3 ขั้นตอนการเขียนโครงงานอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ทำได้

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ในเมื่อมีการเขียนรายงานแล้วทำไมถึงยังต้องมีการเขียนโครงงาน? น้อง ๆ เคยสงสัยไหมคะว่า การเขียนโครงงาน นั้นไม่เหมือนกับรายงานทั่วไปอย่างไร มีองค์ประกอบและขั้นตอนการเขียนอย่างไร ถ้าอยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยนะคะ

 

โครงงานคืออะไร

 

โครงงานเป็นกิจกรรมที่เน้นกระบวนการโดยผู้เรียนจะเป็นผู้คิดค้น วางแผน ลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ อาศัยเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติ เพื่อให้โครงงานสำเร็จภายใต้คำแนะนำ การกระตุ้นความคิด กระตุ้นการทำงานของครูผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญ ตั้งแต่คิดสร้างโครงงาน ลงมือปฏิบัติ ไปจนถึงประเมินผล

 

ความสำคัญของโครงงาน

 

การเขียนโครงงาน

 

1. เป็นเรื่องที่นักเรียนสนใจ สงสัย ต้องการหาคำตอบ

2. เป็นการเรียนรู้ที่มีกระบวนการ มีระบบ ครบกระบวนการ

3. เป็นการบูรณาการการเรียนรู้

4. นักเรียนใช้ความสามารถหลายด้าน

5. มีความสอดคล้องกับชีวิตจริง

6. มีการศึกษาอย่างลุ่มลึกโดยวิธีและแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย

7. เป็นการแสวงหาความรู้และสรุปความรู้ด้วยตนเอง

8.มีการนำเสนอโครงงานโดยวิธีการที่เหมาะสม ในด้านกระบวนการและผลงานที่ค้นพบ

9.ข้อค้นพบ สิ่งที่ค้นพบ สามารถนำไปใช้ในชีวิต

 

การเขียนโครงงาน

 

เป็นรูปแบบของนำเสนอโครงงานที่ผู้เรียนได้ศึกษาตั้งแต่ต้นจนจบ โดยโครงงานภาษาไทย มี 3 ระยะ ได้แก่ การออกแบบ เขียนเค้าโครง, การลงมือปฏิบัติตามขั้นตอน และ การรายงานผลการปฏิบัติ

 

องค์ประกอบ การเขียนโครงงาน

 

การเขียนโครงงาน

 

1. ส่วนต้น

-ชื่อโครงงาน ชื่อเรื่องต้องดึงดูดผู้อ่าน ไม่สั้นและไม่ยาวจนเกินไป

-ชื่อผู้ทำโครงงาน จะช่วยทำให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมโครงงานรู้ว่าใครเป็นคนจัดทำและรับผิดชอบ

-ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา การเขียนชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาเป็นการให้เกียรติและเป็นการขอบคุณที่ท่านให้ความรู้และคำแนะนำตลอดการศึกษา

-คำนำ เกริ่นนำถึงเหตุผลที่ทำให้เริ่มทำโครงงานเรื่องนี้

-สารบัญ

-สารบัญตารางหรือภาพประกอบ

-บทคัดย่อสั้น ๆ บอกเค้าโครงของโครงงานอย่างย่อ ๆ

-กิตติกรรมประกาศ เพื่อแสดงความขอบคุณต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนช่วยให้โครงงานสำเร็จ

2.ส่วนเนื้อเรื่อง

-บทนำ บอกความเป็นมา ความสำคัญของโครงงาน

-วัตถุประสงค์

-สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า

-การดำเนินงาน

-สรุปผลการศึกษา อธิบายผลที่ได้ศึกษาค้นคว้าว่าเป็นไปตามที่ตั้งสมมติฐานหรือไม่

-อภิปรายผล บอกประโยชน์หรือคุณค่าของผลที่ได้

3.ส่วนท้าย

-บรรณานุกรม

-ภาคผนวก เช่นโครงร่างโครงงาน หรือภาพกิจกรรม

 

 

ขั้นตอนการเขียนโครงงาน

 

 

