การใช้พจนานุกรม เรียนรู้วิธีหาคำให้เจอได้อย่างทันใจ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

พจนานุกรม มาจากคำภาษาบาลีว่า วจน (อ่านว่า วะ-จะ-นะ) ภาษาไทยแผลงเป็น พจน์ แปลว่า คำ คำพูด ถ้อยคำ กับคำว่า อนุกรม แปลว่า ลำดับ เมื่อรวมกันแล้วพจนานุกรมจึงหมายถึงหนังสือที่รวบรวมคำโดยจัดเรียงคำตามลำดับตัวอักษร แต่ด้วยความที่คำในภาษาไทยของเรานั้นมีมากมาย ทำให้น้อง ๆ หลายคนอาจจะมีท้อใจบ้างเมื่อเห็นความหนาของเล่มพจนานุกรม ไม่รู้จะหาคำที่ต้องการได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงวิธี การใช้พจนานุกรม กันค่ะว่าเราจะมีวิธีการอ่านและใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของพจนานุกรมไทย

พจนานุกรมในช่วงแรกไม่ได้เรียงตามลำดับอักษร แต่รวบรวมคำศัพท์ภาษาไทยเพื่อประกอบการอ่านวรรณคดีร้อยกรอง ต่อมามีการจัดเรียงตามลำดับอักษรโดยกรมศึกษาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดพิมพ์พจนานุกรมเล่มแรกเมื่อปี พ.ศ. 2435 ภายหลังมีการจัดตั้งราชบัณฑิตยสถานขึ้นและตีพิมพ์พจนานุกรมฉบับใหม่ในปี พ.ศ. 2493

 

ประเภทของพจนานุกรม

 

พจนานุกรมมีแบ่งออกเป็นหลายประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ดังนี้

 

การใช้พจนานุกรม

 

  • พจนานุกรมภาษา พจนานุกรมไทยเป็นไทย
  • พจนานุกรมเฉพาะเรื่อง รวบรวมคำศัพท์ในเรื่องที่สนใจ เช่น พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์
  • พจนานุกรมประกอบภาพ เช่น พจนานุกรมหัตถกรรมและอุตสาหกรรมพื้นบ้าน

 

การใช้พจนานุกรม

 

เราสามารถหาคำที่ต้องการในพจนานุกรมได้อย่างง่าย ๆ โดยดูจากการเรียงลำดับคำในพจนานุกรม

 

การใช้พจนานุกรม

 

 

เรียงตามพยัญชนะ

 

การใช้พจนานุกรม

 

 

เรียงตามสระ

 

 

– พจนานุกรมจะเรียงตามรูป ไม่เรียงตามเสียง เช่นคำที่ขึ้นต้นด้วย ทร- ถึงจะออกเสียง ซ แต่คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเหล่านี้จะอยู่ที่หมวดตัวอักษร ท

– คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตามด้วยพยัญชนะ จะมาก่อนคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตามด้วยสระ

– กรณีที่มีพยัญชนะและสระเหมือนกัน ให้สังเกตที่ตัวสะกด

– กรณีที่มีทั้งพยัญชนะ สระ และตัวสะกดเหมือนกัน ให้ดูที่วรรณยุกต์ ดังนี้ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่ถ้ามีไม้ไต่คู้ด้วย ไม้ไต่คู้จะมาก่อนวรรณยุกต์ เอก โท ตรี จัตวา

 

ตัวอย่างการเรียง

1. เริ่มจากพยัญชนะหรือคำที่ไม่มีสระปรากฏเป็นรูปประสม

ก กก กง กช กฎ กฎ กณ กด กต กถ กท กน กบ กป กม กร กฤ กล กว กษ กส กอ

2. ตามด้วยพยัญชนะกับสระปรากฏเป็นรูปประสมกัน

กะ กัก กา กำ กิก กีก กึก กุก กกู เก เกะ เกา เกาะ เกิน เกีย เกียะ เกือ แก แกะ โก โกะ ใก ไก

 

ข้อสังเกตเกี่ยวกับ การใช้พจนานุกรม

 

 

 

