โคลงโสฬสไตรยางค์ โคลงสุภาษิตผลงานพระราชนิพนธ์ในร.5

โคลงโสฬสไตรยางค์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิต ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและข้อคิดสอนใจมากมาย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีเนื้อหาอะไรและมีข้อคิดอย่างไรบ้าง เราก็ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ประวัติความเป็นมา

 

โคลงโสฬสไตรยางค์

 

โคลงโสฬสไตรยางค์ (พ.ศ. 2423) เป็นโคลงสุภาษิต บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นภาษาอังกฤษ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์โคลงเป็นภาษาไทย โดยพระองค์ได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย

 

โคลงโสฬสไตรยางค์

 

ความหมายของโสฬสไตรยางค์

 

โสฬส แปลว่า 16 ไตรยางค์ แปลว่า องค์ 3 โคลงโสฬสไตรยางค์จึงหมายถึงโคลงสี่สุภาพที่แบ่งเนื้อหาออกเป็น 16 หมวด หมวดละ 3 ข้อ

 

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

 

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

โคลงสี่สุภาพ

 

เนื้อหาของโคลงโสฬสไตรยางค์ 16 หมวด

 

1. สามสิ่งควรรัก คือ ความกล้า ความสุภาพ ความรักใคร่

2. สามสิ่งควรชม คือ อำนาจปัญญา เกียรติยศ มารยาทดี

3. สามสิ่งควรเกลียด คือ ความดุร้าย ความหยิ่งกำเริบ ความอกตัญญู

4. สามสิ่งควรรังเกียจติเตียน คือ ชั่วเลวทราม มารยา ริษยา

5. สามสิ่งควรเคารพ คือ ศาสนา ยุติธรรม ความประพฤติเป็นประโยชน์ทั่วไป

6. สามสิ่งควรยินดี คือ งาม ความซื่อตรง ไทยแก่ตน

7. สามสิ่งควรปรารถนา คือ ความสุขสบาย มิตรสหายที่ดี จิตใจที่ผ่องใส

8. สามสิ่งควรอ้อนวอนขอ คือ ความเชื่อถือ ความสงบ ใจบริสุทธิ์

9. สามสิ่งควรนับถือ คือ ปัญญา ฉลาด มั่นคง

10. สามสิ่งควรชอบ คือ ความเอื้ออารี ความสนุกสนาน ความเบิกบาน

11. สามสิ่งควรสงสัย คือ คำกล่าวยอ ความหน้าเนื้อใจเสือ ความกลับกลอก

12. สามสิ่งควรละ คือ ความเกียจคร้าน การพูดเพ้อเจ้อ วาจาหยาบคาย

13. สามสิ่งควรกระทำให้มี คือ หนังสือดี เพื่อนดี ใจดี

14. สามสิ่งควรหวงแหน คือ ชื่อเสียงยศศักดิ์ บ้านเมืองของตน มิตรสหาย

15. สามสิ่งควรระวัง คือ อาการที่เกิดจากใจพาไป ความมักง่าย วาจา

16. สามสิ่งควรเตรียมเผื่อ คือ อนิจจัง ชรา มรณะ

 

โคลงบทเด่น ในโคลงโสฬสไตรยางค์

 

 

      ควรกล้ากล้ากล่าวถ้อย    ทั้งหทัย แท้แฮ

สุวภาพพจน์ภายใน               จิตพร้อม

ความรักประจักษ์ใจ               จริงแน่ นอนฤา

สามสิ่งควรรักน้อม                 จิตให้สนิทจริง

 

ถอดคำประพันธ์ โคลงบทนี้นำสามสิ่งที่ควรรัก คือ ความกล้า ความสุภาพ และความรักใคร่ ให้กล้าที่จะพูดออกมาจากใจ สุภาพอ่อนน้อม และแสดงความรักใคร่ ซึ่งเป็นสามสิ่งที่ควรมีให้ผู้อื่นอย่างจริงใจ

 

คุณค่าและข้อคิดที่ได้จากโคลงโสฬสไตรยางค์

 

 

โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิตที่สอนให้มนุษย์รู้จักดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีงาม ใช้ชีวิตอย่างตระหนักรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก ความสุภาพ การมีมารยาทที่ดี การมีจิตใจโอบอ้อมอารี และเรื่องอื่น ๆ อีกมากมายที่ครอบคลุมการใช้ชีวิตทั้งหมดไว้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้โครงโสฬสไตรยางค์ ยังเป็นเป็นบทประพันธ์ที่เป็นด้วยคุณค่าด้านวรรณศิลป์ ทั้งการใช้สัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะในโคลงแต่ละบท รวมไปถึงการใช้ถ้อยคำที่แสนจะตรงไปตรงมา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย แต่ก็ไม่ละทิ้งความสวยงามทางภาษา

 

