อยากเขียนเก่ง เขียนได้ดี ต้องเรียนรู้วิธีใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับวันนี้เราจะมาเข้าสู่บทเรียนภาษาไทยในเรื่องของระดับภาษา แต่จะเฉพาะเจาะจงไปที่การใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนนำไปใช้ในการเขียนข้อสอบ หรือเขียนรายงานเรื่องต่าง ๆ ได้เหมาะสมมากขึ้น เพราะด้วยความที่ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มีแบบแผน มีหลักในการเลือกใช้ เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาเขียนอย่างละเอียด ถ้าน้อง ๆ ทุกคนอยากรู้แล้วว่าวันนี้มีบทเรียนอะไรที่น่าสนใจบ้างต้องมาดูไปพร้อม ๆ กัน

 

ภาษาเขียน

ภาษาเขียน คืออะไร?

 

ภาษาเขียนเป็นอีกหนึ่งช่องทาง หรือเป็นอีกทักษะที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร จากกระบวนการคิดไปสู่การเรียบเรียงออกมาเป็นตัวอักษร โดยภาษาเขียนนั้นเป็นภาษาที่มีหลักการใช้ที่ค่อนข้างเคร่งครัดขึ้นมาจากภาษาพูด หรือที่เรียกว่า ภาษาแบบแผน ด้วยความที่มีการแบ่งระดับของภาษาจึงมีผลต่อการใช้ภาษาในงานเขียนรูปแบบต่าง ๆ  ด้วย เช่น ภาษาเขียนแบบทางการ กึ่งทางการ หรือแม้แต่ภาษาเขียนในบทกลอน และยังต้องมีการเลือกสรรคำศัพท์ที่จะใช้ในภาษาเขียนให้เหมาะสมกับบุคคลที่เรากำลังเขียนถึงด้วย

ลักษณะของภาษาเขียน

 

ภาษาเขียน

 

ต้องใช้คำมาตรฐาน หรือใช้ตามแบบแผน 

ลักษณะสำคัญในภาษาเขียนคือการเลือกใช้คำตามแบบแผน หรือเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล เพื่อให้ดูสุภาพ และเป็นทางการที่สุด เราควรจะจดจำคำบางคำที่จำเป็นต้องใช้ในภาษาเขียน เช่น คำกริยาบางหมวดหมู่ คำสรรพนามที่ใช้เรียกบุคคล
หรือคำศัพท์เฉพาะบางคำ ยกตัวอย่างเช่น

 

ภาษาเขียน

 

ภาษาเขียนจะออกเสียงตามหลักการสะกด

ลักษณะข้อต่อมาของภาษาเขียนที่เราจะสังเกตได้ง่าย ๆ ก็คือ คำในภาษาเขียนจะออกเสียงตามหลักการสะกดคำ ซึ่งมันจะส่งผลต่อการเขียน หรือสะกดคำที่ถูกต้องด้วย โดยเราอาจจะเห็นได้กับบางประโยคในภาษาพูดที่มักจะออกเสียงไม่ชัด ยกตัวอย่างเช่น

 

ภาษาเขียน

 

ภาษาเขียนไม่สามารถสื่ออารมณ์ได้เหมือนภาษาพูด

ในภาษาพูดเวลาที่เราต้องการแสดงออกถึงความรู้สึก เราจะใช้วิธีการปรับโทนเสียงขึ้น – ลง เพื่อแสดงถึงความรู้สึกโกรธ ดีใจ ตื่นเต้นได้ผ่านน้ำเสียงในภาษาพูด แต่ภาษาเขียนเราไม่สามารถสื่อความรู้สึกเหล่านี้ให้กับผู้อ่านผ่านตัวอักษรที่เราเขียนได้ แม้ว่าปัจจุบันจะมีภาษาวัยรุ่น หรือภาษาที่พิมพ์กันในห้องแชตที่สามารถบอกอารมณ์ได้แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ถูกจัดอยู่ในภาษาเขียนตามมาตรฐาน หรือแบบแผน

 

ภาษาเขียนไม่ต้องใส่คำลงท้าย

คำลงท้าย หมายถึง คำที่ใช้พูดลงท้ายประโยคเพื่อแสดงความสุภาพ โดยจะมีทั้งคำที่ใช้ในเพศชาย และเพศหญิง เช่น สวัสดีค่ะ, สวัสดีครับ, ขอบคุณจ้า หรือคิดถึงนะ ซึ่งเมื่อเราใช้ภาษาเขียนก็ไม่จำเป็นต้องใช้คำลงท้ายเหล่านี้เพราะถือเป็นภาษาพูด เพียงแค่เราเขียนให้ถูกหลัก ใช้คำให้ถูกต้องก็ถือเป็นการแสดงความสุภาพในการเขียนแล้ว

 

