รู้จักอาหารชาววังโบราณผ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทเรียนในวันนี้อยากให้น้อง ๆ ทานอาหารกันให้อิ่มก่อน เพราะว่าครั้งนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับอาหารชาววังทั้งของหวานอาหารคาวสารพัดเมนู ในบทเรียนวรรณคดีอันโด่งดังอย่างกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาต้องได้เรียนอย่างแน่นอน รับรองว่าถ้าเรียนเรื่องนี้จบแล้ว น้อง ๆ ทุกคนจะได้รู้จักอาหารโบราณน่าทานอีกหลากหลายเมนูเลย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเข้าสู่เนื้อหากันเลยดีกว่า

 

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

 

ประวัติความเป็นมา

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับอาหารต่าง ๆ ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เราจะขอพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้ เพื่อให้น้อง ๆ ได้รู้จักผู้แต่ง เข้าใจจุดมุ่งหมาย และลักษณะคำประพันธ์ของเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น

 

ผู้แต่ง

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) แต่สันนิษฐานว่าได้แต่งขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1)

 

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

สำหรับจุดมุ่งหมายในการแต่งกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานขึ้นมานั้น เนื่องจากรัชกาลที่ 2 ต้องการจะใช้กาพย์เห่นี้เพื่อยกยอฝีมือการทำเครื่องเสวยของเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด (เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ) ซึ่งเป็นพระชายาของรัชกาลที่ 2 และอีกจุดมุ่งหมายหนึ่งก็เป็นเสมือนการพรรณนาถึงความรักความคิดถึงหลังจากที่ต้องแยกจากเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดเป็นระยะเวลานาน

 

ลักษณะคำประพันธ์

กาพย์เห่ เป็นการประพันธ์ที่เก่าแก่ ทรงคุณค่า และมีลักษณะโดดเด่น เพราะส่วนใหญ่แล้วจะใช้การผสมผสานกันระหว่างโคลงสี่สุภาพ กับกาพย์ยานี 11 ซึ่งในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานจะใช้การแต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บทนำมาวางเริ่มต้นเป็นบทนำ ต่อจากนั้นจะแต่งด้วยกาพย์ยานี 11 ยาวไปเรื่อย ๆ ไปจนจบ โดยทั้งโคลง และกาพย์นั้นจะต้องมีเนื้อเรื่องที่เชื่อมโยงกัน เหมือนในบทแรกของกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานที่โคลง และกาพย์จะกล่าวถึงแกงมัสมั่นเหมือนกัน มีเนื้อความสอดคล้องต้องกัน

 

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

 

เมนูน่าสนใจในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

หลังจากที่น้อง ๆ ได้รู้ประวัติความเป็นมาของกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานแล้ว เราจะมาทำความรู้จักกับเมนูอาหารชาววังที่เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่เคยได้ลิ้มลอง หรือพบเห็นได้บ่อยในปัจจุบัน ถือเป็นการเรียนรู้อาหารไทยในอดีตที่ทั้งรสชาติดี และใช้ความวิจิตรบรรจงมาก ๆ กว่าจะรังสรรค์ออกมาเป็นอาหารเหล่านี้ได้มาดูกันว่ามีเมนูอะไรบ้าง

 

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

 

ยำใหญ่

เป็นอาหารจานหลักที่มักทานกันในวังสมัยก่อน ซึ่งจะใช้วัตถุดิบแตกต่างจากยำที่น้อง ๆ เคยทานกัน ยำใหญ่ จะค่อนข้างใส่เครื่องเยอะ ทั้งหัวหอมใหญ่ ใบสะระแหน่ แตงกวา ขึ้นฉ่าย ไข่แดงต้มสุก งาขาว ถั่วลิสง และกุ้งต้มสุกนำมาคลุกเคล้าเข้ากับน้ำยำ

 

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

 

หมูแนม

เมนูนี้ชาววังในสมัยก่อนนิยมทานเป็นอาหารว่าง เป็นอาหารที่ต้องใช้ความพิถีพิถันในการทำ และมีวัตถุดิบที่หลากหลายมาก เช่น เนื้อหมูนึ่งหรือลวกให้สุก หมูสามชั้นนึ่งหรือลวก  หนังหมู  หัวกะทิ  น้ำส้มซ่า เปลือกส้มซ่าหั่นฝอย กระเทียมดอง ข้าวคั่ว ถั่วลิสงทุบให้แหลก หอมแดง ข่าอ่อนโขลก พริกชี้ฟ้าหั่นฝอย ใบทองหลางใบชะพลู และผักกาดหอม เป็นอาหารที่มักทานคู่กับผักเคียง หรือห่อด้วยผักแล้วทานพร้อมกัน

 

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

 

