Auxiliary Verbs คืออะไร?

สวัสดีน้องๆ ม.5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า Auxiliary Verbs ในภาษาอังกฤษกันครับ
auxiliary verbs

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Auxiliary Verbs in a Nutshell

Auxiliary Verbs หรือน้องๆ อาจจะคุ้นในชื่อ Helping Verbs ในภาษาอังกฤษ คือกริยาที่ใช้คู่กับกริยาแท้ (Main Verb) ในประโยคเพื่อช่วยบอก Tense และช่วยในประโยคปฎิเสธและประโยคคำถามอีกด้วยครับ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1) Verb “To Do” ได้แก่ do, does, did, done

2) Verb “To Be” ได้แก่ be, is, am, are, was, were, being, been,

3) Verb “To Have” ได้แก่ have, has, had, having

verb to do

verb to be

verb to have

 

หน้าที่ของ Auxiliary Verbs

หลักๆ แล้วกริยาช่วยจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1) ช่วยบอก Tense ของประโยค

เช่น

She has been waiting for an hour.

(เธอรอมาเป็นชั่วโมงแล้ว)

“has been” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “wait” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Present Perfect Continuous

 

He was talking to someone on the phone when I arrived.

(เขากำลังพูดกับใครบางคนผ่านโทรศัพท์ตอนที่ฉันมาถึง)

“was” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “talk” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Past Continuous Tense

 

At 10 O’clock tomorrow, I will be studying at the library.

(ตอนสิบโมงพรุ่งนี้ ฉันจะกำลังเรียนหนังสืออยู่ในห้องสมุด)

“will be” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “study” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Future Continuous Tense

 

2) ช่วยบอก Voice ของประโยคว่าเป็น Active หรือ Passive

เช่น

Hit by the car, the boy was hospitalised.

(เด็กผู้ชายที่โดนรถชนถูกนำส่งโรงพยาบาล)

“was” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “hospitalise” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Passive Voice (เด็กถูกนำส่งโรงพยาบาล)

 

This ticket is used to enter the concert hall.

(ตั๋วใบนี้ใช้เพื่อเข้าชมคอนเสิร์ต)

“is” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “use” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Passive Voice (ตั๋วถูกใช้)

 

The internet connection will be disconnected tomorrow.

(สัญญาณอินเทอร์เน็ตจะถูกตัดวันพรุ่งนี้)

“will be” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “disconnect” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Passive Voice (สัญญานจะถูกตัด)

*ดูเพิ่มเติมเรื่อง Passive Voice ได้ที่นี่

 

3) ช่วยในประโยคคำถามและปฏิเสธ

เช่น

Did you submit your homework yesterday?

(คุณส่งการบ้านเมื่อวานหรือยัง?)

“did” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “submit” เพื่อทำให้ประโยคนี้เป็นประโยคคำถาม

 

I don’t know who stole your wallet.

(ผมไม่รู้ว่าใครขโมยกระเป๋าสตางค์ของคุณไป)

“do not” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “know” เพื่อทำให้ประโยคนี้เป็นประโยคปฏิเสธ

 

He didn’t want to leave that happy moment.

(เขาไม่อยากออกไปจากช่วงเวลาที่มีความสุขนั้น)

“did not” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “want” เพื่อทำให้ประโยคนี้เป็นประโยคปฏิเสธ

 

เคล็ดลับของกริยาช่วย

1) โดยทั่วไปแล้วกริยาช่วยจะไม่มีความหมายในตัว เป็นเพียงแค่กริยาที่นำมาช่วยเสริมกริยาแท้เพื่อจุดประสงค์ที่บอกไปแล้วข้างต้น แต่กริยา “have” จะเป็นกริยาแท้หากแปลว่า “มี” หรือ “รับประทาน” และ “do” ที่แปลว่า “ทำ” ก็เป็นกริยาแท้เช่นกัน ลองดูความแตกต่างระหว่าง 2 ประโยคนี้

I have 2 dogs and 1 cat.

(ฉันมีสุนัข 2 ตัวและแมว 1 ตัว)

“have” ในประโยคนี้แปลว่า “มี” ทำหน้าที่เป็นกริยาแท้

 

I have finished my assignment.