ภาษาเขียนไม่นิยมใช้คำซ้ำ และคำซ้อน

คำซ้ำ คือ คำที่ต้องใส่เครื่องหมายไม้ยมกเพื่อแสดงถึงการอ่านซ้ำ ๆ แต่ในภาษาเขียนเราไม่นิยมการใช้คำซ้ำ หรือใช้คำที่มีไม้ยมกเยอะ ๆ เช่น เร็วเข้า วิ่ง ๆ ๆ, นอน ๆ ๆ หรือเร็ว ๆ ๆ ซึ่งเป็นจะถือเป็นการใช้คำที่ฟุ่มเฟือย นอกจากนี้ในภาษาเขียนยังไม่ควรใช้คำซ้อน หรือคำสร้อยต่อท้ายเยอะ ๆ เช่น ยิ่งใหญ่อลังการงานสร้างมาก ๆ หรือบ้านหลังนี้ดูสวยงามอร่ามตาจริง ๆ ประโยคเหล่านี้เวลาที่เรานำไปเขียนก็จะดูฟุ่มเฟือยเกินไป

 

บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ ทุกคน หลังจากได้เรียนรู้หลักการใช้ภาษาเขียน หรือลักษณะของภาษาเขียนที่จะช่วยให้เรามีทักษะการเขียนที่แข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังนำไปฝึกฝนกับการเขียนในรูปแบบต่าง ๆ ได้ด้วย น้อง ๆ ต้องไม่ลืมว่าภาษาเขียนนั้นสามารถนำไปพัฒนาเป็นงานเขียน หรืออาชีพในอนาคตได้ด้วย ยิ่งใครที่ชื่นชอบอาชีพนักเขียนแล้ว ความรู้เบื้องต้นของภาษาเขียนเหล่านี้เราก็ต้องจดจำให้ได้ด้วย ถ้าใครอยากเข้าใจเกี่ยวกับภาษาเขียนอย่างละเอียดแนะนำว่าให้ไปดูวีดีโอการสอนจากครูอุ้มด้านล่างนี้ได้เลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund พร้อมแนวข้อสอบ ม.6

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” กันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ประเมินคุณค่าและสรุปความรู้

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ จากบทเรียนครั้งก่อนที่เราได้ศึกษาที่มาและเนื้อเรื่องอย่างคร่าว ๆ กันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตกลับไปอีกครั้งเพื่อศึกษาคุณค่าด้านต่าง ๆ ในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ไปเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้าง     คุณค่าด้านเนื้อหา เนื้อหาในตอนพระสุริโยทัยขาดคอช้าง กล่าวถึงตอนที่พระสุริโยทัยแต่งตัวเป็นชายแล้วออกไปรบกับกองทัพของพระเจ้าบุเรนอง และตัดสินใจเข้าไปช่วยพระมหาจักรพรรดิหรือพระสวามีในตอนที่กำลังเสียทีให้กับพระเจ้าแปรจนสิ้นพระชนม์คาคอช้าง

จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่

จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่ เขียนอย่างไรให้ถูกกาลเทศะ

​จดหมายเป็นการสื่อสารที่มีรูปแบบเฉพาะ โดยผู้เขียนจะต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้ถูกต้อง เหมาะสมแก่ผู้รับ การเขียนจดหมายนั้นมีหลายแบบ แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือ จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่ เราจะมีวิธีเขียนจดหมายอย่างให้ถูกต้องและถูกกาลเทศะมากที่สุด เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนจดหมายถึงญาติผู้ใหญ่   การเขียนจดหมาย   1. ผู้ส่งจดหมาย 2. จดหมาย 3. ผู้รับจดหมาย   ตัวอย่างการเขียนจดหมาย   ​

รากที่สอง

รากที่สอง

การหารากที่สองของจำนวนจริงทำได้หลายวิธี สำหรับวิธีการคำนวณ นักเรียนจะได้เรียนในระดับชั้นที่สูงกว่านี้ สำหรับในชั้นนี้ นักเรียนอาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ สำหรับบางเหตุการณ์ความรู้เรื่องความน่าจะเป็นเพียงอย่างเดียว  อาจไม่เพียงพอที่จะช่วยตัดสินใจได้  จำเป็นจะต้องหาองค์ประกอบอื่นมาช่วยในการตัดสินใจด้วย  นั่นคือผลตอบแทนของการเกิดเหตุการณ์นั้น ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ⇐⇐ ผลตอบแทนของเหตุการณ์อาจหมายถึง ผลตอบแทนที่ได้หรือผลตอบแทนที่เสีย  เช่น  ในการเล่นแทงหัวก้อย  ถ้าออกหัว พีชจะได้เงิน 2 บาท และถ้าออกก้อย พอลจะต้องเสียเงิน 3 บาท เงิน 2 บาทที่พอลจะได้รับเป็นผลตอบแทนที่ได้ 

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past

Modals in the Past

  สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modals in the Past “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า   ทบทวน Modal Verbs  Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1