การคิดและการเลือกหัวเรื่อง

การคิดหัวข้อเลือกถือเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญ โดยให้นำเรื่องที่เราสนใจจะศึกษานำมากำหนดหัวข้อหัวข้อเรื่องโครงงานจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ของผู้เรียน ซึ่งอาจจะมาการได้ไปชมนิทรรศการ หรือสังเกตจากสิ่งรอบตัว แต่ต้องเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงว่าโครงการนี้ทำอะไรและควรเน้นในเรื่องใกล้ตัวหรือคุ้นเคย เพราะถ้าเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นเคยและไกลตัวมาก ๆ อาจจะทำให้การทำโครงงานนี้ไม่ประสบความสำเร็จ

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้จะรวมไปถึงการขอคำปรึกษาจากที่ปรึกษาโครงงานด้วย การดำเนินงานในขั้นตอนนี้จะทำให้น้อง ๆ ได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงงานที่ต้องการจะศึกษามากขึ้น และจะช่วยกำหนดขอบเขตของโครงงานให้ชัดเจน ว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร ต้องใช้อะไร เป็นต้น

การเขียนเค้าโครงของโครงงาน

การเขียนเค้าโครงเป็นการนำความคิดที่ได้วิเคราะห์ไว้มาเขียนให้เป็นภาพเพื่อแสดงแนวคิด แผน และขั้นตอนของการทำโครงงาน

1. ชื่อโครงงาน

2. แนวคิด/ ที่มา/ ความสำคัญ

3. วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า

4. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า

5. ขั้นตอนการดำเนินงาน

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7. รายชื่อผู้รับผิดชอบโครงงาน

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโครงงานไปแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีหลายขั้นตอนและต้องอาศัยความรอบคอบอย่างมากแต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถของน้อง ๆ ทุกคนแน่นอนค่ะ เพราะเรื่องที่เรามักหยิบมาทำโครงงาน ก็ล้วนแล้วแต่จะเป็นเรื่องราวใกล้ตัวที่เราสนใจทั้งนั้น การได้หาคำตอบในสิ่งที่ตัวเองสงสัยและอยากรู้นั้นเยี่ยมไปเลยใช่ไหมล่ะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถตามไปชมคลิปการสอนของครูเพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับโครงงานภาษาไทยว่าในสามระยะมีอะไรบ้างพร้อมกับดูตัวอย่างที่ครูอุ้มได้ยกมาและเรียนรู้ไปด้วยกันเลยค่ะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศึกษาตัวบทในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเค้าจากเรื่องจริงในสมัยอยุธยา จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ในตอน ขุนข้างถวายฎีกา เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีที่สุด จากที่เราได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่อยู่ในเรื่องนี้เพื่อถอดความกันค่ะ รวมไปถึงคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจ   ตัวบทที่ 1     ถอดความ มาจากตอนที่จมื่นไวยบุกมาหานางวันทองผู้เป็นแม่ที่เรือนขุนช้างแล้วพยายามจะพานางกลับไปอยู่ด้วยกัน

ศึกษาตัวบทและคุณค่าของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช   หลังจากได้ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่ออย่างคร่าว ๆ ของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสากันไปแล้ว บทเรียนวันนี้เราจะมาศึกษาเกี่ยวกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องนี้กันค่ะ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าวรรณคดีที่ถูกแปลมาจากพงศาวดารมอญอย่างราชาธิราชเรื่องนี้จะมีตัวบทไหนที่น่าสนใจและให้คุณค่าอะไรบ้าง   ศึกษาตัวบทราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา     บทเด่น ๆ บทที่ 1    บทดังกล่าวเกิดขึ้นในตอนที่สมิงพระรามอาสาไปขี่ม้ารำทวนสู้กับกามะนี

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   พงศาวดาร คือเรื่องราวความเป็นมาของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติ เรื่องนี้น้อง ๆ ก็คงจะเคยได้ยินและรู้จักกันมาพอสมควรแล้วใช่ไหมคะ แต่น้อง ๆ เคยได้ยินเรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร กันมาบ้างหรือเปล่าคะว่าคืออะไร ทำไมถึงมีทั้งโคลง ภาพ และพงศาวดารในเรื่องเดียวกันได้ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของโคลงภาพพระราชพงศาวดาร วรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประวัติความเป็นมาและจุดประสงค์ในการแต่งโคลงภาพพระราชพงศาวดาร    

Past Time

Past Time หรือ เวลาในอดีต

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Past Time หรือ เวลาในอดีต ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time ในกลุ่ม Past

can could

การตั้งคำถามโดยใช้ Can และ Could

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้กริยาช่วยคือ Can และ Could กันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1