(ฉันทำแบบฝึกหัดเสร็จแล้ว)

“have” ในประโยคนี้ไม่มีความหมาย แต่มาช่วยขยายกริยาคือ “finish” บ่งบอกว่าประโยคนี้เป็น Present Perfect

 

2) Verb to be ที่ตามหลังด้วย Adjective หรือ Noun เพื่อบอกลักษณะ อาการ อาชีพ หรือคุณสมบัติอื่นๆ จะทำหน้าที่เป็นกริยาแท้เช่นกัน (แปลว่า เป็น/อยู่/คือ) เช่น

I am an engineer.

(ฉันเป็นวิศวะกร)

“is” เป็นกริยาแท้ แปลว่า “เป็น” เพราะอยู่หน้าคำนาม บ่งบอกอาชีพ

 

He is running in the park.

(เขากำลังวิ่งอยู่ในสวนสาธารณะ)

“is” ในประโยคนี้ไม่มีความหมาย แต่ขยายกริยา “run” เพื่อบ่งบอกว่าเป็น Present Continuous

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับเรื่อง Auxiliary Verbs เรื่องนี้อาจจะดูสับซ้อนนิดหน่อย แต่หากน้องๆ เข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้วก็จะสามารถแยกประเภทและใช้มันได้อย่างถูกต้องนั่นเองครับ โดยน้องๆ สามารถดูวิดีโอเพิ่มความเข้าใจให้มากขึ้นด้านล่างได้เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า  

สมบัติการคูณจำนวนจริง

สมบัติการคูณจำนวนจริง

จากบทความก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องสมบัติการบวกจำนวนจริงไปแล้ว บทความนี้พี่ก็จะพูดถึงสมบัติการคูณจำนวนจริงซึ่งมีเนื้อหาคล้ายๆกันกับการบวก และมีเพิ่มสมบัติการแจกแจงเข้ามา เนื้อหาเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะใช้ในการเรียนเนื้อหาบทต่อๆไป เมื่อน้องๆอ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะเรียนเนื้อหาบทต่อๆไปได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

NokAcademy_ม5 การใช้ Modal Auxiliaries

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries   Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ 

การใช้ตัวเชื่อม (Connective words): First,… Second,… Third,… Fourth,… Finally,…

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ 

คำไทยที่มักอ่านผิด มีคำใดบ้างที่เราควรรู้?

การอ่านผิด เป็นปัญหาในการอ่านออกเสียง มีสาเหตุมาจากอ่านไม่ออก หรือ อ่านผิด หลายคนอาจมองว่าไม่สำคัญ แต่รู้หรือไม่คะ ว่าการอ่านนั้นมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะหากเราอ่านผิด ก็จะทำให้ความหมายของคำนั้นผิดเพี้ยนไป หรือกลายเป็นคำที่ไม่มีความหมายไปเลยก็ได้ บทเรียน คำไทยที่มักอ่านผิด ในวันนี้ เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การอ่านสะกดคำที่ถูกต้อง กับคำในภาษาไทยที่คนส่วนใหญ่มักอ่านผิดกันบ่อย ๆ จะมีคำใดบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำไทยที่มักอ่านผิด   ลักษณะของการอ่านผิดมีดังนี้

ศึกษาตัวบทโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

โคลนติดล้อ เป็นบทความแสดงความคิดเห็นของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง การปลุกใจคนไทยให้รักชาติ และมีทั้งฉบับภาษาไทยและฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ แค่นี้ก็น่าสนใจแล้วใช่ไหมคะ แต่ความดีเด่นของหนังสือเล่มนี้ยังมีอีกมาก บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทที่สำคัญและคุณค่าของบทความที่ 4 ในเรื่องโคลนติดล้อตอน ความนิยมเป็นเสมียน พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   บทเด่นใน โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน   บทนี้พูดถึงความนิยมในการเป็นเสมียนของหนุ่มสาวในยุคนั้นที่สนใจงานเสมียนมากกว่าการกลับไปช่วยทำการเกษตรที่บ้านเกิดเพราะเห็นว่าเสียเวลา คิดว่าตัวเองเป็นผู้ได้รับการศึกษาสูง จึงไม่สมควรที่จะไปทำงานที่คนไม่รู้หนังสือก็ทำได้  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1