เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องประโยคซับซ้อนอย่างง่าย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ หลายคนคงจะรู้โครงสร้างของประโยคกันอยู่แล้ว คือจะมีประธาน กริยา กรรม เป็นส่วนประกอบ แต่ในชีวิตจริงเราไม่ได้พูดกันตามโครงสร้างเสมอไป เพราะจะมีส่วนขยายมาเพิ่มความมากขึ้นเพื่อให้ผู้พูดและผู้รับฟังสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจมากขึ้นจนบางครั้งก็อาจทำให้ดูซับซ้อนจนไม่รู้ว่าเป็นประโยคแบบไหนและอะไรคือใจความสำคัญของประโยค บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับเรื่อง ประโยคซับซ้อน ทั้งประโยคความเดียวซับซ้อน ประโยคความรวมซับซ้อน และประโยคความซ้อนซับซ้อน ประโยคแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประโยคเอย จงซับซ้อนยิ่งขึ้น !

 

ประโยคซับซ้อน

 

ประโยคซับซ้อน เป็นการนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ความรวม และความซ้อนมาขยายความให้มีความชัดเจน โดยการวางคำขยายนั้น จะอยู่ด้านหลังข้อความที่ต้องการขยาย แต่จะต้องไม่เรียงคำขยายเพื่อไม่ให้เกิดความกำกวมมากเกินไปเพราะอาจทำให้ใจความของประโยคมีความคลาดเคลื่อนได้ เพื่อที่จะสื่อได้ชัดเจนและถูกต้องถึงต้องให้คำยายอยู่ใกล้คำที่จะขยาย เพราะหากวางคำขยายผิด ประโยคก็จะเปลี่ยนไปทันที มาดูกันค่ะว่าประโยคแต่ละชนิดเมื่อกลายเป็นประโยคซับซ้อนแล้วจะมีวิธีสังเกตอย่างไร

 

ประโยคซับซ้อน

 

ประโยคความเดียวซับซ้อน

 

ประโยคความเดียวซับซ้อน คือประโยคความเดียวที่มีส่วนขยายทั้งบทประธาน บทกริยา หรือบทกรรมเพียงบทใดบทหนึ่ง หรือหลายบทเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น

 

-ซับซ้อนที่ภาคประธาน

ส่วนขยายเป็นกลุ่มคำที่มีคำบุพบทนำหน้า ประธานเป็นกลุ่มคำที่มีคำว่า การ หรือ ความ นำหน้าหรือมีส่วนขยายเป็นคำหรือกลุ่มคำปะปนกัน

 

ประโยคซับซ้อน

 

-ซับซ้อนที่ภาคแสดง

มีกริยาหรือตัวแสดงเป็นกลุ่มคำหลายคำ และมีอยู่หลายแห่งในประโยค

ตัวอย่าง เขาพยายามขับรถมาที่โรงเรียนอย่างไม่รีบร้อน

กลุ่มวัยรุ่นร้องเล่นเต้นรำไปตามจังหวะดนตรี

 

ประโยคความรวมที่ซับซ้อน

ประโยคความรวมที่ซับซ้อน คือประโยคความรวมที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวมากกว่าสองประโยค โดยมีสันธานเป็นตัวเชื่อมเนื้อความของประโยคความเดียวทั้ง 2 ประโยคและเนื้อความหรือใจความเป็นอย่างเดียวกันหรือต่างกัน

 

– มีส่วนประกอบเป็นประโยคความเดียวซับซ้อน

“ทุเรียนไม่ใช่แค่มีรสชาติอร่อยแต่ยังช่วยในการเผาผลาญได้อีกด้วย”

ประโยคนี้เป็นประโยคความเดียว 2 ประโยคที่มีคำสันธานเป็นตัวเชื่อม

ประโยคที่ 1 ทุเรียนไม่ใช่แค่มีรสชาติอร่อย

ประโยคที่ 2 ทุเรียนยังช่วยในการเผาผลาญได้อีกด้วย

 

