ทริคการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตอย่างง่าย ๆ

Picture of Chisanucha
Chisanucha

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีที่แล้วก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนเหมือนอย่างทุกวันนี้ แหล่งการสืบค้นหลัก ๆ จะอยู่ที่ห้องสมุด แต่ในปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นเพียงคลิกปลายนิ้ว ข้อมูลที่ต้องการค้นหาก็มาปรากฏอยู่ตรงหน้าให้เลือกสรรมากมาย แต่เราจะมีวิธีการเลือกสืบค้นข้อมูลกันอย่างไร ถึงจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนที่สุด บทเรียนในวันนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้การหาข้อมูลสำหรับการเรียนของน้อง ๆ นั้นง่ายขึ้น เราไปเรียนรู้เรื่อง การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต กันเลยค่ะ

 

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

 

เป็นการค้นคว้าหาความรู้โดยใช้สารสนเทศในลักษณะต่าง ๆ โดยมีเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งเก็บรวบรวมภาพและข้อมูลต่าง ๆ

 

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

 

เทคนิคใน การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

 

ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากมาย จนทำให้อาจจะมีปัญหาเพราะไม่รู้ว่าควรเลือกเข้าเว็บไซต์ไหนดีเพื่อให้ได้คำตอบของสิ่งที่เรากำลังค้นหา ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงต้องมีจำกัดคำค้นหาให้แคบลง เพื่อให้ตรงประเด็นกับสิ่งที่เรากำลังหาอยู่ โดยมีวิธีการดังนี้

 

สืบค้นแบบไม่ทราบข้อมูล

ให้ใช้บริการของเว็บไซต์ที่มีแหล่งข้อมูลใหญ่ ๆ อย่าง google หรือ yahoo เพื่อเลือกเข้าไปดูข้อมูลของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่ขึ้นมา สิ่งสำคัญที่จะทำให้เราได้ข้อมูลตามต้องการคือคีย์เวิร์ดที่เลือกใช้ ถ้าเลือกใช้คีย์เวิร์ดที่กว้างเกินไป ก็จะมีข้อมูลขึ้นมาเยอะและไม่ตรงกับความต้องการของเรา ดังนั้นควรเพิ่มคีย์เวิร์ดเพื่อระบุให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น ถ้าน้อง ๆ ต้องการจะสืบค้นเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องขุนช้าขุนแผนแล้วน้อง ๆ นำคำว่า ขุนช้างขุนแผนไปไปใส่ในช่องค้นหา ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับวรรณคดีขึ้นมามากมาย แต่ถ้าน้อง ๆ ระบุไปด้วยว่า “ขุนช้างขุนแผน คุณค่า” น้อง ๆ ก็จะได้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นตามที่ต้องการ

 

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

 

สืบค้นแบบทราบข้อมูล

 

ในกรณีนี้น้อง ๆ จะต้องรู้อยู่แล้วว่าข้อมูลที่ตัวเองต้องการจะหานั้นอยู่ในเว็บไซต์ไหน เมื่อเข้าไปแล้วพิมพ์ในช่องค้นหา ก็จะเจอกับคำตอบที่ชัดเจนกว่าไปหาในเว็บไซต์ใหญ่ ๆ อย่าง google

ตัวอย่างเช่น น้อง ๆ ต้องการจะหาคำไวพจน์ของคำว่า ม้า ก็เข้าไปในเว็บไซต์ wordyguru ตรงส่วนของคำไวพจน์แล้วพิมพ์คำว่า ม้า ในช่องค้นหา เพียงแค่นั้นน้อง ๆ ก็จะได้คำไวพจน์ทั้งหมดของคำว่าม้าที่ถูกรวบรวมไว้ในเว็บไซต์ นอกจากนี้จะค้นหาคำอื่น ๆ ต่อไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาไปหาหลายเว็บไซต์อีกด้วย

 

วิธีกรองข้อมูลสืบค้น

1.ใช้ตัวเชื่อมทางตรรกศาสตร์ AND OR NOT

AND เป็นการสั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้น ๆ มาแสดงด้วย เป็นการจำกัดข้อมูลมากขึ้น ไม่ให้เว็บไซต์ขึ้นมามากเกินไป

OR เป็นการสั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งมาแสดง ใช้ในกรณีที่หากคีย์เวิร์ดที่เราใส่ไปในครั้งแรกมีข้อมูลน้อยเกินไป

NOT ใช้ในกรณีที่มีข้อมูลมากเกินไปและเราต้องจำกัดข้อมูลให้แคบลง โดยกำหนดไม่ให้มีคำที่เราเลือกขึ้นมาในผลการค้นหา

2. ใช้เครื่องหมาย + – ()

+ หน้าคีย์เวิร์ดคำที่เราต้องการ

– ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ

() เป็นการช่วยแยกกลุ่มคำ

 

หลักความเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร)

 

 

หลักกาลามสูตร หมายถึง วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อต่าง ๆ มีด้วยกัน 10 ประการ

