โคลนติดล้อ บทความปลุกใจในรัชกาลที่ 6

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เป็นที่รู้กันดีกว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ของเรานั้น ทรงโปรดงานด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ยังเยาว์ และเริ่มงานวรรณกรรมตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ทำให้มีผลงานในพระราชนิพนธ์มากมายหลายเรื่อง และแตกต่างกันออกไป ที่ผ่านมาน้อง ๆ คงจะได้เรียนมาหลายเรื่องแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับผลงานของพระองค์อีกเรื่องหนึ่ง แตกต่างจากเรื่องก่อน ๆ ที่เคยเรียนมาอย่างแน่นอน เพราะเรากำลังพูดถึงโคลนติดล้อ ผลงานในพระราชนิพนธ์ที่อยู่ในรูปแบบของบทความ จะมีที่มา มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันเลยค่ะ

 

ที่มาของ โคลนติดล้อ

 

โคลนติดล้อ

 

โคลนติดล้อ เป็นผลงานพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้นามแฝงว่า อัศวพาหุ ซึ่งเป็นพระนามแฝงที่ทรงใช้สำหรับบทความตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ฉบับ 28 เมษายน – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2458 และต่อมา หนังสือพิมพ์สยามออบเซอร์เวอร์ (Siam observer) ได้นำมาพิมพ์ลงไว้อีกครั้งในชื่อว่า Clogs on our wheels
โดยพระประสงค์ของการพระราชนิพนธ์เรื่องโคลนติดล้อมาจากการที่พระองค์ต้องการจะปลุกใจให้คนไทยรักชาติและชี้ให้คนไทยได้เห็นถึงข้อบกพร่องของตนเองซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าช้ากว่าที่ควร

 

โคลนติดล้อ

 

บทความเรื่องโคลนติดล้อของรัชกาลที่ 6 ได้รับความนิยมมาก มีคนติดตามอ่านเยอะ จนพระยาวินัยสุนทรที่ใช้นามปากกาว่า “โคนันทวิศาล” ได้เขียน ล้อติดโคลน เป็นบทความโต้ตอบ แสดงให้เห็นว่ารัชกาลที่ 6 ทรงยอมรับคำวิจารณ์จากผู้อื่น ซึ่งเป็นแบบอย่างของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ดี

 

โคลนติดล้อ

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

ลักษณะการประพันธ์เป็นบทความ เนื้อหาแสดงความคิดเห็น มีทั้งหมด 12 บท บทที่ 12 จบด้วยกาพย์ยานี 11 จำนวน 4 บท

 

โคลนติดล้อ มีทั้งหมด 12 ตอน

 

 

1.การเอาอย่างโดยไม่ตริตรอง – เอาอย่างชาวตะวันตกโดยไม่คิด ควรริเริ่มทำอะไรด้วยตัวเอง

2.การทำตนให้ต่ำต้อย -ไม่นับถือตัวเอง อาศัยชาวตะวันตกมากไป

3.การบูชาหนังสือจนเกินเหตุ – เชื่อหนังสือพิมพ์มากเกินไป จนอคติกับรัฐบาล

4.ความนิยมเป็นเสมียน – คนหนุ่มสาวไม่คิดจะประกอบอาชีพอื่นนอกจากงานเสมียน

5.ความเห็นผิด – คิดว่าตามฝรั่งแล้วจะถูกต้องเสมอ ทั้งที่ผิดจริยธรรมก็เห็นว่าดี

6.ถือเกียรติไม่มีมูล – มีบางคนคิดว่าคนมีความเสมอภาคกัน จึงไม่เคารพผู้ใหญ่ ผู้ที่เคารพคือพวกประจบ

7.ความจนไม่จริง – คนไทยจริงๆ ไม่ได้จน แต่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เป็นหนี้พนัน จึงจน

8.แต่งงานชั่วคราว – ถูกคลุมถุงชน จึงเป็นปัญหาแก่ฝ่ายหญิง ยิ่งถ้ามีลูกยิ่งลำบาก

9.ความไม่รับผิดชอบของบิดามารดา – ชายหญิงแต่งงานกัน มีลูก เลิกกัน แล้วไม่รับผิดชอบลูก

10.การค้าสาว – ชายซื้อเมียน้อย เมื่อไม่ต้องการก็ทิ้งขว้าง

11.ความหยุมหยิม – นิสัยใจแคบ เห็นแก่ตัว ชอบจับผิดคนอื่น

12.หลักฐานไม่มั่นคง -ผู้มีหลักมีฐานไม่มั่นคง แต่ยังบกพร่องในหน้าที่ ชอบเล่นการพนัน

 

เรื่องย่อ โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

 