ล่าเตียง

อีกหนึ่งเมนูอาหารว่างที่ต้องใช้ความประณีตในการทำมาก ๆ นั่นก็คือ ล่าเตียง หรือหลายคนอาจจะเรียกว่าหรุ่ม ซึ่งมีวัตถุดิบสำคัญ ๆ อย่าง หมูสับละเอียด กุ้งสับ หอมใหญ่หั่น ใบผักชี รากผักชี กระเทียม พริกไทย  พริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอยไข่เป็ดสำหรับทำแป้งห่อ

 

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

 

แสร้งว่าไตปลา

เมนูนี้หลายคนอาจจะรู้จักกันในชื่อ แกงไตปลา แต่เมื่อนำมาทำเป็นแสร้งว่าก็จะต้องมีเครื่องปรุง หรือวัตถุดิบที่มากขึ้นมาอีก โดยส่วนประกอบหลัก ๆ จะมีไตปลา ถั่วฝักยาว หน่อไม้ลวกต้มหั่นเป็นชิ้น ๆ ฟักทองไม่ต้องปลอกเปลือก ส้มแขกแห้ง ยอดส้มแป้น กล้วยเล็บมือนางดิบ มะเขือพวง มะเขือเปราะ ตะไคร้ซอย ข่า ผิวมะกรูดหั่น ขมิ้นชันสด กะปิ และกระชายซอย ปัจจุบันเราอาจจะเห็นเมนูนี้กลายเป็นอาหารพื้นเมืองประจำ  ภาคใต้ มีรสชาติ และกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์

 

บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ ทุกคน หลังจากได้รู้จักกับเมนูอาหารชาววังในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานกันแล้ว มีเมนูไหนที่น้อง ๆ ชื่นชอบ หรืออยากทานเป็นพิเศษหรือเปล่า เรียกว่าเป็นวรรณคดีที่รัชกาลที่ 2 ได้แสดง พระปรีชาสามารถในด้านการแต่งคำประพันธ์ไว้อย่างไพเราะงดงามทั้งด้านภาษา และวรรณศิลป์ ทำให้เรามองเห็นภาพของอาหารต่าง ๆ ตามไปด้วยเลย ถือเป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่เด็ก ๆ ทุกคนควรจะได้อ่านเพื่ออนุรักษ์ความเป็นไทยจากการทำความรู้จักอาหารโบราณที่ปัจจุบันหาทานได้ยากมาก ๆ และถ้าน้อง ๆ คนไหนที่อยากศึกษาเพิ่มเติมก็สามารถไปดูคลิปด้านล่างนี้ได้เลย ซึ่งครูอุ้มได้แบ่งเนื้อหามาสอนไว้อย่างละเอียดเลยทีเดียว

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เส้นตรง

เส้นตรง

เส้นตรง เส้นตรง มีสมการรูปแบบทั่วไปคือ Ax + By + C = 0 และสมการรูปแบบมาตรฐานของเส้นตรงจะเขียนอยู่ในรูป y = mx + C ซึ่งจะอยู่ในหัวข้อ “สมการเส้นตรง” เส้นตรงหนึ่งเส้นประกอบไปด้วยจุดหลายจุด ซึ่งจุดเหล่านี้จะทำให้เราสามารถหาความชันได้ และเมื่อเราทราบความชันก็จะสามารถหาสมการเส้นตรงได้นั่นเอง ความชันของเส้นตรง ความชันของเส้นตรง ส่วนใหญ่นิยมใช้ m

ระดับภาษา เรียนรู้วิธีใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม

ระดับภาษา มีความสำคัญอย่างมากในภาษาไทย น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าภาษาที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ก็มีระดับของมันที่จะเป็นตัวบ่งบอกความเหมาะสม ให้เราได้เลือกใช้กันอย่างถูกกาลเทศะ อยากรู้ไหมคะว่ามีกี่ระดับ แต่ละระดับเป็นอย่างไร ต้องใช้แบบไหน ใช้กับใครจึงจะถูก ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้บทเรียนภาษาไทยในวันนี้กันเลยค่ะ   ความหมายของ ระดับภาษา     ระดับภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำและการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้โดยพิจารณาตามโอกาสหรือกาลเทศะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้สื่อสาร ผู้รับสาร และเนื้อหาที่สื่อสาร  

โจทย์ปัญหาสัดส่วน 2

บทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้หลักการที่ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาสัดส่วนด้วยวิธีการที่หลากหลายและเข้าใจง่าย สามารถนำไปช่วยในแก้โจทย์ปัญหาในห้องเรียนของน้องๆได้

การเรียงคำคุณศัพท์ (Adjective Order)

น้องๆ น่าจะรู้จักหรือเคยได้ยิน “คำคุณศัพท์” หรือ Adjective ในภาษาอังกฤษกันมาบ้างแล้วใช่มั้ยครับ? ซึ่งหน้าที่ของคำเหล่านี้คือเพิ่มความหมายและบอกลักษณะของคำนามนั่นเอง วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่าหากมี Adjective มากกว่า 1 คำมาขยายคำนาม เราจะเรียงลำดับมันอย่างไรดี ไปดูกันเลย!

เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา     ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1