อักษรย่อในพจนานุกรม

 

อักษรย่อหน้าบทนิยาม บอกชนิดของคำตามหลักไวยกรณ์

ก. = กริยา

น. = นาม

บ. = บุพบท

ส. = สรรพนาม

ว. = วิเศษณ์

สัน. = สันธาน

อ. = อุทาน

 

อักษรย่อในวงเล็บท้ายบทนิยาม บอกที่มาของคำ

(ข.) = เขมร

(ช.) = ชวา

(ป.) = ปาลิ (บาลี)

(จ.) = จีน

(ส.) = สันสกฤต

(อ.) = อังกฤษ

 

อักษรย่อในวงเล็บหน้าบทนิยาม บอกลักษณะของคำที่ใช้เฉพาะ

(กฎ) คือ คำที่ใช้ในกฎหมาย

(กลอน) คือ คำที่ใช้ในบทร้อยกรอง

(คณิต) คือ คำที่ใช้ในคณิตศาสตร์

(ถิ่น) คือ คำที่เป็นภาษาเฉพาะถิ่น

(ราชา) คือ คำราชาศัพท์

(โบ) คือ คำโบราณ

 

พจนานุกรมไม่เพียงแต่บอกความหมายของคำ แต่นอกจากนี้ให้ความรู้ในเรื่องการเขียน บอกเสียงอ่าน ให้ความหมายของคำแต่เพียงสั้น ๆ มักให้ตัวอย่างของคำและอาจบอกประวัติที่มาของคำด้วย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะเข้าถึงเทคโนโลยีกันได้ง่ายขึ้น สามารถสืบค้นหาคำต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องมานั่งเปิดพจนานุกรมแบบสมัยก่อน แต่พจนานุกรมก็ยังมีประโยชน์อยู่ในยามที่เราไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังได้ฝึกสมาธิ และในระหว่างหาคำศัพท์ เราก็อาจจะได้พบคำศัพท์ใหม่ ๆ ผ่านตาเพิ่มพูนความรู้แก่ตัวเองได้อีกด้วย สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียน และไปฝึกทดสอบการเรียงคำพร้อมกับครูอุ้มได้ในคลิปการสอนย้อนหลัง เพื่อทำความเข้าใจและเรียงคำได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้นค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ม.1 หลักการใช้ Past Simple

หลักการใช้ Past Simple Tense

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง หลักการใช้ Past Simple   ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Past Simple Tense     หลักการใช้ง่ายๆ ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและจบลงในอดีต มักมีคำหรือกลุ่มคำของอดีตมากำกับ ตัวอย่างประโยคทั่วไปที่มักเจอบ่อยๆ   บอกเล่า I saw Jack yesterday.

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า  

Profile_imperative sentence

การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน กันนะคะ ซึ่งเราจะเจอประโยคเหล่านี้ตั้งแต่ตื่นนอน ทานข้าว เดินไปโรงเรียน ไปดูหนัง ข้ามถนน ข้ามสะพาน ขึ้นแท็กซี่ และในกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย หากว่าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     คือประโยคที่เจอบ่อยเมื่อต้องพูด ให้คำคำปรึกษา

ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พร้อมศึกษาคุณค่าในเรื่อง

  ในบทเรียนก่อนหน้าเราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่อกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะต่อเนื่องกับครั้งก่อนโดยการพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องตัวบทเด่น ๆ ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เนื้อหา หรือด้านวรรณศิลป์ ถ้าน้อง ๆ พร้อมจะเรียนวรรณคดีเรื่องนี้ต่อไปแล้ว ก็ไปลุยพร้อมกันเลยค่ะ     ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า   สกุลเอ๋ยสกุลสูง ชักจูงจิตชูศักดิ์ศรี อำนาจนำความสง่าอ่าอินทรีย์

การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน

การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน + การใช้ Can/ Could/ Should

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่เจอบ่อยและการใช้ Can, Could, Should กันนะคะ ไปลุยกันเลย   มารู้จักกับประโยคคำสั่ง (Imperative sentence)     รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ

NokAcademy_ ม.4Gerund

Gerund

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund   อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1