1.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)

2.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา (มา ปรมฺปราย)

3.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)

4.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)

5.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรกะ (มา ตกฺกเหตุ)

6.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)

7.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)

8.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)

9.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)

10.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

 

หลักกาลามสูตรนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยกรองข้อมูล เพราะทุกข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องเสมอไป ดังนั้นน้อง ๆ จึงจะต้องเช็คแหล่งข้อมูลเสียก่อนว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ ก่อนจะนำข้อมูลออกมาเพื่อใช้อ้างอิงหรือเก็บเป็นความรู้ค่ะ ถือเป็นหลักคำสอนอีกเรื่องหนึ่งที่ช่วยให้เราใช้ชีวิตอย่างมีสติในโลกที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตของทุกคน สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถเข้าไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มกันได้นะคะ ทั้งสนุกและได้ความรู้ น้อง ๆ จะได้เข้าใจถึงวิธีการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์กันมากขึ้น ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฉันท์

ฉันท์ เรียนรู้การแต่งคำประพันธ์โบราณที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย

จากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง น้อง ๆ หลายคนคงจะพอจะคุ้นหูและผ่านตากันมาบ้างแล้วกับคำประพันธ์ประเภท ฉันท์ แต่เมื่อเห็นครั้งแรก ด้วยความที่ไม่คุ้นเคยก็อาจจะทำให้น้อง ๆ คิดว่าคำประพันธ์ประเภทนี้แต่งยาก เพราะรู้สึกไม่คุ้นเคยเหมือนอย่างพวกกาพย์หรือกลอน แต่รู้หรือไม่คะ ว่าจริง ๆ แล้วการแต่งฉันท์ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดเลยค่ะ บทเรียนในวันนี้นอกจากจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ความเป็นมาของฉันท์ รวมไปถึงลักษณะบังคับต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อฝึกแต่งกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้กันเลยดีกว่า   ความเป็นมาของ ฉันท์  

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

บทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้กี่ยวกับการพิสูจน์ที่ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือในแง่ของพื้นที่

เรียนรู้เรื่อง ภาษาบาลี สันสกฤต ที่อยู่ในภาษาไทย

​  ภาษาบาลี สันสกฤต เป็นภาษาอินเดียโบราณ คำบาลี สันสกฤตที่นำมาใช้ในไทยจึงมักจะอยู่ในบทสวดเป็นส่วนใหญ่ แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วนอกจากจะอยู่ในบทสวดมนต์ ภาษาไทยก็ยังมีอีกหลายคำเลยค่ะที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต เรียกได้ว่าถูกใช้ปนกันจนบางครั้งก็อาจทำให้เราสับสนไปได้ว่าสรุปนี่คือคำจากบาลี สันสกฤตหรือไทยแท้กันแน่ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความเข้าใจ เจาะลึกลักษณะภาษาพร้อมบอกทริคการสังเกตง่าย ๆ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของภาษาบาลี สันสกฤตในประเทศไทย     การยืมภาษา

ศึกษาตัวบทและคุณค่า คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

จากบทเรียนครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวความเป็นมาและเนื้อหาโดยสังเขปของ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ กันไปแล้ว เราได้รู้ถึงที่มาความเป็นไปของวรรณคดีที่เป็นตำราแพทย์ในอดีตรวมถึงเนื้อหา ฉะนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกเกี่ยวกับตัวบทเพื่อให้รู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้กันมากขึ้น ว่าเหตุใดจึงเป็นตำราแพทย์ที่ได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์     ถอดความ เปรียบร่างกายของหญิงและชายเป็นกายนคร จิตใจเปรียบเหมือนกษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองสมบัติอันยิ่งใหญ่หรือก็คือร่างกาย ข้าศึกเปรียบได้กับโรคที่ทำลายร่างกายเรา พทย์เปรียบได้กับทหาร มีความชำนาญ เวลาที่ข้าศึกมาหรือเกิดโรคภัยขึ้นก็อย่างวางใจ แผ่ลามไปทุกแห่ง

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ  บางครั้งเรียกว่า

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า ความเป็นมาของวรรณคดีที่แปลจากภาษาอังกฤษ

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า เป็นวรรณคดีที่ไทยที่ถูกแปลมาจากภาษาอังกฤษ น้อง ๆ คงจะสงสัยกันใช่ไหมคะว่าทำไมเราถึงได้เรียนวรรณคดีที่ถูกแปลจากภาษาอื่นด้วย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักวรรณคดีที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่งว่ามีที่มาและเรื่องย่ออย่างไร ใครเป็นผู้แต่งในฉบับภาษาไทย ถ้าพร้อมที่จะเรียนรู้แล้วก็ไปดูกันเลยค่ะ   ความเป็นมา กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า     วรรณคดีเรื่องกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า วรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาจากกวีนิพนธ์อังกฤษชื่อ Elegy Written in a country churchyard ของ ธอร์มัส

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1