ผู้ชนะ บทอาขยานที่ว่าด้วยความไม่ย่อท้อ

ผู้ชนะ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทอาขยาน คือ บทท่องจำจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ หรือเป็นคำประพันธ์ที่มีความไพเราะ และมีความงดงามทางภาษา มีความหมายดี และให้ข้อคิดที่มีคุณค่า สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ และบทอาขยานที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้ก็คือบทอาขยานเรื่อง ผู้ชนะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ประวัติความเป็นมาของเรื่องผู้ชนะ

 

ผู้ชนะ

 

บุญเสริม แก้วพรหม เป็นนักแต่งกลอนชาวนครศรีธรรมราช เริ่มฝึกเขียนกลอนตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้นประถม จากการคลุกคลีกับหนังสือและเรียนรู้เกี่ยวกับบทกลอนในห้องเรียน แต่มาเริ่มเขียนอย่างจริงจังในระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้ส่งผลงานเข้าประกวดและผ่านการคัดเลือกลงหนังสือพิมพ์ ออกอากาศทางวิทยุ แนวที่เขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักและสะท้อนสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่นิยมของนักกลอนในสมัยนั้น ผู้ชนะเป็นหนึ่งในผลงานกลอนที่คนทั่วไปรู้จักดีเพราะนอกจากจะไพเราะแล้วยังให้ข้อคิดที่ดีอีกด้วย

 

ผู้ชนะ

 

ตัวบทอาขยาน ผู้ชนะ

 

ตัวบทผู้ชนะจะเรียงเนื้อหาตามหลักอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ดังนี้

 

ผู้ชนะ

 

เมื่อเรารักในงานที่ทำก็จะทำให้ความเหน็ดเหนื่อยลดลง เพราะเรามีแรงใจและความมุ่งมั่นเป็นตัวผลักดันไปให้ถึงความสำเร็จ

 

ผู้ชนะ

 

ไม่ว่าจะทำการหรือทำสิ่งใด เราจะต้องมีใจที่พยายาม ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่าง ๆ ที่เข้ามา ไม่ปล่อยทิ้งจนกว่าจะได้พบกับความสำเร็จ

 

ผู้ชนะ

 

ไม่คิดกลัวต่ออุปสรรค เมื่อได้ลงมือทำสิ่งต่าง ๆ แล้วก็ควรจดจ่อ ทำทุกสิ่งด้วยใจที่ตั้งมั่น ใช้เป็นแรงผลักดันชีวิตให้เดินต่อไปข้างหน้า แล้ววันหนึ่งผลสำเร็จก็จะปรากฏให้เราเห็นอย่างที่ต้องการ

 

 

อุปสรรคเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้แต่งานที่เรารักบางครั้งก็ยังต้องเจอกับอุปสรรคดังนั้นเราจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ผ่านไปให้ได้โดยใช้สมองคิดตรึกตรองถึงทางออก ถ้าทำได้เราก็จะประสบความสำเร็จและไม่ลำบากอีกต่อไป

 

 

ความสำเร็จนั้นอยู่ไม่ใกล้และไม่ไกล ถ้าตั้งใจจริงก็สามารถพบกับความสำเร็จได้ไม่ยากเย็น เพียงแค่ยึดหลักอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ (รักงานที่ทำ) วิริยะ (พากเพียรพยายาม) จิตตะ (ตั้งใจจริง) วิมังสา (แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด) หากทำได้เราจะก็เป็นผู้ชนะ

 

วิธีอ่านบทอาขยานผู้ชนะ

 

การอ่านบทอาขยานจะต้องอ่านให้ถูกจังหวะและแบ่งวรรคตอนให้ถูกต้องจึงจะทำให้อ่านได้ง่าย อ่านคล่อง ไม่มีติดขัด ซึ่งการแบ่งวรรคของบทนี้ก็จะเหมือนกับการอ่านบทร้องกรองที่เป็นกลอนสุภาพ ดังนี้

 

