บทพากย์เอราวัณ ที่มาของวรรณคดีพากย์โขนอันทรงคุณค่า

บทพากย์เอราวัณ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้องรับเข้าสู่เนื้อหาวิชาภาษาไทยที่จะมาให้สาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาเรียนรู้ความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่มักจะใช้ในการแสดงโขน นั่นก็คือบทพากย์เอราวัณแน่นอนว่าน้อง ๆ ในระดับมัธยมต้นจะต้องได้เรียนเรื่องนี้ เพราะเป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 2 ในด้านกวีนิพนธ์จากการที่เลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่สวยงามเพื่อมาบรรยายถึงลักษณะของช้างเอราวัณได้อย่างดี ดังนั้น ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันว่าวันนี้เรามีเนื้อหาที่น่าสนใจอะไรมาฝากน้อง ๆ กันบ้างดีกว่า

บทพากย์เอราวัณ

ประวัติความเป็นมา

สำหรับวรรณคดี บทพากย์เอราวัณ เป็นอีกหนึ่งผลงานการพระราชนิพนธ์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ซึ่งถือเป็นบทที่นิยมนำไปใช้ในการแสดงโขน โดยได้เค้าโครงเรื่องมาจาก รามายณะ ของอินเดีย ในเนื้อเรื่องจะมุ่งเน้นไปที่การบรรยายถึงความงดงามของกระบวนทัพที่มีอินทรชิตจำแลงกายลงมาเป็นพระอินทร์อีกทั้งยังมีลูกสมุนยักษ์ที่จำแลงกายลงมาเป็นเหล่าเทวดา และช้างเอราวัณที่มีรูปร่างสง่างาม ซึ่งรัชกาลที่ 2 ทรงใช้ลักษณะคำประพันธ์อย่างกาพย์ฉบัง 16 มาพรรณนาถึงรูปร่างของช้างตัวนี้ไว้ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน จนกลายเป็นเป็นบทพากย์เอราวัณที่เราจะได้เรียนกันต่อไปนี้นั่นเอง

บทพากย์เอราวัณ

เรื่องราวก่อนเกิดบทพากย์เอราวัณ

ก่อนที่เราจะมาดูตัวบท หรือถอดความตัวบทที่น้อง ๆ เคยได้เรียนมาเราต้องมาดูเหตุการณ์หรือเรื่องราวก่อนจะมีบทพากย์เอราวัณ เป็นการเล่าถึงภูมิหลังที่มาจากเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกอินทรชิต โดยเนื้อเรื่องนั้นมีอยู่ว่า รณพักตร์ หรืออินทรชิต ซึ่งเป็นลูกของทศกัณฑ์กับนางมณโฑตอนที่มีอายุครบ 14 ปีก็ได้เรียนวิชากับ “มหากาลอัคคี” ฤๅษีโคบุตรและเพียรบำเพ็ญตบะจนทำให้มหาเทพทั้ง 3  (พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม) ได้ประทานอาวุธวิเศษให้ 3 อย่าง โดยพระอิศวรประทานศรพรหมาสตร์ และพรที่สามารถแปลงร่างเป็นพระอินทร์ได้ พระพรหมประทานศรนาคบาศ และพรที่ว่าหากศีรษะของรณพักตร์ตกลงพื้นจะเกิดไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลกมีวิธีเดียวคือต้องนำพานแว่นฟ้าหรือพานแก้วของพระพรหมเท่านั้มารองศีรษะเท่านั้นจึงจะระงับเหตุได้ ส่วนพระนารายณ์ได้ประทานศรวิษณุปาณัม ซึ่งหลังจากที่รณพักตร์ได้รับอาวุธวิเศษเหล่านี้ไปแล้วก็ได้ขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อท้ารบกับพระอินทร์ เพราะรณพักตร์นั้นเคยสู้กับกองทัพพระราม พระลักษณ์มาหลายต่อหลายครั้งแต่ก็พ่ายแพ้กลับไป ครั้งนี้จึงได้คิดอุบายด้วยการใช้ยักษ์ที่ชื่อ “การุณราช” แปลงกายเป็น “ช้างเอราวัณ” และให้ยักษ์ “โลทัน” แปลงกายมาเป็นเหล่าเทวดาในกระบวนทัพ ส่วนตนนั้นจะแปลงกายเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และการสู้รบครั้งนี้รณพักตร์ก็เป็นฝ่ายที่ได้ชัยชนะกลับไปจนได้รับฉายานามใหม่ว่า ” อินทรชิต” ที่มีความหมายว่าเป็นผู้พิชิตพระอินทร์ได้

บทส่งท้าย

สำหรับเนื้อหาวันนี้ที่เรานำมาฝากน้อง ๆ ทุกคน จะเป็นที่มาและภูมิหลังของบทพากย์เอราวัณ หวังว่าทุกคนจะได้สาระความรู้เพิ่มขึ้น ครั้งต่อไปเราจะมาดูตัวบทที่น่าสนใจ และถอดความร่วมกันเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจเนื้อเรื่อง และสนุกไปกับการเรียนวรรณดดีเรื่องนี้มากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นอย่าลืมติดตามเนื้อหาส่วนต่อไป และถ้าใครที่อยากจะฟังครูอุ้มสอนเรื่องนี้เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูที่คลิปด้านล่างนี้ได้เลย

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คติธรรมในสำนวนไทย

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง   สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม   สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย

การใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple Tense + Future Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยการใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple tense + Future Simple tense  หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Wh-Questions คืออะไร      เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบตรงประเด็น เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า

E6 This, That, These, Those

This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง This, That, These, Those กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   เข้าสู่บทเรียน   ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ This,

เห็นแก่ลูก ศึกษาความเป็นมาบทละครพูดเรื่องแรกของไทย

  บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่น้อง ๆ ม.3 ทุกคนจะได้เรียน ความพิเศษของวรรณคดีไทยเรื่องนี้คือเป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยอีกทั้งยังได้รับการแปลไปยันต่างประเทศอีก 13 ภาษา วรรณคดีเรื่องนี้มีความสำคัญและมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ถึงโด่งดัง เป็นที่รู้จัก และได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้กันเลยค่ะ   ความเป็นมา บทละครพูด เห็นแก่ลูก     บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระนามแฝงว่าพระขรรค์เพชร

สามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีเภทคำฉันท์ วรรณคดีขนาดสั้นที่ว่าด้วยความสามัคคี

สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิทานสุภาษิตขนาดสั้นว่าด้วยเรื่องความสามัคคี เป็นอีกหนึ่งวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ทั้งด้านการประพันธ์และเนื้อหา เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับวรรณคดีเรื่องดังกล่าวเพื่อศึกษาที่มา จุดประสงค์ รวมไปถึงเรื่องย่อ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   ที่มาของเรื่องและจุดประสงค์ในการแต่ง   สามัคคีเภทคำฉันท์ ดำเนินเรื่องโดยอิงประวัติศาสตร์ครั้งพุทธกาล เป็นนิทานสุภาษิตในมหาปรินิพพานสูตรและอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี     ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

ตัวประกอบของจำนวนนับ

ตัวประกอบของจำนวนนับ ป.6

บทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับตัวประกอบของจำนวนนับ น้องๆชั้นป.6 จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของตัวประกอบ รวมไปถึงวิธีหาตัวประกอบของจำนวนนับนั่นเอง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1