ความนิยมเป็นเสมียน เป็นบทความลำดับที่ 4 ใน 12 บทความของเรื่องโคลนติดล้อ โดยเสมียน หมายถึง ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับหนังสือหรืองานธุรการ เป็นงานที่นิยมทำในหมู่คนมีการศึกษาและไม่สนใจกลับไปทำการเกษตรในบ้านเกิดของตัวเองซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าการเป็นเสมียน คนเหล่านี้นิยมใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ และมองว่าการทำงานอย่างอื่นไม่สมเกียรติจึงต้องทนอยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งที่เงินเดือนไม่มากแต่ก็ยังจับจ่ายใช้สอยเพื่อความสบายต่าง ๆ เช่น ดูหนัง กินข้าวตามร้านอาหาร ถ้าคนเรายังมีค่านิยมที่เห็นว่าการเป็นเสมียนมีศักดิ์ศรีสูงกว่าการเป็นชาวนา ชาวสวน หรือพ่อค้า คนก็มักจะทะเยอทะยาน อยากเป็นเสมียน เมื่อกระทรวงทบวงการคัดเลือกเสมียนที่มีมากเกินความจำเป็นออก บุคคลเหล่านี้จะไม่สามารถไปทำงานอื่นได้ เพราะเคยทำแต่เสมียนมานาน และไม่อาจไปเป็นชาวนาได้ ด้วยเห็นว่าไม่สมศักดิ์ศรี ไม่สมเกียรติของตัว จึงไม่สามารถไปอยู่บ้านนอกได้ ดังนั้นจึงต้องฝืนอยู่ในเมืองแล้วเป็นเสมียนต่อไป แต่เมื่ออายุมากขึ้นโอกาสที่จะได้งานก็มีน้อยลงตามไปด้วย ในตอนท้ายของบทความ จบด้วยคำถามกระตุ้นให้ผู้อ่านคิดตามมา สมควรหรือไม่ที่จะเปลี่ยนค่านิยมในการเป็นเสมียนแล้วหันไปทำงานอื่น ๆ ที่ทำประโยชน์ได้ดีกว่าการเป็นเสมียน

 

บทความเรื่องโคลนติดล้อ เป็นบทความที่ได้รับความนิยม นอกจากนี้ยังมีความแปลกใหม่สำหรับวงการวรรณกรรมไทยในยุคนั้น ทำให้เห็นพระปรีชาของรัชกาลที่ 6 และภาพสะท้อนของสังคมในยุคนั้น แต่เราไม่ได้จะศึกษากันแค่ที่มากับเนื้อเรื่องนะคะ เพราะบทเรียนต่อไปเราจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักวรรณกรรมเรื่องนี้มากขึ้นนะคะว่ามีตัวบทเด่น ๆ และคุณค่าอย่างไรบ้าง สุดท้ายนี้อย่าลืมทบทวนบทเรียนโดยการตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนบทเรียนนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ที่มาและเรื่องย่อของ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

มหาชาติชาดก หรือมหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกที่ได้ชื่อว่าเป็น มหาชาติ เพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนจะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้า จากบทเรียนที่เคยเรียนรู้กันตอน ม.4 น้อง ๆ คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่ามหาชาตินี้มีด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยเรื่องที่เราจะได้เรียนกันเจาะลึกกันไปอีกในวันนี้ คือ กัณฑ์มัทรี นั่นเองค่ะ ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา     มหาชาติชาดกเป็นเรื่องราวในอดีตกาลของพระพุทธเจ้าที่เล่าให้กับเหล่าประยูรญาติฟังเมื่อครั้งเสด็จกลับเมืองและได้แสดงอภินิหาร

ตัวประกอบของจำนวนนับ

ตัวประกอบของจำนวนนับ ป.6

บทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับตัวประกอบของจำนวนนับ น้องๆชั้นป.6 จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของตัวประกอบ รวมไปถึงวิธีหาตัวประกอบของจำนวนนับนั่นเอง

ประพจน์และการเชื่อมประพจน์

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประพจน์ การเชื่อมประพจน์ และการหาค่าความจริง ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้เป็นภาษาของคณิตศาสตร์ เราจะเห็นตัวเชื่อมประพจน์ในทฤษฎีบทต่างๆในคณิตศาสตร์ หลังจากอ่านบทความนี้ น้องๆจะสามารถบอกได้ว่าข้อความไหนเป็นหรือไม่เป็นประพจน์ และน้องๆจะสามารถทำข้อสอบเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ได้

โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

  โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงสี่สุภาพคืออะไร     โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม

Direct Object

Direct and Indirect Objects

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง Direct และ Indirect Objects กันครับว่าคืออะไร ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

who what where

Who What Where กับ Verb to be

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกๆ คนนะครับ วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ Who/What/Where ร่วมกับ Verb to be กันครับ ไปดูกันเลย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1