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หลังจากได้เรียนรู้เรื่องโคลงสุภาษิต เรื่อง โคลงโสฬสไตรยางค์กันไปแล้ว น้อง ๆ คงจะรู้ได้ทันทีเลยใช่ไหมล่ะคะ ว่าทำไมวรรณคดีเรื่องนี้ถึงได้มีคุณค่าแก่ประชาชนคนไทย เพราะนอกจากจะประพันธ์โดยในหลวง รัชกาลที่ 5 แล้วนั้น โคลงบทนี้ยังเปี่ยมไปด้วยข้อคิดเตือนใจอีกมากมาย ที่ถ้าน้อง ๆ ได้อ่านและศึกษาแล้ว รับรองว่าได้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ ก่อนลากัน น้อง ๆ อย่าลืมทำแบบฝึกหัดและดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียนกันด้วยนะคะ ไปชมพร้อม ๆ กันเลยค่า

 

โคลงสุภาษิต

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความวิชาภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Comparison of Adjectives การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป. 5 ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำคุณศัพท์กันนะคะ วันนี้ครูได้ สรุปเรื่อง Comparison of Adjectives หรือ การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ มาฝาก ไปลุยกันเลย ความหมาย Comparison of Adjectives คือ การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ ที่ใช้ในการเปรียบเทียบคน สัตว์ สิ่งของ หรือ อื่นๆ

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์ r คือความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิดจากการสลับตำแหน่งของสมาชิกตัวหน้ากับสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับทุกคู่ในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   ซึ่ง = {(y, x) : (x, y ) ∈ r} เช่น r = {(1, 2), (3, 4), (5,

โคลงโลกนิติ

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในโคลงโลกนิติ

หลังจากที่ได้เรียนรู้ความเป็นมาและเนื้อหาในโคลงโลกนิติกันแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะอยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่าตัวบทในโคลงโลกนิติที่มีอยู่มากมายนั้น มีตัวบทไหนที่เด่น ๆ กันบ้าง วันนี้เรามาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจเพื่อทำความเข้าใจถึงคติธรรมและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องกันค่ะ โคลงโลกนิติ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีคำสอนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคบเพื่อน การปฏิบัติตัวกับพ่อแม่ หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เรามาดูตัวบทเด่น ๆ ที่ควรรู้กันทีละบทเลยนะคะว่าแต่ละบทสอนเรื่องอะไรบ้าง   ศึกษาตัวบท     ความหมาย กล่าวถึงปลาร้าที่มีกลิ่นเหม็น และใบคา แม้ใบคาจะเป็นใบไม้ที่ไม่มีกลิ่นเฉพาะตัว แต่เมื่อนำไปห่อปลาร้าก็จะทำให้มีกลิ่นเหม็นจากปลาร้าติดไปด้วย

นิราศภูเขาทอง ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง

  นิราศภูเขาทองเป็นหนึ่งในนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีของสุนทรภู่ เป็นงานอันทรงคุณค่าที่ใช้เป็นแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน เรามาถอดคำประพันธ์ตัวบทที่น่าสนใจในนิราศภูเขาทองกันดีกว่าค่ะว่ามีบทไหนที่เด่น ๆ ควรศึกษาและจดจำไว้เพื่อไม่ให้พลาดในการทำข้อสอบ ถอดคำประพันธ์ นิราศภูเขาทอง   เนื่องจากนิราศภูเขาทองมีหลายบท ในที่นี้จะเลือกเฉพาะบทที่เด่น ๆ มาศึกษากันนะคะ เราไปดูกันที่บทแรกเลยค่ะ   ถอดคำประพันธ์ บทนี้เป็นการเปรียบเทียบการดื่มเหล้ากับความรัก เหล้าเป็นอบายมุข เมื่อดื่มเข้าไปจะทำให้มีอาการมึนเมา สติสัมปชัญญะไม่ครบถ้วน แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการมึนเมาเหล่านั้นก็จะหายไป แต่หากหลงมัวเมาอยู่กับความรัก ไม่ว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ก็หายไปง่าย ๆ  

ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช เป็นวรรณคดีประเภท พงศาวดาร ที่มีการแปลมาจากพงศาวดารมอญ น้อง ๆ หลายคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าพงศาวดารก็คือเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ แต่ทราบกันหรือไม่คะว่าทำไมในแบบเรียนภาษาไทยของเรานั้นถึงต้องเรียนเรื่องราชาธิราช ที่เป็นพงศาวดารมอญด้วย วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องราชาธิราชรวมไปถึงเรื่องย่อ ซึ่งในบทที่เราจะเรียนนี้คือตอน สมิงพระรามอาสา เรื่องราวจะเป็นอย่างไรบ้าง ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ราชาธิราช   ประวัติความเป็นมา     ราชาธิราชเป็นวรรณคดีร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1