* / = เว้นวรรคหนึ่งจังหวะ // = เว้นสองจังหวะ ขึ้นวรรคใหม่

 

เมื่อทำการ/สิ่งใด/ด้วยใจรัก//

ถึงงานหนัก/ก็เบาลง/แล้วครึ่งหนึ่ง//

ด้วยใจรัก/เป็นแรง/ที่เร้ารึง//

ให้มุ่งมั่น/ฝันถึง/ซึ่งปลายทาง//

เมื่อทำการ/สิ่งใด/ใจบากบั่น//

ไม่ไหวหวั่น/อุปสรรค/เป็นขวากขวาง//

ถึงเหนื่อยยาก/พากเพียร/ไม่ละวาง//

งานทุกอย่าง/เสร็จเพราะกล้า/พยายาม//

เมื่อทำการ/สิ่งใด/ใจจดจ่อ//

คอยเติมต่อ/ตั้งจิต/ไม่คิดขาม//

ทำด้วยใจ/เป็นชีวิต/คอยติดตาม//

บังเกิดผล/งอกงาม/ตามต้องการ//

เมื่อทำการ/สิ่งใด/ใคร่ครวญคิด//

เห็นถูกผิด/แก้ไข/ให้พ้นผ่าน//

ใช้สมอง/ตรองตริ/คิดพิจารณ์//

ปรากฎงาน/ก้าวไกล/ไม่ลำเค็ญ//

ความสำเร็จ/จะว่าใกล้/ก็ใช่ที่//

จะว่าไกล/ฤาก็มี/อยู่ให้เห็น//

ถ้าจริงจัง/ตั้งใจ/ไม่ยากเย็น//

แล้วจะเป็น/ผู้ชนะ/ตลอดกาล//

 

บทอาขยานผู้ชนะสอนให้เราไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น และฝ่าฟันไปให้ได้ เป็นอีกหนึ่งบทประพันธ์ที่มีประโยชน์อย่างมาก หวังว่าหลังได้เรียนรู้ความหมายกันไปแล้วน้อง ๆ จะสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้นะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กันนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พร้อมศึกษาคุณค่าในเรื่อง

  ในบทเรียนก่อนหน้าเราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่อกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะต่อเนื่องกับครั้งก่อนโดยการพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องตัวบทเด่น ๆ ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เนื้อหา หรือด้านวรรณศิลป์ ถ้าน้อง ๆ พร้อมจะเรียนวรรณคดีเรื่องนี้ต่อไปแล้ว ก็ไปลุยพร้อมกันเลยค่ะ     ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า   สกุลเอ๋ยสกุลสูง ชักจูงจิตชูศักดิ์ศรี อำนาจนำความสง่าอ่าอินทรีย์

เมื่อฉันโดนงูรัด!: เรียนรู้การใช้ Passive Voice แบบผ่อน ‘คลายย’

น้องๆ ทราบกันมั้ยว่าในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘Voice’ ถ้ายังไม่ทราบหรือเคยได้ยินแต่ยังไม่แน่ใจว่าคืออะไรวันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Voice ในภาษาอังกฤษแบบเข้าใจง่ายๆ กันครับ

กลอนสุภาพ แต่งอย่างไรให้ไพเราะ

กลอนสุภาพ เป็นคำประพันธ์ที่หลาย ๆ คนคงจะรู้จักกันดีเพราะพบเจอในวรรณคดีได้ง่าย ใช้กันอย่างแผ่หลาย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนมาสวมบทนักกวี ฝึกแต่งกลอนสุภาพกันอย่างง่าย ๆ จะมีวิธีและรูปฉันทลักษณ์อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ   ความรู้ทั่วไปเที่ยวกับกลอนสุภาพ   กลอนสุภาพ หมายถึง กลอนเพลงยาว บางครั้งเรียก กลอนแปด กลอนตลาด กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่งที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบ ๆ

Suggesting Profile

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

Past Tense ที่มี Time Expressions ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ ” Past Tense ที่มี Time Expressions ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ” ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1