เรียนรู้การเขียนเชิงวิชาการ อย่างง่ายเพียง 4 ขั้นตอน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การเขียนเชิงวิชาการ อาจจะดูเป็นการเขียนที่ยากในความคิดของหลาย ๆ คน เพราะดันมีคำว่า วิชาการ อยู่ด้วยนั่นเอง แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วการเขียนเชิงวิชาการนั้นไม่ได้ยุ่งยากและซับซ้อนเลย แถมยังมีวิธีขั้นตอนการเขียนที่ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่ามันจะง่ายขนาดนั้นจริงหรือ? เราไปหาคำตอบของเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การเขียนเชิงวิชาการ คืออะไร?

 

คือ องค์ความรู้เชิงวิชาการที่ได้จากการตกผลึกทางความคิดของผู้เขียนที่ต้องการถ่ายทอดหรือสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ผ่านกระบวนการเรียบเรียง โดยอาศัยการศึกษาค้นคว้า สำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลความรู้อย่างละเอียด ถี่ถ้วน มีเหตุผล เป็นระบบ และอ้างอิงหลักฐาน โดยอาศัยการผสมผสานระหว่างตัวอักษร รูปภาพ ตาราง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

 

การเขียนเชิงวิชาการมีความสำคัญอย่างไร

 

การเขียนเชิงวิชาการเป็นงานที่จะได้นำเสนอแนวคิดของตนได้อย่างอิสระโดยอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการ

 

การเขียนเชิงวิชาการ

 

นอกจากนี้ตัวของผู้เขียนแล้ว การเขียนเชิงวิชาการยังมีความสำคัญต่อแวดวงของเรื่องราวที่นำมาเขียน มีความสำคัญต่อสังคม เพราะการเขียนนี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางสังคมนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน

 

การเขียนเชิงวิชาการ

 

ในงานเขียนจะต้องมีแก่นสำคัญที่ผู้เขียนควรจะให้ความสำคัญไว้เสมอ ประกอบไปด้วย 3 สิ่งนี้

 

การเขียนเชิงวิชาการ

 

1.ผู้อ่าน การเขียนที่ดี เราจะต้องนึกถึงผู้อ่านด้วย ไม่ใช่ยึดตัวเองเป็นหลัก แม้ว่าแรกเริ่มเดิมทีการเขียนนี้จะมาจากความสนใจของเราก็ตาม เพราะถ้าไม่รู้ว่าจะเขียนให้ใครอ่าน ก็จะไม่เกิดประโยชน์ ไม่บรรลุเป้าหมายอย่างที่ตั้งใจ

2. เนื้อหาสาระ เนื้อหาที่จะเขียนนั้นจะต้องถูกเรียบเรียงอย่างดี และกลั่นกรองทางความคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการเขียนและเพื่อให้งานที่ได้นั้นเกิดประโยชน์

3. รูปแบบ รูปแบบของการเขียนเชิงวิชาการมีความสำคัญ เพราะผู้เขียนต้องคำนึงว่าจะเขียนแบบไหนให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกอยากอ่านและเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ต้องการจะสื่อ

 

ขั้นตอนการเขียนเชิงวิชาการ

 

 

1. เลือกหัวข้อเรื่อง

การเลือกหัวข้อเรื่องนั้นสามารถเลือกได้ที่อาจารย์กำหนดให้ หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจอยากจะค้นคว้า โดยเรื่องที่เลือกนั้นจะต้องเป็นเรื่องมีความรู้พื้นฐานอยู่พอสมควรเพื่อที่จะได้ต่อยอดการศึกษาได้ ไม่ไกลตัวจนเกิดไป เพราะอาจจะไม่ได้คำตอบที่ต้องการจะค้นคว้า

2. กำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง

เพื่อให้การเขียนเป็นไปอย่างราบรื่น ควรกำหนดจุดมุ่งหมายใหญ่ ๆ ไว้ก่อนจะเลือกประเด็นสำคัญเพื่อกำหนดขอบเขตจากจุดมุ่งหมายอีกที ก่อนจะนำขอบเขตนั้นมาขยายเพื่อทำการศึกษาแตกย่อยออกไปตามที่กำหนดไว้

3. ค้นคว้าและรวบรวมความรู้

ในการเขียนเชิงวิชาการควรมีแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เป็นแหล่งอ้างอิง ดังนั้นก่อนอื่นเราจะต้องสำรวจแหล่งข้อมูลเสียก่อนว่ามีเพียงพอต่อการศึกษาหรือไม่ หรือเพราะไม่สามารถที่สร้างข้อมูลขึ้นมาใช้อ้างอิงเองได้ โดยการค้นคว้านั้นอาจจะใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลผ่านเอกสาร หนังสือออนไลน์ หรือจากห้องสมุดเพื่อหาหนังสืออ้างอิง