– มีส่วนประกอบเป็นประโยคความรวม

“ฉันชอบกินข้าว แต่เขาชอบกินก๋วยเตี๋ยว ดังนั้นฉันจึงไปกินข้าวกับเพื่อน และเขาก็ไปกินคนเดียว”

ประโยคนี้เป็นประโยคความรวม 2 ประโยค โดยมีคำสันธานเชื่อมคือ ดังนั้น จึง

ประโยคที่ 1 ฉันชอบกินข้าว แต่เขาชอบกินก๋วยเตี๋ยว คำสันธานคือ แต่

ประโยคที่ 2 ฉันไปกินข้าวกับเพื่อน และเขาก็ไปกินคนเดียว คำสันธานคือ และ

 

มีส่วนประกอบเป็นประโยคความซ้อน

“ฉันตั้งใจจะไปบ้านแม่ที่จังหวัดชลบุรีในอำเภอศรีราชาแต่รถติดเพราะเป็นวันหยุดยาว”

ประโยคนี้เป็นประโยคความซ้อน 2 ประโยค โดยมีคำสันธานเชื่อมคือ แต่

ประโยคที่ 1 ฉันตั้งใจจะไปบ้านแม่ที่จังหวัดชลบุรีในอำเภอศรีราชา คำเชื่อมคือ ที่

ประโยคที่ 2 รถติดเพราะเป็นวันหยุดยาว คำเชื่อมคือ เพราะ

 

ประโยคความซ้อนซับซ้อน

 

ประโยคความซ้อนซับซ้อน คือประโยคความซ้อนซึ่งประกอบด้วยประโยคย่อยหรือมากกว่าหนึ่งประโยค

 

-ประโยคหลักหรือประโยคย่อยเป็นประโยคความเดียวซับซ้อน

ประโยคซับซ้อน

 

มีส่วนประกอบเป็นประโยคความรวม

 

มีส่วนประกอบเป็นประโยคความซ้อน

 

 

สรุปเรื่อง ประโยคซับซ้อน

 

ประโยคซับซ้อน เป็นประโยคที่จะทำการสนทนาระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่งมีความสมบูรณ์มากขึ้น เพราะในประโยคมีการเพิ่มส่วนขยายเข้าไป โดยมีวิธีสังเกตอย่างง่ายคือหาประโยคหลัก แล้วดูตำแหน่งของส่วนขยาย แต่สิ่งที่ต้องระวังคือหากวางส่วนขยายผิด ก็อาจจะทำให้ประโยคผิดเพี้ยนไป ซับซ้อนยิ่งขึ้น และยังทำให้ไม่เข้าใจอีกด้วย

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับบทเรียนหลักภาษาไทยในเรื่องประโยคซับซ้อนในวันนี้ จะเห็นได้ว่า ถึงในประโยคจะมีส่วนขยายเข้ามามากมาย แต่ถ้ารู้จักสังเกตเราก็จะแยกได้ไม่ยากเลยว่าประโยคไหนคืออะไร และใจความสำคัญคืออะไร และเพื่อให้ไม่ให้น้อง ๆ พลาดการทำโจทย์ข้อสอบ ก็อย่าลืมไปชมคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มนะคะ ในคลิปครูอุ้มอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดมาก ๆ ถ้าได้ฟังแล้วรับรองว่าน้อง ๆ จะเข้าใจมากยิ่งขึ้น และทำข้อสอบได้ทุกข้อแน่นอนค่ะ ไปทบทวนบทเรียนพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การออกเสียงพยัญชนะไทย-01

เสียงพยัญชนะไทย ออกเสียงอย่างไรให้ถูกต้อง

  เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคงเคยสงสัยเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทยกันไม่มากก็น้อย เพราะพยัญชนะในภาษาไทยของเรานั้นมีด้วยกัน 44 ตัว แต่กลับมีหน่วยเสียงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ทำไมการออกเสียงพยัญชนะไทยถึงไม่สามารถออกเสียงตามรูปอักษรทั้ง 44 รูปได้? ไหนจะพยัญชนะท้ายที่เขียนอีกอย่างแต่ดันออกเสียงไปอีกอย่าง บทเรียนในวันนี้จะช่วยไขข้อข้องใจให้กับน้อง ๆ หรือคนที่กำลังสับสนเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทย ให้กระจ่างและสามารถออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     เสียงพยัญชนะไทย เสียงพยัญชนะ คือ

vowel sounds

การออกเสียงสระในภาษาอังกฤษ: English Vowel Sounds

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ อาทิตย์ที่แล้วพี่ได้อธิบายเรื่องการออกเสียงพยัญชนะในภาษาอังกฤษกันไปแล้ว คราวนี้เราจะมาลองดูเสียงสระในภาษาอังกฤษกันครับว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!

