วัฒนธรรมกับภาษา ความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

วัฒนธรรมกับภาษา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

มนุษย์ก่อให้เกิดภาษา และภาษาก็ก่อให้เกิดวัฒนธรรม น้อง ๆ สงสัยกันหรือไม่คะว่ามนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงเรื่องราวที่ว่านี่กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ

 

มนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา

 

วัฒนธรรม คืออะไร

วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น รากศัพท์ในภาษาละตินมีความหมายว่าการเพาะปลูก แต่ไม่ได้ใช้แค่ในเชิงเกษตรกรรม แต่จะรวมไปถึงการปลูกฝังในด้านต่าง ๆ ทั้งให้การศึกษา ความเคารพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงขึ้นเพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตมนุษย์ในส่วนรวมที่สามารถถ่ายทอดและเลียนแบบกันได้

 

ความแตกต่างทางวัฒนธรรม

 

วัฒนธรรมกับภาษา

 

ที่ตั้ง มนุษย์อาศัยอยู่ในที่ต่างกันออกไป ก่อให้ประเพณีและวัฒนธรรมที่ต่างกัน เช่น ประเทศไทยที่เป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนทำให้มีประเพณีสงกรานต์

ภูมิอากาศ ภูมิอากาศที่แตกต่างกันจะมีความเป็นอยู่ที่ต่างกันออกไป เช่น ชนชาติที่อยู่ในเขตมรสุม การออกหาอาหารจะเป็นหน้าที่ของสมาชิกคนใดคนหนึ่งเท่านั้น

ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น มนุษย์จะมีค่านิยมและลักษณะนิสัยแตกต่างกันออกไปตามสภาพความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น เช่น กลุ่มชนชาติที่อยู่ในที่อุดมสมบูรณ์ก็จะมีความสุขสบาย ไม่ต้องพยายาม ใช้ชีวิตง่าย ๆ และรู้จักแบ่งปันเพราะไม่เดือดร้อน ในขณะที่กลุ่มชนชาติที่แร้นแค้นจะหวงแหนสมบัติที่ได้มาเพราะหามาอย่างยากลำบาก เป็นต้น

กลุ่มชนแวดล้อม วัฒนธรรมของกลุ่มชนที่ได้รับผลกระทบจากกลุ่มชนแวดล้อมที่ต้องการแสดงถึงอำนาจ เช่น กลุ่มชนที่บังเอิญไปตั้งถิ่นฐานใกล้ชนกลุ่มใหญ่ที่มีอำนาจมากกว่าก็ต้องระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งกัน

นักปราชญ์หรือประมุขของกลุ่มชน ค่านิยมในแต่ละวัฒนธรรมนั้นแตกต่างกัน หากว่าในกลุ่มชนชาติใดมีนักปราชญ์ที่เผยแพร่ความรู้ หรือมีประมุขดี วัฒนธรรมก็จะแตกต่างกับกลุ่มชนชาติที่ไม่มีนักปราชญ์หรือมีประมุขแย่

 

ภาษา

 

คำว่าภาษามาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ภาษฺ ตรงกับคำในภาษาบาลีว่า ภาสา ความหมายตามรากศัพท์เป็นคำกริยา แปลว่า กล่าว พูด หรือ บอก ซึ่งเมื่อนำมาเปลี่ยนรูปเป็น ภาษา ในภาษาไทย จะทำหน้าที่เป็นคำนาม มีความหมายว่าคำพูด หรือ ถ้อยคำ

 

ความสัมพันธ์ระหว่าง วัฒนธรรมกับภาษา

 

วัฒนธรรมกับภาษา

 

ภาษาสร้าง ธำรง และพัฒนาวัฒนธรรม

ภาษาทำให้วัฒนธรรมถูกพัฒนาและคงอยู่ในสังคมผ่านการสืบทอดไม่ว่าจะด้วยวิธีการบอกเล่า จดบันทึกลงกระดาษหรือแผ่นหิน เพราะมีภาษาเราจึงมีตรากฎหมาย ซักถามข้อเท็จจริง มีสถาบันศาล นอกจากนี้เรายังใช้ภาษาในการบัญญัติจนทำให้มีศาสนาขึ้นมา ทำให้เห็นว่าภาษาเป็นตัวสร้างวัฒนธรรม ซึ่งคนรุ่นหลังก็สามารถนำมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับยุคสมัย เป็นการส่งต่อไปให้คนรุ่นหลังได้เช่นเดียวกัน

ภาษาสะท้อนวัฒนธรรม

ภาษา เป็นตัวสะท้อนความคิดของผู้พูด ซึ่งแตกต่างกันแล้วแต่วัฒนธรรมและถิ่นที่อยู่ อย่างในประเทศไทยเองก็มีหลายภูมิภาค ทำให้มีหลายสำเนียง โดยภาษาของแต่ละภูมิภาคนี้จะมีลักษณะเฉพาะทั้งการออกเสียง คำศัพท์ หรือแม้แต่ในภูมิภาคเดียวกันบางพื้นที่ก็ยังออกเสียงและมีคำศัพท์ที่ต่างกันออกไป ซึ่งตรงนี้เองที่ทำให้เห็นชัดเจนว่าความแตกต่างของวัฒนธรรมทำให้ภาษามีความเปลี่ยนแปลงไปตามพื้นที่นั้นๆ

 

 

ภาษากับวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อกัน

ภาษากับวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อกัน สังคมหรือวัฒนธรรมในชนชาตินั้น ๆ ให้ความสำหรับกับเรื่องใด ก็จะมีข้อบังคับเพิ่มขึ้น อย่างการใช้ระดับภาษาในสังคมไทย ทำเห็นว่าคนไทยให้ความสำคัญกับลำดับขั้นทางอายุโดยจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดชื่อเรียกลำดับเครือญาติอย่างละเอียด แตกต่างกันทั้งฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่ รวมไปถึงคำราชาศัพท์ที่ใช้ลดหลั่นกันไปตามฐานะทางสังคม มีการกำหนดคำต้องห้าม ที่เป็นคำไม่สุภาพ ให้เปลี่ยนไปใช้คำที่รื่นหูเพื่อเป็นมารยาททางสังคม

 

ภาษาเป็นระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองการดำเนินชีวิตในสังคม ทำให้เรามีความเชื่อ มีความคิด มีความรู้สึก จนกระทั่งสามารถสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาให้คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้และสืบทอดต่อ ๆ กันมาจนถึงทุกวันนี้ บทเรียนเรื่องมนุษย์ วัฒนธรรมและภาษาจะทำให้น้อง ๆ ได้เข้าใจถึงความสำคัญมากขึ้นนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถรับชมคลิปการสอนของครูอุ้มได้เพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องภาษาสร้าง ธำรง และพัฒนาวัฒนธรรม, ภาษาสะท้อนวัฒนธรรม, ภาษากับวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อกันให้น้อง ๆ ได้เข้าใจมากขึ้นรวมไปถึงความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมกับภาษา ถ้าอยากรู้แล้วละก็ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

กราฟของความสัมพันธ์

กราฟของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ r คือเซตของจุดในระนาบx, y โดยที่แต่ละจุดคือสมาชิกของความสัมพันธ์ r นั่นเอง อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ เมื่อเราได้เซตของความสัมพันธ์ r ที่มีสมาชิกในเซตคือคู่อันดับแล้ว เราก็นำคู่อันดับแต่ละคู่มาเขียนกราฟนั่นเอง เช่น r = {(1, 1), (1, 2), (2, 2), (3, 4)} นำมาเขียนกราฟของความสัมพันธ์

causatives

Causatives: Have and Get Something Done

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้ไวยากรณ์เรื่อง Causatives หรือการใช้ Have/Get Something Done ที่น้องๆ บางคนอาจจะสงสัยว่าคืออะไร ลองไปดูกันเลยครับ

งานอดิเรก (Hobbies) ในยุคปัจจุบัน

  ในปัจจุบันงานอดิเรก (Hobbies) นอกจากจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราสนุกแล้วยังสามารถเพิ่มพูนทักษะใหม่ๆ  ให้เราได้อีกด้วย  หากมีใครก็ตามถามว่า what do you like to do in your free time? คุณชอบทำอะไรในเวลาว่าง ครูเชื่อว่านักเรียนจะต้องมีหลายคำตอบ เพราะปัจจุบันมีหลายสิ่งหลายอย่างให้ทำเยอะมาก แต่เหนือสิ่งอื่นใด งานอดิเรกนั้นต้องทำให้เราสนุกและมีความสุขกับการได้ทำมันแน่ๆ “Do what you love,

การอ่านบทร้อยแก้ว อ่านอย่างไรให้น่าฟัง

หลังจากที่เราได้เรียนรู้เรื่องการบทร้อยกรองไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงบทร้อยแก้วกันบ้าง ซึ่งน้อง ๆ หลายคนคงจะรู้จักบทร้อยแก้วกันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่า การอ่านบทร้อยแก้ว ก็มีวิธีอ่านที่ถูกต้องเหมือนกัน เพราะการที่เราอ่านไม่ถูกต้องนั้นก็อาจจะทำให้ไม่น่าฟัง น่าเบื่อ รวมไปถึงอาจทำให้ใจความที่ผู้แต่งต้องการจะสื่อสารคลาดเคลื่อนได้อีกด้วย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีหลักเกณฑ์และวิธีอ่านอย่างไร ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ร้อยแก้วคืออะไร ?   บทข้อความทั่วๆ ไป ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน โดยต้องเขียนเป็นประโยค ข้อความติดต่อกัน

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม การแยกตัวประกอบพหุนาม เป็นการแยกตัวประกอบของสมการเพื่อให้ง่ายต่อการหาคำตอบของสมการที่จะต้องเรียนในเนื้อหาถัดไป ในบทความนี้จะพูดถึงพหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว พหุนามดีกรี 2 คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุด คือ 2 พหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุดคือ 2 และ มีตัวแปร 1 ตัว เขียนอยู่ในรูป ax² +

การโต้วาที

โต้วาที และยอวาที แต่งต่างกันอย่างไร?

การพูดมีมากมายหลายประเภท แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้พูดว่าต้องการจะสื่อสารออกมาในรูปแบบใด แต่จะมีอยู่ประเภทหนึ่งที่มีหัวข้อให้พูดและต้องแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อมาทะเลาะกัน เพราะเรากำลังหมายถึงการพูดโต้วาทีและการยอวาที ที่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในลักษะที่ต่างกัน แต่จะต่างกันอย่างไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การโต้วาที     การโต้วาที เป็นการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อให้ชนะอีกฝ่าย โดยจะแบ่งผู้พูดออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายญัตติและฝ่ายคัดค้านญัตติ และมีกรรมการคอยตัดสินว่าจะให้ฝ่ายใดชนะ โดยแต่ละฝ่ายจะต้องมีข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนการพูดของตัวเอง หักล้างแนวคิดของอีกฝ่ายและต้องมีปฏิภาณไหวพริบ   องค์ประกอบของการโต้วาที  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1