4. วางโครงเรื่อง

การวางโครงเรื่องนั้นมีความสำคัญเพราะต้องนำหัวข้อต่าง ๆ มาจัดเรียงให้เป็นลำดับว่าจะเขียนเรื่องไหนก่อนหรือหลัง และต้องทำควบคู่ไปกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อที่จะได้ปรับ เพราะขณะที่หาข้อมูลเราอาจจะได้แนวคิดหรือแนวทางใหม่ ๆ ที่ชัดเจนขึ้น โดยในการวางโครงเรื่องจะต้องกำหนดสองสิ่งหลัก ๆ นี้

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ การเขียนเชิงวิชาการไม่ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมคะ ถึงแม้จะฟังเหมือนยาก แต่แค่น้อง ๆ หาข้อมูล และรู้จักวางโครงเรื่องให้เป็น เมื่อเราลำดับความคิดตัวเองและรู้ว่าจะเขียนอะไรแล้วก็ไม่มีอะไรยากอีกต่อไปค่ะ สำหรับน้อง ๆ ที่อยากจะฟังคำอธิบายเพิ่มเติมก็สามารถไปดูในคลิปการสอนของครูอุ้ม ในคลิปครูได้ยกตัวอย่างการเขียนขึ้นมาเพื่อให้เราเข้าใจและเห็นภาพมากกว่าเดิมด้วยนะคะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำสุภาพและคำผวน

คำสุภาพ คำผวน สองขั้วตรงข้ามในภาษาไทย

คำสุภาพ และคำผวน คำสุภาพและคำผวน คือสองเรื่องในภาษาไทยที่ต่างกันสุดขั้ว ทั้งวิธีใช้ ความหมาย และความสำคัญ บทเรียนภาษาไทยวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับทั้งคำสุภาพ และคำผวนในภาษาไทย ว่าทำไมถึงต่างกันและสามารถใช้ในโอกาสใดได้บ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของคำสุภาพ     คำสุภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์เดิมให้เปลี่ยนไปในทางดีขึ้น เพื่อให้ดูสุภาพมากกว่าเดิม ใช้เมื่อต้องการหลีกเลี่ยงเรียกคำที่ไม่น่าฟัง หรือใช้กับคนที่อาวุโสกว่าก็ได้ อาจเรียกอีกอย่างว่าเป็นคำราชาศัพท์

ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู     ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่ 1. คำยืมภาษาชวา เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยการเเบ่งพื้นที่ของวงกลมออกเป็นส่วน ๆ เเละมีขนาดของสัดส่วนตามข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ การนำเสนอด้วยเเผนภูมิวงกลมเป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างน่าสนใจ สามารถวิเคราะห์เเละเเปรข้อมูลได้ง่ายขึ้น การสร้างแผนภูมิรูปวงกลมเพื่อนำเสนอข้อมูล การสร้างแผนภูมิวงกลม ทำได้โดยการเเบ่งมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา ออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า มุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม ตามขนาดที่ได้จากการเทียบส่วนกับปริมาณทั้งหมดในข้อมูล มุมที่จุดศูนย์กลาง = (จำนวนที่สนใจ/จำนวนทั้งหมด) x 360 องศา ตัวอย่างการสร้างแผนภูมิวงกลม จากข้อมูลการสำรวจที่ได้เก็บรวมรวบข้อมูลจากนักเรียนทั้งหมด 200

โคลงโลกนิติ

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในโคลงโลกนิติ

หลังจากที่ได้เรียนรู้ความเป็นมาและเนื้อหาในโคลงโลกนิติกันแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะอยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่าตัวบทในโคลงโลกนิติที่มีอยู่มากมายนั้น มีตัวบทไหนที่เด่น ๆ กันบ้าง วันนี้เรามาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจเพื่อทำความเข้าใจถึงคติธรรมและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องกันค่ะ โคลงโลกนิติ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีคำสอนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคบเพื่อน การปฏิบัติตัวกับพ่อแม่ หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เรามาดูตัวบทเด่น ๆ ที่ควรรู้กันทีละบทเลยนะคะว่าแต่ละบทสอนเรื่องอะไรบ้าง   ศึกษาตัวบท     ความหมาย กล่าวถึงปลาร้าที่มีกลิ่นเหม็น และใบคา แม้ใบคาจะเป็นใบไม้ที่ไม่มีกลิ่นเฉพาะตัว แต่เมื่อนำไปห่อปลาร้าก็จะทำให้มีกลิ่นเหม็นจากปลาร้าติดไปด้วย

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_

Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were” ไปลุยกันโลดเด้อ   ทำไมต้องเรียนเรื่อง Did, Was, Were Did, Was, Were ใช้ถามคำถามใน Past Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต หรือ ถามเพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำสิ่งนั้นๆไปแล้ว

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1