เส้นตรง

เส้นตรง

เส้นตรง เส้นตรง มีสมการรูปแบบทั่วไปคือ Ax + By + C = 0 และสมการรูปแบบมาตรฐานของเส้นตรงจะเขียนอยู่ในรูป y = mx + C ซึ่งจะอยู่ในหัวข้อ “สมการเส้นตรง” เส้นตรงหนึ่งเส้นประกอบไปด้วยจุดหลายจุด ซึ่งจุดเหล่านี้จะทำให้เราสามารถหาความชันได้ และเมื่อเราทราบความชันก็จะสามารถหาสมการเส้นตรงได้นั่นเอง ความชันของเส้นตรง ความชันของเส้นตรง ส่วนใหญ่นิยมใช้ m

จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

       บทความนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการบวกลบจำนวนเต็ม โดยก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องการเปรียบเทียบจำนวนเต็มมาแล้ว ต่อไปจะพูดถึงค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆ จะหาได้จากระยะที่จำนวนเต็มนั้นอยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับจำนวนตรงข้ามกันก่อนนะคะ จำนวนตรงข้าม       “หากค่าของจำนวนที่อยู่ห่างจาก 0 เท่ากัน แต่อยู่ต่างทิศทางกันมีค่าเท่ากันหรือไม่” (ค่าไม่เท่ากัน)           

มนุสสภูมิ ตอนที่ว่าด้วยกำเนิดของมนุษย์ในไตรภูมิพระร่วง

ไตรภูมิพระร่วงมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่แน่นอน เพื่อที่จะให้มนุษย์ตระหนักถึงกรรมดีและกรรมชั่วและพบกับความสุขไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน โดยในตอน มนุสสภูมิ นี้ก็ได้กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ที่อธิบายโดยใช้หลักความเชื่อทางพุทธศาสนามาอธิบายจึงทำให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่มีความสนใจเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ จากที่ครั้งก่อนเราได้เรียนเรื่องนี้กันไปแล้วในส่วนของที่มาและความสำคัญและเนื้อเรื่องย่อ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เพิ่มเติมแต่เป็นเรื่องของตัวบทเพื่อถอดคำประพันธ์ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย ตัวบทเด่น ๆ ในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ     ถอดความ เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ตั้งแต่เริ่มเป็นเซลล์ โดยอธิบายว่าไม่ว่าจะเกิดเป็นชายหรือหญิง ก็จะเริ่มจากการเป็นกลละ แล้วโตขึ้นทีละน้อย เมื่อถึง 7

ใช้ภาษาพูดอย่างไรให้ถูกต้อง และเหมาะสม

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งในบทเรียนวิชาภาษาไทย วันนี้จะเป็นการเรียนเรื่องระดับภาษา โดยจะมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นภาษาพูด และภาษาเขียน ซึ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับระดับของภาษาพูดที่เราควรจะเลือกใช้ให้ถูกต้องตามบุคคล โอกาส และสถานที่ด้วย เป็นอีกหนึ่งบทเรียนในระดับชั้นมัธยมต้นที่น่าสนใจ   ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนไปพร้อม ๆ กันเลย     ภาษาพูด คืออะไร   ภาษา เป็นตัวกลางในการสื่อความหมาย บนโลกนี้นอกจากจะมีหลากหลายภาษาแล้ว ในหนึ่งภาษานั้นก็ยังแบ่งการพูดออกเป็นหลายระดับให้เราได้เลือกใช้แตกต่างกันไป ภาษาพูด

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1