มันถึงเวลาแล้ว

มันจะผ่านไปด้วยดี

มันเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องอบรมลูก

 

3. ประโยคมีอาการนามมากขึ้น

อาการนาม คือ คำนามที่บอกกิริยาอาการหรือสภาวะต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมักจะมีคำ “ความ” หรือ “การ” นำหน้าคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ ประโยคในปัจจุบันมีการนำอาการนามมาเพิ่มในประโยคเยอะขึ้นทำให้ประโยคยาวกว่าเดิม

ตัวอย่าง การแยกขยะให้ถูกต้องจะช่วยจัดการปัญหาเรื่องขยะได้ดี

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาเป็นผลของความพยายาม

 

4. ประโยคที่นำส่วนขยายมาไว้ต้นประโยค

ส่วนขยายในประโยคภาษาไทยมักจะอยู่หลังคำหรือวลีที่ถูกขยาย แต่การเปลี่ยนแปลงทางประโยคทำให้ปัจจุบันคนนิยมนำส่วนขยายมาไว้ต้นประโยคกันเป็นจำนวนมาก

ตัวอย่าง สีแดงของเสื้อเธอมันแสบตาฉันเหลือเกิน

 

วัวัฒนาการของภาษามีการเปลี่ยนไปแปลงไปเรื่อย ๆ เป็นธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตายทำให้โครงสร้างประโยคถูกเปลี่ยนไปมีหลายรูปแบบมากขึ้น อาจจะสะดวกในการสื่อสาร แต่น้อง ๆ ก็ต้องหมั่นทบทวนและแยกให้ออกด้วยนะคะว่าประโยคไหนเป็นแบบไหน เพื่อป้องกันไม่ให้เข้าใจผิดและสับสนค่ะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนของประโยคเพิ่มเติมได้ ก่อนที่บทเรียนในครั้งหน้าเราจะไปเรียนรู้อีกหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงทางภาษาอย่างการเปลี่ยนแปลงคำกันค่ะ ไปดูกันค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

แบบฝึกหัดความสัมพันธ์

แบบฝึกหัดความสัมพันธ์ แบบฝึกหัดความสัมพันธ์ เป็นการทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ได้แก่ เรื่องโดเมนและเรนจ์ของความสัม กราฟของความสัมพันธ์ และตัวผกผันของความสัมพันธ์ ก่อนทำแบบฝึกหัดความสัมพันธ์ บทความที่น้องๆควรรู้ คือ โดเมนของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์   แบบฝึกหัด 1.) ถ้า (x, 5) = (3, x – y)

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be เกริ่นนำ เกริ่นใจ เรื่องอดีตนั้นไม่ง่ายที่จะลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวชีวิตของใครคนหนึ่งที่เราเอาใจใส่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรที่จะให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจเรื่องง่าย ๆ อย่าง Past simple tense ซึ่งเป็นโครงสร้างประโยคที่เราใช้ในการเล่าเรื่องราวในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เมื่อกี้ ไปจนถึงเรื่องของเมื่อวาน  ภาษาไทยของเราเองก็ใช้โครงสร้างประโยคนี้บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เราอยากจะเล่าเรื่องของเรา ของใครคนอื่นที่เราอยากจะเม้ามอยกับคนรอบข้างอ่ะ

ความหมายและความสำคัญของ คำราชาศัพท์

  คำราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับระดับของผู้พูดและผู้ฟัง น้อง ๆ หลายคนคงคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วเวลาฟังข่าวในพระราชสำนัก แต่รู้หรือไม่คะว่าความหมายจริง ๆ ของคำราชาศัพท์คืออะไร มีใครบ้างที่เราต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนเรื่องคำราชาศัพท์พร้อมเรียนรู้คำราชาศัพท์ในหมวดร่างกายที่ใช้กับพระมหากษัตริย์กันค่ะ   ความหมายของคำราชาศัพท์     คำราชาศัพท์ หมายถึง คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงพระสงฆ์ โดยที่มีคำศัพท์และลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามระดับภาษา ฐานะของบุคคลในสังคมไทยแบ่งตามวัยวุฒิและชาติวุฒิได้ดังนี้ 1.

โคลงโสฬสไตรยางค์

โคลงโสฬสไตรยางค์ โคลงสุภาษิตผลงานพระราชนิพนธ์ในร.5

  โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิต ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและข้อคิดสอนใจมากมาย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีเนื้อหาอะไรและมีข้อคิดอย่างไรบ้าง เราก็ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     โคลงโสฬสไตรยางค์ (พ.ศ. 2423) เป็นโคลงสุภาษิต บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นภาษาอังกฤษ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์โคลงเป็นภาษาไทย โดยพระองค์ได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย

การแก้สมการกำลังสอง

การแก้สมการกำลังสอง

การแก้สมการกำลังสอง การแก้สมการกำลังสอง สามารถทำได้โดยการ แยกตัวประกอบพหุนามกำลังสอง และใช้สูตร เราแก้สมการเพื่อหาคำตอบหรือหาค่าของตัวแปร ในบทความนี้พี่จะพูดถึงสมการกำลังสองตัวแปรเดียว ซึ่งอยู่ในรูป ax² + bx + c = 0 โดยที่ a, b, c เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 ตัวอย่างสมการกำลังสองตัวแปรเดียว 

การใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple Tense + Future Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยการใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple tense + Future Simple tense  หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Wh-Questions คืออะไร      เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบตรงประเด็น เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1